พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราช จักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนีดังนี้
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
๔. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
๖. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
๗. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
๘. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ ได้ทรงศึกษา เบื้องต้นในโรงเรียนราชกุมาร ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถทรง เลือกครูไทยและครูชาวต่างประเทศถวายพระอักษรก่อนเข้าโรงเรียนราชกุมาร จนกระทั่งเสด็จไปทรง ศึกษายังประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหา วชิราวุธขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ขณะมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จเข้าทรงศึกษาในโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ ทรงได้รับ ความรู้วิชาทหารที่ทันสมัยทุกด้านในขณะนั้น ต่อมาทรงเข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย และ การปกครอง ณ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ซึ่งนายอาเธอร์ฮัซซัล (Arthur Hassal) ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้เป็นพระอาจารย์เฉพาะพระองค์กล่าวว่า พระองค์ทรงมีความสามารถสูงมาก ทรงค้นคว้าและทรง พระราชนิพนธ์หนังสือทำนองวิทยานิพนธ์เรื่อง “สงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ (The War of PolishSuccession)” ซึ่งได้ตีพิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๔๓ และมีผู้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทย ในส่วนฉบับ ภาษาไทยนั้นพระยาบุรีนวราษฐ (ชวน สิงหเสนี) เป็นผู้แปลและบันทึกไว้ว่า “แปลยาก” แต่ ก็ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระองค์ทรงตรวจ
ขณะทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ทรงศึกษา เช่น เสด็จไป ร่วมงานพระราชพิธีของพระราชวงศ์ต่างๆในยุโรป รวมทั้งเสด็จเยือนนานาประเทศเพื่อทรงกระชับ ความสัมพันธ์และทอดพระเนตรกิจการบ้านเมืองและความก้าวหน้าทางวิทยาการ ขณะเดียวกันก็ทรง ดำเนินกิจกรรมที่สนพระราชหฤทัย เช่น โปรดอ่านผลงานของนักประพันธ์เอกทั้งชาวตะวันออกและ ตะวันตก เริ่มทรงพระราชนิพนธ์กวีนิพนธ์และบทละครภาษาอังกฤษ โปรดเสด็จไปทอดพระเนตร ละครและจัดการแสดงละครด้วยพระองค์เอง โปรดการตั้งสมาคมเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการ ออกหนังสือพิมพ์ด้วย กล่าวได้ว่าในช่วงเวลา ๙ ปีที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ได้ทรงสั่งสม ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นไปของโลกอย่างเต็มเปี่ยม ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ทำให้มีพระวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในอันที่จะทรง ยกระดับประเทศสยามให้มีเกียรติและศักดิ์ศรีมีความเท่าเทียมกับชาติอารยะทั้งหลาย และเป็นที่ ยอมรับในสังคมโลก อันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถในการพัฒนา ประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทันสมัยเพื่อดำรงอยู่ได้อย่างมีเอกราชด้วย เห็นได้จากเมื่อพระองค์ เสด็จนิวัตพระนครใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงเลือกเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินผ่านประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้ทรงพบกับประธานาธิบดีธีโอดอร์รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt) และทรงเข้าเฝ้า สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมสถาบันการศึกษาชั้นนำและสถานที่ สำคัญทางศาสนา เศรษฐกิจ การศาล และการสาธารณสุขของทั้งสองประเทศ เพื่อจะทรงนำมาเป็น แบบอย่างในการพัฒนาองค์กรต่างๆ
หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สำเร็จการศึกษา จากต่างประเทศ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศต่างๆหลายประเทศ เพื่อปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนสมเด็จพระบรมชนกนาถและเจริญสัมพันธไมตรีทรงศึกษางานทั้งประเทศในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ก่อนเสด็จกลับถึงประเทศสยามใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ทำให้ต่างประเทศได้รู้จักประเทศสยามมากขึ้นอันมี ผลดีต่อพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก
