พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๒๙

พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๒๙


สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (ราษฎรนิยมเรียกว่า พระเจ้าเสือ) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๒๙ แห่งกรุงศรีอยุธยาและเป็นพระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ครองราชย์ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๒๔๖-พ.ศ. ๒๒๕๑ พงศาวดารว่าเสด็จพระราชสมภพจุลศักราช ๑๐๒๔/พ.ศ. ๒๒๐๕ และ ครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ ๔๑ พรรษา คือเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๖ ครองราชย์อยู่ ๖ ปีเศษ สวรรคต พ.ศ. ๒๒๕๒

พระราชประวัติของพระองค์นั้นปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประสูติแต่ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ เมื่อคราวที่ เสด็จยกทัพไปรบด้วยหัวเมืองในจุลศักราช ๑๐๒๓ แต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พระราชทาน ราชธิดาองค์นี้ให้แก่สมเด็จพระเพทราชาไว้ ต่อมาในจุลศักราช ๑๐๒๔ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก พระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้โดยเสด็จด้วย และมีพระประสูติกาลพระโอรสที่ตำบลบ้านโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตรใน เดือนอ้ายปีขาลนั้น

เมื่อพระราชโอรสมีพระชันษามากขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดปรานและใช้สอย ในกิจราชการอยู่เป็นนิจ ทั้งได้ให้ไปฝึกหัดการช้างกับพระเพทราชาซึ่งกำกับกรมคชบาลจนได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์ที่หลวงสรศักดิ์ กระทั่งปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลวง สรศักดิ์และกลุ่มขุนนางได้ร่วมคิดปฏิวัติเพื่อมอบอำนาจให้สมเด็จพระเพทราชา หลังจากที่สมเด็จพระ เพทราชาขึ้นครองราชย์แล้ว หลวงสรศักดิ์ได้รับพระราชทานตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทำราชการสืบมา ครั้นสมเด็จพระเพทราชาสวรรคต กรมพระราชวังบวรขึ้นครองราชย์สืบมาขณะที่ พระชนมายุได้ ๓๖ พรรษา

ในช่วงระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ได้ทรงทำนุบำรุงพระราชวงศ์และ การพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ทรงสถาปนาพระราชมารดาเลี้ยงซึ่งเป็นพระอัครมเหสีกลางของ สมเด็จพระเพทราชาขึ้นเป็นกรมพระเทพามาตย์ และทรงสถาปนาวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ นิวาสสถานที่ประสูติ ทั้งได้ทรงซ่อมแปลงพระมณฑปพระมงคลบพิตรให้เป็นพระวิหารใหญ่ และทรง ปฏิสังขรณ์มณฑปพระพุทธบาทเมืองสระบุรีให้เป็นมณฑปทรง ๕ ยอดด้วย ส่วนการทำนุบำรุงบ้าน เมืองนั้น โปรดให้ขุดคลองโคกขามให้ตรง เพื่อให้การเดินทางสะดวกขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเหมือนแต่ก่อน ในรัชกาลของพระองค์นี้โปรดการเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆ เช่น สมุทรสาคร อ่างทอง เพชรบุรี สระบุรี เป็นต้น จึงปรากฏตำนานสำคัญเรื่องพันท้ายนรสิงห์และเรื่องเสด็จออกไปชกมวยกับชาวบ้านที่ แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือเจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพร เมื่อขึ้น ครองราชย์แล้วโปรดให้สถาปนาเจ้าฟ้าเพชรขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ส่วนเจ้าฟ้าพรโปรด ให้เรียกว่าพระบัณฑูรน้อย ทั้งสองพระองค์ได้ช่วยราชการในแผ่นดินมาโดยลำดับ ในจุลศักราช ๑๐๖๔ (พ.ศ. ๒๒๔๕) ปีมะเมีย จัตวาศก พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จล้อมช้างเถื่อนแถบเมืองนครสวรรค์ ระหว่าง ทางโปรดให้ตั้งค่ายหลวงที่ตำบลบ้านหูกวาง ในบริเวณนั้นมีบึงน้ำขนาดใหญ่ มีพระบรมราชโองการ ให้กรมพระราชวังบวรและพระบัณฑูรน้อยปรับถมบึงน้ำให้ราบเป็นทางเสด็จ เพื่อจะได้ไม่ต้องอ้อม ไปไกล ทั้งสองพระองค์เกณฑ์ไพร่พลถมคูเสร็จภายในวันหนึ่ง แต่เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปบนคูนั้น ช้างพระที่นั่งเหยียบหล่มถลำลงไปหน่อยหนึ่ง สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ พิโรธมากคิดว่าพระราชโอรส ทั้ง ๒ คิดการกบฏ โปรดให้จับลงอาญาทั้ง ๒ พระองค์จนกว่าจะเสด็จคืนพระนคร พระราชโอรสทั้ง ๒ พระองค์ให้ข้าหลวงรีบไปเฝ้ากรมพระเทพามาตย์ ให้ขึ้นมาทูลขอพระราชทานอภัยโทษ

ในรัชกาลของพระองค์ปรากฏหลักฐานต่างประเทศเช่นหลักฐานฝรั่งเศสว่ามีความพยายามใน การรื้อฟื้นพระราชไมตรีให้ดีคงเดิมอีก ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงอำนวยความสะดวกให้พ่อค้าวาณิช ต่างชาติ เช่น อังกฤษ ฮอลันดา เข้ามาตั้งห้างร้านสินค้าในอยุธยามากขึ้นด้วย

ในปลายรัชกาลนั้น หลังจากเสด็จกลับจากทรงสักการะรอยพระพุทธบาทเมืองสระบุรีแล้ว ก็ทรงพระประชวร ทรงเวนราชสมบัติให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นก็เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์เมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๒ มีพระชนมายุรวม ๔๖ พรรษา

นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

คลิกอ่านจากไฟล์ pdf »



ตำแหน่ง

Lek Thi 206 Soi 8 ตำบล เนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก 65190 ประเทศไทย


คำอธิบายการค้นหา

Num ... 2627615 blogger Blog for save Make safe editor Sight seeing view blog ID ... Phasa Thai รายละเอียดคำศัพท์ ... 

☆ เซฟบล็อก! ☆