พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๑
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ใน จดหมายเหตุโหรว่าเสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. ๑๘๕๗ ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่เรียกว่า หนองโสน เมื่อจุลศักราช ๗๑๒ ปีขาล โทศก วันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนห้า เวลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๑๘๙๓ เมื่อแรกเสวยราชย์นั้นทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขณะพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา
ในประวัติศาสตร์ไทยมีความเชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองอาจจะทรงอพยพมาจากเมืองใกล้เคียงอื่น เพราะอย่างน้อยก่อนที่จะทรงสถาปนาพระนครศรีอยุธยาขึ้น ก็ทรงให้ย้ายเมืองข้ามฝั่งจากบริเวณทิศใต้ ของเกาะเมืองมาตั้งอยู่บริเวณใจกลางพระนครปัจจุบัน และต่อมาทรงสถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณ ที่ประทับเดิมหรือบริเวณเวียงเหล็ก คือวัดพุทไธศวรรย์และได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณ เกาะเมือง
ข้อสันนิษฐานต่างๆเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองนั้นสรุปได้ดังนี้
๑. พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาจากหัวเมืองเหนือ ปรากฏข้อความในเอกสารของลาลูแบร์ซึ่งเป็น ผู้แทนพิเศษของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้ามาในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ และเอกสารสายสงฆ์เช่น ใน จุลยุทธการวงศ์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระพนรัตน์และในพระราชพงศาวดารสังเขป ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพลงมาจากเมือง เชียงแสน ลงมาที่เมืองไตรตรึงษ์กำแพงเพชร แล้วจึงอพยพลงมาที่หนองโสน
๒. เอกสารประวัติศาสตร์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ กล่าวถึงการอพยพ ของพระเจ้าอู่ทองว่ามาจากเมืองเพชรบุรีแล้วจึงอพยพต่อมาที่อยุธยา
๓. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าพระเจ้าอู่ทอง มาจากเมืองละโว้
หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้เห็นร่องรอยว่าพระเจ้าอู่ทองเสด็จลงมาจากทางเหนือคือ “คู่มือ ทูตตอบ” ซึ่งเป็นคู่มือที่เรียบเรียงขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีข้อความอ้างถึงที่มาของ พระเจ้าอู่ทองว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันสืบมาแต่สมเด็จพระปฐมนารายณ์อิศวรบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ มีกษัตริย์สืบทอดกันมา ๑๐ พระองค์ ต่อมาสมเด็จพระยโศธรธรรมเทพราชาธิราชทรงก่อตั้ง กรุงยโศธรปุระ และมีกษัตริย์สืบมาอีก ๑๒ พระองค์จากนั้นสมเด็จพระพนมทะเลเสด็จไปประทับ ที่สุโขทัยใน พ.ศ. ๑๗๓๑ ทรงตั้งเมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์สืบต่อมา ๔ พระองค์ ในที่สุดสมเด็จพระ รามาธิบดีได้ทรงสร้างกรุงสยามเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๔ รวมพระมหากษัตริย์นับแต่แรกสถาปนากรุงเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ จนถึง พ.ศ. ๒๒๒๖ ได้ ๕๐ รัชกาลในระยะเวลา ๙๒๖ ปี
คู่มือทูตฉบับนี้สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราว พ.ศ. ๒๒๒๔ ถึง พ.ศ. ๒๒๒๕ เพื่อใช้เป็นแนวคำถาม- ตอบของราชทูตสยามที่จะเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาพระราชอาณาจักรขึ้นแล้ว ได้ทรงทำนุบำรุงพระราชอาณาเขตให้กว้างขวางออกไป ดังที่ปรากฏความในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ เมื่อเสด็จเสวยราชย์ ว่า เมื่อแรกสถาปนาพระนครนั้นหลังจากพิธีกลบบัตรสุมเพลิงแล้ว ขุดดินลงไปเพื่อสร้างพระราชวัง ได้ พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏขอนหนึ่ง จึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์ต่างๆขึ้นในบริเวณพระราชวังหลวง คือ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนตร์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอสวรรย์มหาปราสาท
