พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๑๐

พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๑๐


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรง อยู่ในราชวงศ์สุพรรณภูมิครองราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔-พ.ศ. ๒๐๗๒ รวมระยะเวลา ๓๘ ปี

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๕ ทรงพระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราช เป็น พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระชนนีของพระองค์มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงแห่ง กรุงสุโขทัย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๐๒๗ ขณะพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ทรงบรรพชาพร้อมกับพระราชโอรส ในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ปีต่อมาทรงลาพระผนวชและได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น พระมหาอุปราช

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๓๑ ที่เมืองพิษณุโลกนั้น สมเด็จพระ บรมราชาธิราชที่ ๓ ซึ่งรักษากรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๐๖ (เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกเป็นการถาวร) ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมาจนกระทั่งเสด็จ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๓๔ สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระมหาอุปราชจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ปีต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาสถูป ๒ องค์เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สรุปได้ดังน

ด้านการปกครองและการสงคราม สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีปฐมกรรม คือพิธีพราหมณ์เบื้องต้นของการคล้องช้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๐ ต่อมาทรงให้ยกกองทัพไปตีนครลำปาง ได้ใน พ.ศ. ๒๐๕๘ และใน พ.ศ. ๒๐๖๑ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตำราพิชัยสงครามขึ้นเพื่อใช้เป็นแบบแผน ในการทำศึกสงคราม การจัดกองทัพ กระบวนเดินทัพ การตั้งทัพ และวิธีการสู้รบ อีกทั้งในปีเดียวกันนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการสำรวจและทำบัญชีผู้คนเป็นครั้งแรก เรียกว่า “สารบาญชี” นอกจากนี้ยังมี การขุดลอกคลองศีรษะจระเข้และคลองทับนางไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

อนึ่ง ถ้าพิจารณาจากพงศาวดารโยนกแล้ว อาจกล่าวได้ว่าในระหว่างที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครองราชย์นั้น มีการทำสงครามกับอาณาจักรล้านนาอยู่หลายครั้ง จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๐๖๕ ทาง กรุงศรีอยุธยาได้ขอเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรล้านนา สงครามระหว่างอาณาจักรอยุธยากับ อาณาจักรล้านนาจึงสิ้นสุดลง

ด้านศาสนา ใน พ.ศ. ๒๐๔๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารในวัด พระศรีสรรเพชญ์และในปีต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สูง ๘ วา หนัก ๕๓,๐๐๐ ชั่ง และหุ้มด้วยทองคำหนัก ๒๘๖ ชั่ง แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๐๔๖ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีฉลองพระ และถวายพระนามพระพุทธรูปว่า พระศรีสรรเพชญ์

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ มีการติดต่อค้าขาย และเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เช่น มีการส่งทูตไปยังประเทศจีนหลายครั้ง ได้แก่ ใน พ.ศ. ๒๐๓๔ พ.ศ. ๒๐๕๘ และ พ.ศ. ๒๐๖๙  ส่วนประเทศตะวันตกนั้น ในรัชสมัยนี้มีชาติตะวันตกชาติแรก เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา คือ โปรตุเกส ซึ่งเข้ามาใน พ.ศ. ๒๐๕๔ โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูแกร์เกอ (Alfonso de Albuquerque) ผู้เป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองเรือโปรตุเกสและเป็น ข้าหลวงต่างพระองค์พระเจ้ามานูเอลแห่งโปรตุเกสมาประจำที่เมืองมะละกา ได้ส่งทูตเข้ามายัง กรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง คือใน พ.ศ. ๒๐๕๔ พ.ศ. ๒๐๕๕ พ.ศ. ๒๐๕๙ และ พ.ศ. ๒๐๖๑ จนกระทั่ง มีการทำสัญญาพระราชไมตรีกับต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงอนุญาตให้ โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาและเมืองปัตตานีรวมทั้งให้เข้ามาค้าขายและอาศัยอยู่ใน เมืองนครศรีธรรมราช ทวาย และมะริดได้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นในรัชกาลอีก เช่น ใน พ.ศ. ๒๐๖๗ มีการทอดบัตร สนเท่ห์และมีการประหารขุนนางหลายคน ในปีต่อมาเกิดแผ่นดินไหว ใน พ.ศ. ๒๐๖๙ ก็เกิดข้าวยาก หมากแพง และในปีเดียวกันนี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จหน่อพุทธางกูรเจ้า เป็นพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต กล่าวถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ว่าพระองค์ทรงทำให้พระราชอาณาจักร ร่มเย็นเป็นสุข รุ่งเรืองและสมบูรณ์พูนสุขยิ่งกว่าในรัชกาลของพระเจ้าแผ่นดินสยามทุกพระองค์ 

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๒ มีพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงอยู่ ในราชสมบัติรวม ๓๘ ปี

นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

คลิกอ่านจากไฟล์ pdf »



ตำแหน่ง

Lek Thi 206 Soi 8 ตำบล เนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก 65190 ประเทศไทย


คำอธิบายการค้นหา

Num ... 2627615 blogger Blog for save Make safe editor Sight seeing view blog ID ... Phasa Thai รายละเอียดคำศัพท์ ... 

☆ เซฟบล็อก! ☆