เมื่อเสด็จกลับเมืองไทย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเข้ารับราชการทหาร และได้เสด็จออกผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาหอพระสมุดสำหรับพระนครขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงดำรง ตำแหน่งสภานายกหอพระสมุด พระองค์เอาพระทัยใส่ในพระราชกิจนี้เป็นอย่างยิ่ง สนพระทัยค้นคว้า ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวรรณคดีของชาติและได้เสด็จประพาสหัวเมืองเพื่อทรงศึกษาโบราณวัตถุสถานและตำนานบ้านเมือง จนเป็นที่มาของพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลายเรื่อง ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ทรงริเริ่มออกหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น ชวนหัว และทวีปัญญา ทำให้กิจการหนังสือพิมพ์ของสยามขยายตัวมากขึ้น และเป็นเวทีสำคัญของวรรณกรรม ไทยรูปแบบใหม่มากมายซึ่งพระองค์เองทรงเป็นผู้ริเริ่มที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ต่อมาเมื่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ พระองค์ทรงได้รับ พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับมอบหมายให้ กำกับราชการกระทรวงยุติธรรมแทนพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ซึ่งกราบถวายบังคม ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีจึงนับได้ว่าทรงมีพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารประเทศไม่น้อย
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นที่วางพระราชหฤทัย ทรงงานต่างพระเนตรพระกรรณและปฏิบัติราชการแทนสมเด็จพระบรมชนกนาถ ด้วยพระปรีชา สามารถของพระองค์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ทำให้เป็นที่รักและยอมรับทั่วไปในคณะ ข้าราชบริพารและพสกนิกร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร จึงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๖ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลคือ พระวชิระซึ่งมาจากพระนามาภิไธย มหาวชิราวุธ (หมายถึงสายฟ้าอันเป็นศัสตราวุธของพระอินทร์) เป็นตรางา รูปรีกว้าง ๕.๔ ซม. ยาว ๖.๘ ซม. มีรูปวชิราวุธเปล่งรัศมีที่ยอด ประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง ๒ ข้าง ในวันมงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้มีพระบรม ราชโองการพระราชทานแก่ประชาชนด้วยภาษามคธและภาษาไทยว่า “ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรง ราชการครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณา เหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เป็นที่พึ่งจัดการปกครองรักษาป้องกัน อันเป็นธรรมสืบไป ท่าน ทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบายเทอญฯ”
หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกรณียกิจ อันเป็นคุณูปการต่อประชาชนชาวสยามและประเทศมากมาย ด้วยพระปรีชาสามารถดุจนักปราชญ์ของ พระองค์ โดยทรงวางแผนการพัฒนาด้านต่างๆ เริ่มจากที่พระองค์มีพระราชดำริในการที่จะนำพา ประเทศไปสู่ความเจริญให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ซึ่งทรงเน้นการให้การศึกษาแก่พสกนิกรเป็น ประการสำคัญ ทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง (ต่อมาพัฒนาเป็น วชิราวุธราชวิทยาลัยในต้นรัชกาลที่ ๗) และโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ต่อมาเป็นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. ๒๔๕๘) จากนั้นเพื่อให้การศึกษาขยายไปทั่วประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับใน พ.ศ. ๒๔๖๔
พระราชกรณียกิจการพัฒนาประเทศที่สำคัญคือ พระองค์ทรงเปลี่ยนธงชาติซึ่งมีรูปช้างเดิมให้ เป็น “ธงไตรรงค์” เช่นในปัจจุบัน ทรงพัฒนากองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยส่งนายทหาร ไปฝึกการทหารที่ต่างประเทศ ซื้อเรือรบที่มีสมรรถภาพที่สูงขึ้น เช่น เรือเสือคำรณสินธุ เรือรบหลวง พระร่วง เป็นต้น ครั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงส่งทหารไปร่วมรบในสมรภูมิ ยุโรป โดยทรงประกาศร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอันเป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ สยามขณะนั้น เพราะใน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ดร.ฟรานซีส บีแซยร์เจรจาติดต่อกับ ประเทศต่างๆ ๙ ประเทศ ทำให้มีผลประโยชน์อยู่ในประเทศ ได้สิทธิอำนาจทางศาลและการเก็บภาษี ในพระราชอาณาเขต หลุดพ้นจากการควบคุมของต่างชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม (แก้ไขสนธิสัญญา เบาว์ริง)
นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่พระองค์ทรงเห็นว่าประชาชนทุกคนก็สามารถมีส่วนช่วยประเทศชาติให้ เกิดความมั่นคงได้เช่นเดียวกับทหาร จึงทรงจัดตั้งองค์การลูกเสือและเสือป่า โดยมีพระราชประสงค์ ที่จะให้พสกนิกรของพระองค์รู้สึกว่าความรักชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่ทำลายซึ่งกันและกัน เป็นมูลฐานแห่งความมั่นคง จะทำให้ชาติบ้านเมืองดำรงความเป็นไทยอยู่ได้ ทั้งยังทรงส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยโดยทรงทดลองการจัดตั้งเมืองจำลอง เมืองมัง เมืองทราย ซึ่ง เป็นต้นกำเนิดของดุสิตธานี มีการปกครองตาม “ธรรมนูญลักษณะการปกครองของคณะนคราภิบาล พ.ศ. ๒๔๖๑” ทรงทดลองการปกครอง การพัฒนาด้านต่างๆควบคู่กันไปตามหลักประชาธิปไตย ผลการทดลองในดุสิตธานีนั้นได้ทรงนำมาปรับใช้ในการบริหารประเทศได้อย่างเหมาะสมอย่างค่อยเป็น ค่อยไป
พระราชกรณียกิจในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศอีกด้านหนึ่ง คือพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรงจัดตั้งคลังออมสิน (ต่อมาคือธนาคารออมสิน) เพื่อฝึกให้ราษฎร รู้จักเก็บสะสมทรัพย์และโปรดเกล้าฯ ให้เลิกการพนันบ่อนเบี้ยซึ่งเป็นเหตุทำลายความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ ทรงมองการณ์ไกลว่าเมื่อประเทศชาติรุ่งเรืองแล้ว จะต้องใช้ซีเมนต์จำนวนมาก เพื่อก่อสร้างอาคารบ้านเรือนตามแบบอารยประเทศ จึงทรงก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทยขึ้น นับเป็นการ ฝึกหัดคนไทยให้รู้จักประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในด้านการเกษตรทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ขยายการขุดคลองและคูนา รวมทั้งจัดสร้างเขื่อนพระราม ๖ ซึ่งเป็นเขื่อนทดและส่งน้ำแห่งแรก การ พัฒนาระบบชลประทานของพระองค์ช่วยให้ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศเพิ่มมากขึ้น เมื่อทรง พัฒนาด้านการเกษตรแล้วได้ทรงพัฒนาระบบการคมนาคมเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าด้วย กล่าวคือ ทรงปรับปรุงและขยายกิจการรถไฟทั้งสายเหนือ สายอีสาน สายตะวันออก และสายใต้และสร้าง สะพานพระราม ๖ เชื่อมทางรถไฟทั้งหมดโยงเข้ามาสู่สถานีหัวลำโพง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเชื่อม ต่อจากแนวทางรถไฟออกไปยังท้องที่ต่างๆ รวมทั้งสร้างสะพานจำนวนมากในกรุงเทพฯ กิจการบินก็ เป็นสิ่งที่ทรงริเริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ด้วย
แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการปกครอง ทรง มีความเป็นประชาธิปไตย แต่ชาวไทยและชาวต่างประเทศก็รู้จักพระองค์และยกย่องพระองค์ทางด้าน อักษรศาสตร์มากกว่า ด้วยพระอุปนิสัยที่ทรงเป็นศิลปิน มีพระราชนิพนธ์มากมายทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ พระนามแฝงที่ทรงใช้ในการพระราชนิพนธ์งานทั้งหนังสือพิมพ์วรรณกรรม วรรณคดี เช่น พระขรรค์เพชร ศรีอยุธยา นายแก้วนายขวัญ อัศวพาหุ รามกิตตินายราม ณ กรุงเทพฯ ราม วชิราวุธ ป.ร.ราม Sri Ayudya Sri Ayoothya Phra Khan Bejra เป็นต้น คณะกรรมการรวบรวม และค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรว. พ.ศ. ๒๕๒๔) ได้ศึกษารวบรวมไว้แบ่งเป็น ๗ หมวด คือ หมวดโขน-ละคร ๑๘๗ เรื่อง พระราชดำรัสเทศนา ฯลฯ ๒๒๙ เรื่อง นิทาน เรื่องชวนหัว ๑๕๙ เรื่อง บทความที่ลงหนังสือพิมพ์ ๓๑๖ เรื่อง ร้อยกรอง ๑๕๑ เรื่อง สารคดี๑๙๔ เรื่อง และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