หลังจากนั้นปรากฏความในจุลยุทธการวงศ์ว่าพญาประเทศราชทั้ง ๑๖ หัวเมืองได้มาถวายบังคม ได้แก่ มะละกา (ดินแดนแหลมมลายู) ชวา (ดินแดนลาวหลวงพระบาง) ตะนาวศรีนครศรีธรรมราช ทวาย เมาะตะมะ เมาะลำเลิง สงขลา จันทบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิชัย สวรรคโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ หลังจากนั้นปรากฏว่ามีสงครามกับเมืองกัมพูชา จึงโปรดให้พระเจ้า ลูกเธอพระราเมศวรซึ่งไปครองเมืองลพบุรีลงมาตั้งทัพยกออกไปถึงกรุงกัมพูชา แต่ทัพอยุธยาเกือบ เสียทีเพลี่ยงพล้ำ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ โปรดให้ขุนหลวงพะงั่วลงมาจากเมืองสุพรรณบุรีแล้ว กรีธาทัพไปช่วยสมเด็จพระราเมศวร ทำให้ทัพอยุธยาสามารถเอาชนะได้และกวาดต้อนเทครัวชาว กัมพูชามายังพระนครศรีอยุธยา
ในช่วงต้นรัชกาลนั้น นอกจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จะทรงทำสงครามเพื่อขยายพระราช- อาณาเขตและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักรแล้ว ยังทรงตรากฎหมายต่างๆขึ้นเพื่อรักษาความ สงบเรียบร้อยภายในอีกหลายฉบับ คือพระอัยการลักษณะพยาน พระอัยการลักษณะอาญาหลวง พระอัยการลักษณะรับฟ้อง พระอัยการลักษณะลักพา พระอัยการลักษณะอาญาราษฎร์พระอัยการ ลักษณะโจร พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะผัวเมีย กฎหมายเหล่านี้เป็นที่มาของ กระบวนการยุติธรรมที่สร้างความสงบสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ในรัชกาลของพระองค์ยังมีงานวรรณคดีชิ้นสำคัญคือลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็น วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นที่บ่งบอกความสืบเนื่องของวรรณคดีในลุ่มน้ำภาคกลางที่ผสานกับความเชื่อ ท้องถิ่น ลิลิตโองการแช่งน้ำหรือโองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีสำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา เพื่อสร้างความชอบธรรมและการแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ลักษณะการประพันธ์ ประกอบด้วยโคลงห้าและร่าย มีศัพท์ภาษาไทย บาลีสันสกฤต และเขมรปนอยู่ เนื้อหาเป็นการสดุดี เทพ แช่งผู้ที่ไม่จงรักภักดีและให้พรผู้ที่จงรักภักดี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาพระอารามแห่งแรกขึ้น ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร คือวัดพุทไธศวรรย์ซึ่งมีพระปรางค์เป็นประธานหลักของวัด ตามความในพระราชพงศาวดารว่า “ศักราชได้ ๗๑๕ ปีมะเส็งเบญศก วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ เพลาเช้า ๒ นาฬิกา ๕ บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้น ให้สถาปนาพระวิหาร พระมหาธาตุเป็นพระอาราม แล้ว ให้นามชื่อวัดพุทไธศวรรย์”
ต่อมาพระราชพงศาวดารว่าโปรดให้ขุดศพเจ้าแก้ว เจ้าไทย ขึ้นมาถวายพระเพลิง จากนั้นให้ สถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณนั้นเรียกว่าวัดป่าแก้ว ซึ่งเชื่อกันว่าคือบริเวณวัดใหญ่ชัยมงคล นอกจากนั้น ยังสันนิษฐานได้ว่าทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก ดังที่พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ วันวลิตว่าทรงสร้างวัดหน้าพระธาตุวัดราชบูรณะ และวัดเดิมขึ้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคตเมื่อจุลศักราช ๗๓๑ ปีระกาเอกศก ตรง กับ พ.ศ. ๑๙๑๒ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าอยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ใน จดหมายเหตุโหรว่าเสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. ๑๘๕๗ ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่เรียกว่า หนองโสน เมื่อจุลศักราช ๗๑๒ ปีขาล โทศก วันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนห้า เวลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๑๘๙๓ เมื่อแรกเสวยราชย์นั้นทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขณะพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา
ในประวัติศาสตร์ไทยมีความเชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองอาจจะทรงอพยพมาจากเมืองใกล้เคียงอื่น เพราะอย่างน้อยก่อนที่จะทรงสถาปนาพระนครศรีอยุธยาขึ้น ก็ทรงให้ย้ายเมืองข้ามฝั่งจากบริเวณทิศใต้ ของเกาะเมืองมาตั้งอยู่บริเวณใจกลางพระนครปัจจุบัน และต่อมาทรงสถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณ ที่ประทับเดิมหรือบริเวณเวียงเหล็ก คือวัดพุทไธศวรรย์และได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณ เกาะเมือง ข้อสันนิษฐานต่างๆเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองนั้นสรุปได้ดังนี้ ๑. พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาจากหัวเมืองเหนือ ปรากฏข้อความในเอกสารของลาลูแบร์ซึ่งเป็น ผู้แทนพิเศษของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้ามาในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ และเอกสารสายสงฆ์เช่น ใน จุลยุทธการวงศ์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระพนรัตน์และในพระราชพงศาวดารสังเขป ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพลงมาจากเมือง เชียงแสน ลงมาที่เมืองไตรตรึงษ์กำแพงเพชร แล้วจึงอพยพลงมาที่หนองโสน ๒. เอกสารประวัติศาสตร์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ กล่าวถึงการอพยพ ของพระเจ้าอู่ทองว่ามาจากเมืองเพชรบุรีแล้วจึงอพยพต่อมาที่อยุธยา ๓. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าพระเจ้าอู่ทอง มาจากเมืองละโว้ หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้เห็นร่องรอยว่าพระเจ้าอู่ทองเสด็จลงมาจากทางเหนือคือ “คู่มือ ทูตตอบ” ซึ่งเป็นคู่มือที่เรียบเรียงขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีข้อความอ้างถึงที่มาของ พระเจ้าอู่ทองว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันสืบมาแต่สมเด็จพระปฐมนารายณ์อิศวรบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ มีกษัตริย์สืบทอดกันมา ๑๐ พระองค์ ต่อมาสมเด็จพระยโศธรธรรมเทพราชาธิราชทรงก่อตั้ง กรุงยโศธรปุระ และมีกษัตริย์สืบมาอีก ๑๒ พระองค์จากนั้นสมเด็จพระพนมทะเลเสด็จไปประทับ ที่สุโขทัยใน พ.ศ. ๑๗๓๑ ทรงตั้งเมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์สืบต่อมา ๔ พระองค์ ในที่สุดสมเด็จพระ รามาธิบดีได้ทรงสร้างกรุงสยามเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๔ รวมพระมหากษัตริย์นับแต่แรกสถาปนากรุงเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ จนถึง พ.ศ. ๒๒๒๖ ได้ ๕๐ รัชกาลในระยะเวลา ๙๒๖ ปี คู่มือทูตฉบับนี้สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราว พ.ศ. ๒๒๒๔ ถึง พ.