พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๓๐

พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๓๐


สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๕๒-พ.ศ. ๒๒๗๕ 

ก่อนขึ้นเสวยราชสมบัติ เจ้าฟ้าเพชรหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้รับราชการอยู่ก่อน แล้ว เมื่อเสวยราชย์ได้เสด็จไปประทับ ณ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ซึ่งตั้งอยู่กลางสระน้ำทางทิศ ตะวันตกของบริเวณพระราชวังหลวง อันเป็นเหตุให้คนทั่วไปขนานพระนามว่าพระเจ้าท้ายสระ หลัง จากนั้นก็ทรงสถาปนาพระบัณฑูรน้อย เจ้าฟ้าพรพระอนุชาธิราชขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์มณฑปพระพุทธบาทและจัดงานสมโภชใหญ่ จากนั้นทรงบูรณะวัดมเหยงคณ์นอกพระนคร พร้อมกับที่พระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถาน มงคลทรงบูรณะวัดกุฎีดาวขึ้น ใน พ.ศ. ๒๒๕๓ นักเสด็จเจ้าเมืองเขมรเกิดวิวาทกับนักแก้วฟ้าสะจอง ฝ่ายนักแก้วฟ้าสะจองไปขอความช่วยเหลือจากทัพญวนให้มาตีเขมร ทำให้นักเสด็จต้องหลบหนีเข้ามา พึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ โปรดให้ตั้งบ้านเรือนแถบวัดค้างคาวในกำแพง พระนครตอนใต้ ต่อมาสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ โปรดให้ยกทัพไทยไปช่วยรบเขมรเพื่อตีเมืองคืน กองทัพเรือและกองทัพบกสามารถล้อมเมืองเขมรได้ จนในที่สุดนักแก้วฟ้าสะจองยอมอ่อนน้อมเป็น เมืองขึ้นของอยุธยาต่อไป ใน พ.ศ. ๒๒๖๘ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรไปยัง วัดป่าโมก เนื่องจากเจ้าอธิการวัดนั้นกราบบังคมทูลเรื่องน้ำเซาะตลิ่งหน้าวัด และเกรงว่าพระนอนจะ ทรุดลงน้ำ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชะลอพระพุทธไสยาสน์องค์นั้นเข้ามาและสร้างพระวิหาร ครอบไว้

ในด้านการปกครองนั้น สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชกำหนดฉบับหนึ่งในจุลศักราช ๑๐๘๙ ชื่อพระราชกำหนดวิธีปกครองหัวเมือง ว่าด้วยหน้าที่ของ ผู้ปกครองหัวเมืองในเรื่องต่างๆ เช่น การพิจารณาความ การดูแลทุกข์สุขของราษฎร ตลอดจนการ ปฏิบัติตนและสิ่งที่พึงกระทำเพื่อให้ราษฎรอยู่อย่างผาสุก ทั้งได้ทรงขุดคลองมหาไชยที่ขุดค้างอยู่แต่ครั้ง แผ่นดินก่อนให้แล้วเสร็จ และโปรดให้ขุดคลองเกร็ดน้อยลัดคุ้งบางบัวทองให้ตรงเพื่อให้ราษฎรเดินทาง สะดวกยิ่งขึ้น

การฟื้นฟูไมตรีกับฝรั่งเศสและการค้าขายยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะทางฝรั่งเศสยังต้องการ เมืองท่ามะริดอยู่ต่อไป กับต้องการสิทธิ์ในการเผยแผ่คริสต์ศาสนาจนเกินไป ทำให้ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นตลอดรัชกาล ส่วนกับประเทศสเปนนั้นพระองค์ได้เสด็จออกรับราชทูตของพระเจ้าฟิลิปป์ใน พ.ศ. ๒๒๖๑

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ มีพระราชโอรสธิดา ๕ พระองค์ คือ เจ้าฟ้านเรนทร เจ้าฟ้าหญิง เทพ เจ้าฟ้าหญิงปทุม เจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศ เมื่อทรงพระประชวรหนักในตอนปลายรัชกาล ได้พระราชทานราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย เพราะเจ้าฟ้านเรนทรทรงผนวชเป็นภิกขุภาวะ แต่กรม พระราชวังบวรสถานมงคลไม่ยอม เห็นว่าจะต้องให้ราชสมบัติแก่เจ้าฟ้านเรนทร ในที่สุดทำให้เกิดศึก แย่งราชบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าอภัยและกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระอนุชาธิราช

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ ทรงครองราชย์ได้ ๒๔ ปี

นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

คลิกอ่านจากไฟล์ pdf »