ด้วยความที่ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์พระองค์พระราชทานนามสกุลให้แก่ขุนนาง ข้าราชบริพาร ถึง ๖,๔๖๐ สกุลเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คนไทยมีนามสกุลใช้ทรงใช้ศัพท์บัญญัติที่เป็น คำไทยพระราชทานเป็นชื่อถนน ทรงตั้งวรรณคดีสโมสรเพื่อพิจารณางานวรรณกรรมต่างๆตั้งแต่สมัย สุโขทัยเป็นต้นมา และพระราชนิพนธ์ของพระองค์ได้รับการประกาศยกย่องถึง ๓ เรื่องว่าเป็นเลิศ คือ หัวใจนักรบเป็นเลิศประเภทบทละครพูด พระนลคำหลวงเป็นหนังสือดีและแต่งดีในกวีนิพนธ์มัทนะพาธา เป็นเลิศด้านบทละครพูดคำฉันท์ ต่อมาในภายหลัง องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “ปราชญ์สยาม คนที่ ๕” นอกจากนี้ยังทรงได้รับพระสมัญญานามว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งเป็นพระ สมัญญานามที่พสกนิกรยอมรับและเทิดทูนพระองค์ตลอดมา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระมเหสีพระสนม และพระคู่หมั้น ตามลำดับดังนี้
๑. หม่อมเจ้าหญิงวัลลภาเทวีวรวรรณ พระคู่หมั้น ได้สถาปนาเป็นพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี แต่ภายหลังทรงถอนหมั้น และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า “พระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี”
๒. หม่อมเจ้าหญิงลักษมีลาวัณ พระขนิษฐาพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีหลังอภิเษกสมรส โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “พระนางเธอลักษมีลาวัณ”
๓. คุณเปรื่อง สุจริตกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพระสนมเอกที่ “พระสุจริตสุดา”
๔. คุณประไพ สุจริตกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพระอินทราณีพระสนมเอก ต่อมา ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีพระวรราชชายา”
๕. คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์ ทรงได้รับสถาปนาเป็นเจ้าจอมสุวัทนา เมื่อทรงพระครรภ์ได้รับ การสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี”
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอยู่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีมีพระประสูติกาลพระราชธิดา คือสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ (สิ้นพระชนม์วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑.๔๕ น. ด้วยพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในอุทร พระชนมายุ ๔๕ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ นาน ๑๕ ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราช จักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนีดังนี้
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ ๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง ๔. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ๖. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ๗. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ๘. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ ได้ทรงศึกษา เบื้องต้นในโรงเรียนราชกุมาร ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถทรง เลือกครูไทยและครูชาวต่างประเทศถวายพระอักษรก่อนเข้าโรงเรียนราชกุมาร จนกระทั่งเสด็จไปทรง ศึกษายังประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหา วชิราวุธขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ขณะมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จเข้าทรงศึกษาในโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ ทรงได้รับ ความรู้วิชาทหารที่ทันสมัยทุกด้านในขณะนั้น ต่อมาทรงเข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย และ การปกครอง ณ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ซึ่งนายอาเธอร์ฮัซซัล (Arthur Hassal) ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้เป็นพระอาจารย์เฉพาะพระองค์กล่าวว่า พระองค์ทรงมีความสามารถสูงมาก ทรงค้นคว้าและทรง พระราชนิพนธ์หนังสือทำนองวิทยานิพนธ์เรื่อง “สงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ (The War of PolishSuccession)” ซึ่งได้ตีพิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๔๓ และมีผู้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทย ในส่วนฉบับ ภาษาไทยนั้นพระยาบุรีนวราษฐ (ชวน สิงหเสนี) เป็นผู้แปลและบันทึกไว้ว่า “แปลยาก” แต่ ก็ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระองค์ทรงตรวจ ขณะทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ทรงศึกษา เช่น เสด็จไป ร่วมงานพระราชพิธีของพระราชวงศ์ต่างๆในยุโรป รวมทั้งเสด็จเยือนนานาประเทศเพื่อทรงกระชับ ความสัมพันธ์และทอดพระเนตรกิจการบ้านเมืองและความก้าวหน้าทางวิทยาการ ขณะเดียวกันก็ทรง ดำเนินกิจกรรมที่สนพระราชหฤทัย เช่น โปรดอ่านผลงานของนักประพันธ์เอกทั้งชาวตะวันออกและ ตะวันตก เริ่มทรงพระราชนิพนธ์กวีนิพนธ์และบทละครภาษาอังกฤษ โปรดเสด็จไปทอดพระเนตร ละครและจัดการแสดงละครด้วยพระองค์เอง โปรดการตั้งสมาคมเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการ ออกหนังสือพิมพ์ด้วย กล่าวได้ว่าในช่วงเวลา ๙ ปีที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ได้ทรงสั่งสม ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นไปของโลกอย่างเต็มเปี่ยม ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ทำให้มีพระวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในอันที่จะทรง ยกระดับประเทศสยามให้มีเกียรติและศักดิ์ศรีมีความเท่าเทียมกับชาติอารยะทั้งหลาย และเป็นที่ ยอมรับในสังคมโลก อันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถในการพัฒนา ประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทันสมัยเพื่อดำรงอยู่ได้อย่างมีเอกราชด้วย เห็นได้จากเมื่อพระองค์ เสด็จนิวัตพระนครใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงเลือกเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินผ่านประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้ทรงพบกับประธานาธิบดีธีโอดอร์รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt) และทรงเข้าเฝ้า สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมสถาบันการศึกษาชั้นนำและสถานที่ สำคัญทางศาสนา เศรษฐกิจ การศาล และการสาธารณสุขของทั้งสองประเทศ เพื่อจะทรงนำมาเป็น แบบอย่างในการพัฒนาองค์กรต่างๆ หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สำเร็จการศึกษา จากต่างประเทศ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศต่างๆหลายประเทศ เพื่อปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนสมเด็จพระบรมชนกนาถและเจริญสัมพันธไมตรีทรงศึกษางานทั้งประเทศในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ก่อนเสด็จกลับถึงประเทศสยามใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ทำให้ต่างประเทศได้รู้จักประเทศสยามมากขึ้นอันมี ผลดีต่อพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก เมื่อเสด็จกลับเมืองไทย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเข้ารับราชการทหาร และได้เสด็จออกผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาหอพระสมุดสำหรับพระนครขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงดำรง ตำแหน่งสภานายกหอพระสมุด พระองค์เอาพระทัยใส่ในพระราชกิจนี้เป็นอย่างยิ่ง สนพระทัยค้นคว้า ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวรรณคดีของชาติและได้เสด็จประพาสหัวเมืองเพื่อทรงศึกษาโบราณวัตถุสถานและตำนานบ้านเมือง จนเป็นที่มาของพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลายเรื่อง ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ทรงริเริ่มออกหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น ชวนหัว และทวีปัญญา ทำให้กิจการหนังสือพิมพ์ของสยามขยายตัวมากขึ้น และเป็นเวทีสำคัญของวรรณกรรม ไทยรูปแบบใหม่มากมายซึ่งพระองค์เองทรงเป็นผู้ริเริ่มที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ต่อมาเมื่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ พระองค์ทรงได้รับ พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับมอบหมายให้ กำกับราชการกระทรวงยุติธรรมแทนพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ซึ่งกราบถวายบังคม ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีจึงนับได้ว่าทรงมีพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารประเทศไม่น้อย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นที่วางพระราชหฤทัย ทรงงานต่างพระเนตรพระกรรณและปฏิบัติราชการแทนสมเด็จพระบรมชนกนาถ ด้วยพระปรีชา สามารถของพระองค์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ทำให้เป็นที่รักและยอมรับทั่วไปในคณะ ข้าราชบริพารและพสกนิกร เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร จึงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๖ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลคือ พระวชิระซึ่งมาจากพระนามาภิไธย มหาวชิราวุธ (หมายถึงสายฟ้าอันเป็นศัสตราวุธของพระอินทร์) เป็นตรางา รูปรีกว้าง ๕.๔ ซม. ยาว ๖.๘ ซม. มีรูปวชิราวุธเปล่งรัศมีที่ยอด ประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง ๒ ข้าง ในวันมงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้มีพระบรม ราชโองการพระราชทานแก่ประชาชนด้วยภาษามคธและภาษาไทยว่า “ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรง ราชการครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณา เหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เป็นที่พึ่งจัดการปกครองรักษาป้องกัน อันเป็นธรรมสืบไป ท่าน ทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบายเทอญฯ” หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกรณียกิจ อันเป็นคุณูปการต่อประชาชนชาวสยามและประเทศมากมาย ด้วยพระปรีชาสามารถดุจนักปราชญ์ของ พระองค์ โดยทรงวางแผนการพัฒนาด้านต่างๆ เริ่มจากที่พระองค์มีพระราชดำริในการที่จะนำพา ประเทศไปสู่ความเจริญให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ซึ่งทรงเน้นการให้การศึกษาแก่พสกนิกรเป็น ประการสำคัญ ทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง (ต่อมาพัฒนาเป็น วชิราวุธราชวิทยาลัยในต้นรัชกาลที่ ๗) และโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ต่อมาเป็นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. ๒๔๕๘) จากนั้นเพื่อให้การศึกษาขยายไปทั่วประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับใน พ.ศ. ๒๔๖๔ พระราชกรณียกิจการพัฒนาประเทศที่สำคัญคือ พระองค์ทรงเปลี่ยนธงชาติซึ่งมีรูปช้างเดิมให้ เป็น “ธงไตรรงค์” เช่นในปัจจุบัน ทรงพัฒนากองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยส่งนายทหาร ไปฝึกการทหารที่ต่างประเทศ ซื้อเรือรบที่มีสมรรถภาพที่สูงขึ้น เช่น เรือเสือคำรณสินธุ เรือรบหลวง พระร่วง เป็นต้น ครั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงส่งทหารไปร่วมรบในสมรภูมิ ยุโรป โดยทรงประกาศร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอันเป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ สยามขณะนั้น เพราะใน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ดร.ฟรานซีส บีแซยร์เจรจาติดต่อกับ ประเทศต่างๆ ๙ ประเทศ ทำให้มีผลประโยชน์อยู่ในประเทศ ได้สิทธิอำนาจทางศาลและการเก็บภาษี ในพระราชอาณาเขต หลุดพ้นจากการควบคุมของต่างชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม (แก้ไขสนธิสัญญา เบาว์ริง) นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่พระองค์ทรงเห็นว่าประชาชนทุกคนก็สามารถมีส่วนช่วยประเทศชาติให้ เกิดความมั่นคงได้เช่นเดียวกับทหาร จึงทรงจัดตั้งองค์การลูกเสือและเสือป่า โดยมีพระราชประสงค์ ที่จะให้พสกนิกรของพระองค์รู้สึกว่าความรักชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่ทำลายซึ่งกันและกัน เป็นมูลฐานแห่งความมั่นคง จะทำให้ชาติบ้านเมืองดำรงความเป็นไทยอยู่ได้ ทั้งยังทรงส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยโดยทรงทดลองการจัดตั้งเมืองจำลอง เมืองมัง เมืองทราย ซึ่ง เป็นต้นกำเนิดของดุสิตธานี มีการปกครองตาม “ธรรมนูญลักษณะการปกครองของคณะนคราภิบาล พ.ศ. ๒๔๖๑” ทรงทดลองการปกครอง การพัฒนาด้านต่างๆควบคู่กันไปตามหลักประชาธิปไตย ผลการทดลองในดุสิตธานีนั้นได้ทรงนำมาปรับใช้ในการบริหารประเทศได้อย่างเหมาะสมอย่างค่อยเป็น ค่อยไป พระราชกรณียกิจในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศอีกด้านหนึ่ง คือพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรงจัดตั้งคลังออมสิน (ต่อมาคือธนาคารออมสิน) เพื่อฝึกให้ราษฎร รู้จักเก็บสะสมทรัพย์และโปรดเกล้าฯ ให้เลิกการพนันบ่อนเบี้ยซึ่งเป็นเหตุทำลายความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ ทรงมองการณ์ไกลว่าเมื่อประเทศชาติรุ่งเรืองแล้ว จะต้องใช้ซีเมนต์จำนวนมาก เพื่อก่อสร้างอาคารบ้านเรือนตามแบบอารยประเทศ จึงทรงก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทยขึ้น นับเป็นการ ฝึกหัดคนไทยให้รู้จักประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในด้านการเกษตรทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ขยายการขุดคลองและคูนา รวมทั้งจัดสร้างเขื่อนพระราม ๖ ซึ่งเป็นเขื่อนทดและส่งน้ำแห่งแรก การ พัฒนาระบบชลประทานของพระองค์ช่วยให้ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศเพิ่มมากขึ้น เมื่อทรง พัฒนาด้านการเกษตรแล้วได้ทรงพัฒนาระบบการคมนาคมเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าด้วย กล่าวคือ ทรงปรับปรุงและขยายกิจการรถไฟทั้งสายเหนือ สายอีสาน สายตะวันออก และสายใต้และสร้าง สะพานพระราม ๖ เชื่อมทางรถไฟทั้งหมดโยงเข้ามาสู่สถานีหัวลำโพง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเชื่อม ต่อจากแนวทางรถไฟออกไปยังท้องที่ต่างๆ รวมทั้งสร้างสะพานจำนวนมากในกรุงเทพฯ กิจการบินก็ เป็นสิ่งที่ทรงริเริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ด้วย แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการปกครอง ทรง มีความเป็นประชาธิปไตย แต่ชาวไทยและชาวต่างประเทศก็รู้จักพระองค์และยกย่องพระองค์ทางด้าน อักษรศาสตร์มากกว่า ด้วยพระอุปนิสัยที่ทรงเป็นศิลปิน มีพระราชนิพนธ์มากมายทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ พระนามแฝงที่ทรงใช้ในการพระราชนิพนธ์งานทั้งหนังสือพิมพ์วรรณกรรม วรรณคดี เช่น พระขรรค์เพชร ศรีอยุธยา นายแก้วนายขวัญ อัศวพาหุ รามกิตตินายราม ณ กรุงเทพฯ ราม วชิราวุธ ป.ร.ราม Sri Ayudya Sri Ayoothya Phra Khan Bejra เป็นต้น คณะกรรมการรวบรวม และค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรว. พ.ศ. ๒๕๒๔) ได้ศึกษารวบรวมไว้แบ่งเป็น ๗ หมวด คือ หมวดโขน-ละคร ๑๘๗ เรื่อง พระราชดำรัสเทศนา ฯลฯ ๒๒๙ เรื่อง นิทาน เรื่องชวนหัว ๑๕๙ เรื่อง บทความที่ลงหนังสือพิมพ์ ๓๑๖ เรื่อง ร้อยกรอง ๑๕๑ เรื่อง สารคดี๑๙๔ เรื่อง และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ด้วยความที่ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์พระองค์พระราชทานนามสกุลให้แก่ขุนนาง ข้าราชบริพาร ถึง ๖,๔๖๐ สกุลเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คนไทยมีนามสกุลใช้ทรงใช้ศัพท์บัญญัติที่เป็น คำไทยพระราชทานเป็นชื่อถนน ทรงตั้งวรรณคดีสโมสรเพื่อพิจารณางานวรรณกรรมต่างๆตั้งแต่สมัย สุโขทัยเป็นต้นมา และพระราชนิพนธ์ของพระองค์ได้รับการประกาศยกย่องถึง ๓ เรื่องว่าเป็นเลิศ คือ หัวใจนักรบเป็นเลิศประเภทบทละครพูด พระนลคำหลวงเป็นหนังสือดีและแต่งดีในกวีนิพนธ์มัทนะพาธา เป็นเลิศด้านบทละครพูดคำฉันท์ ต่อมาในภายหลัง องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “ปราชญ์สยาม คนที่ ๕” นอกจากนี้ยังทรงได้รับพระสมัญญานามว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งเป็นพระ สมัญญานามที่พสกนิกรยอมรับและเทิดทูนพระองค์ตลอดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระมเหสีพระสนม และพระคู่หมั้น ตามลำดับดังนี้ ๑. หม่อมเจ้าหญิงวัลลภาเทวีวรวรรณ พระคู่หมั้น ได้สถาปนาเป็นพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี แต่ภายหลังทรงถอนหมั้น และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า “พระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี” ๒. หม่อมเจ้าหญิงลักษมีลาวัณ พระขนิษฐาพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีหลังอภิเษกสมรส โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” ๓. คุณเปรื่อง สุจริตกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพระสนมเอกที่ “พระสุจริตสุดา” ๔. คุณประไพ สุจริตกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพระอินทราณีพระสนมเอก ต่อมา ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีพระวรราชชายา” ๕. คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์ ทรงได้รับสถาปนาเป็นเจ้าจอมสุวัทนา เมื่อทรงพระครรภ์ได้รับ การสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี” ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอยู่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีมีพระประสูติกาลพระราชธิดา คือสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ (สิ้นพระชนม์วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑.๔๕ น. ด้วยพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในอุทร พระชนมายุ ๔๕ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ นาน ๑๕ ปี | ||