ศ. ๒๒๒๕ เพื่อใช้เป็นแนวคำถาม- ตอบของราชทูตสยามที่จะเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาพระราชอาณาจักรขึ้นแล้ว ได้ทรงทำนุบำรุงพระราชอาณาเขตให้กว้างขวางออกไป ดังที่ปรากฏความในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ เมื่อเสด็จเสวยราชย์ ว่า เมื่อแรกสถาปนาพระนครนั้นหลังจากพิธีกลบบัตรสุมเพลิงแล้ว ขุดดินลงไปเพื่อสร้างพระราชวัง ได้ พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏขอนหนึ่ง จึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์ต่างๆขึ้นในบริเวณพระราชวังหลวง คือ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนตร์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอสวรรย์มหาปราสาท หลังจากนั้นปรากฏความในจุลยุทธการวงศ์ว่าพญาประเทศราชทั้ง ๑๖ หัวเมืองได้มาถวายบังคม ได้แก่ มะละกา (ดินแดนแหลมมลายู) ชวา (ดินแดนลาวหลวงพระบาง) ตะนาวศรีนครศรีธรรมราช ทวาย เมาะตะมะ เมาะลำเลิง สงขลา จันทบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิชัย สวรรคโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ หลังจากนั้นปรากฏว่ามีสงครามกับเมืองกัมพูชา จึงโปรดให้พระเจ้า ลูกเธอพระราเมศวรซึ่งไปครองเมืองลพบุรีลงมาตั้งทัพยกออกไปถึงกรุงกัมพูชา แต่ทัพอยุธยาเกือบ เสียทีเพลี่ยงพล้ำ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ โปรดให้ขุนหลวงพะงั่วลงมาจากเมืองสุพรรณบุรีแล้ว กรีธาทัพไปช่วยสมเด็จพระราเมศวร ทำให้ทัพอยุธยาสามารถเอาชนะได้และกวาดต้อนเทครัวชาว กัมพูชามายังพระนครศรีอยุธยา ในช่วงต้นรัชกาลนั้น นอกจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จะทรงทำสงครามเพื่อขยายพระราช- อาณาเขตและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักรแล้ว ยังทรงตรากฎหมายต่างๆขึ้นเพื่อรักษาความ สงบเรียบร้อยภายในอีกหลายฉบับ คือพระอัยการลักษณะพยาน พระอัยการลักษณะอาญาหลวง พระอัยการลักษณะรับฟ้อง พระอัยการลักษณะลักพา พระอัยการลักษณะอาญาราษฎร์พระอัยการ ลักษณะโจร พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะผัวเมีย กฎหมายเหล่านี้เป็นที่มาของ กระบวนการยุติธรรมที่สร้างความสงบสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ในรัชกาลของพระองค์ยังมีงานวรรณคดีชิ้นสำคัญคือลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็น วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นที่บ่งบอกความสืบเนื่องของวรรณคดีในลุ่มน้ำภาคกลางที่ผสานกับความเชื่อ ท้องถิ่น ลิลิตโองการแช่งน้ำหรือโองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีสำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา เพื่อสร้างความชอบธรรมและการแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ลักษณะการประพันธ์ ประกอบด้วยโคลงห้าและร่าย มีศัพท์ภาษาไทย บาลีสันสกฤต และเขมรปนอยู่ เนื้อหาเป็นการสดุดี เทพ แช่งผู้ที่ไม่จงรักภักดีและให้พรผู้ที่จงรักภักดี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาพระอารามแห่งแรกขึ้น ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร คือวัดพุทไธศวรรย์ซึ่งมีพระปรางค์เป็นประธานหลักของวัด ตามความในพระราชพงศาวดารว่า “ศักราชได้ ๗๑๕ ปีมะเส็งเบญศก วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ เพลาเช้า ๒ นาฬิกา ๕ บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้น ให้สถาปนาพระวิหาร พระมหาธาตุเป็นพระอาราม แล้ว ให้นามชื่อวัดพุทไธศวรรย์” ต่อมาพระราชพงศาวดารว่าโปรดให้ขุดศพเจ้าแก้ว เจ้าไทย ขึ้นมาถวายพระเพลิง จากนั้นให้ สถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณนั้นเรียกว่าวัดป่าแก้ว ซึ่งเชื่อกันว่าคือบริเวณวัดใหญ่ชัยมงคล นอกจากนั้น ยังสันนิษฐานได้ว่าทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก ดังที่พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ วันวลิตว่าทรงสร้างวัดหน้าพระธาตุวัดราชบูรณะ และวัดเดิมขึ้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคตเมื่อจุลศักราช ๗๓๑ ปีระกาเอกศก ตรง กับ พ.ศ. ๑๙๑๒ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าอยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี | ||