พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๒๑

พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๒๑


สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงอยู่ ในราชวงศ์สุโขทัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ ครองราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. ๒๑๕๔-พ.ศ. ๒๑๗๑ รวมระยะเวลา ๑๗ ปี รัชสมัยของพระองค์ทรงส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้อยุธยากลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญยิ่งกว่ารัชสมัยใดๆที่ผ่านมา อีกทั้งทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนา อย่างมาก

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระนามเดิมว่าพระอินทราชา (พงศาวดารบางฉบับว่า พระศรีศิลป์) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า พระมารดาเป็นพระสนม ชาวบางปะอิน ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถทรงได้เป็น บาทบริจาริกา เมื่อครั้งเรือพระที่นั่งล่มที่บางปะอิน

พระอินทราชาทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆังจนได้เป็นพระพิมลธรรมอนันตปรีชา ขณะบวชอยู่มีศิษย์ มากมาย จมื่นศรีสรรักษ์ขุนนางสำคัญคนหนึ่งมาถวายตัวเป็นบุตรบุญธรรม และซ่องสุมกำลังพลไว้ เป็นจำนวนมาก แล้วบุกเข้าพระราชวังหลวงเพื่อชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ จับ สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมฯ ลาผนวช เสด็จขึ้น ครองราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๔ และเพื่อเป็นการตอบแทนที่จมื่นศรีสรรักษ์ช่วยเหลือพระองค์ จึงทรง แต่งตั้งให้จมื่นศรีสรรักษ์เป็นพระมหาอุปราช แต่ก็ประชวรแล้วสิ้นพระชนม์ อยู่ในตำแหน่งได้เพียง ๑๐ วัน เท่านั้น

หลังเสด็จขึ้นครองราชย์ เกิดกบฏอาสาญี่ปุ่นขึ้น ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลาย ฉบับกล่าวตรงกันว่า พวกญี่ปุ่นประมาณ ๕๐๐ คน ยกเข้ามาในท้องสนามหลวงจะคุมพระองค์ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมซึ่งเสด็จออกมาฟังพระสงฆ์บอกหนังสือ ณ พระที่นั่งจอมทองสามหลัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงปลอมพระองค์เป็นพระสงฆ์ เสด็จหลบออกจากพระราชวังไปพร้อมกับ บรรดาพระสงฆ์จากวัดประดู่โรงธรรม ฝ่ายพระมหาอำมาตย์รวบรวมพลได้ก็ต่อสู้กับพวกญี่ปุ่นและ ขับไล่จนแตกพ่าย หนีลงเรือไปจากกรุงศรีอยุธยา ในการครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระมหาอำมาตย์เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เพื่อตอบแทนความดีความชอบ

ส่วนในเอกสารต่างชาติกล่าวถึงพวกอาสาญี่ปุ่นประมาณ ๒๘๐ คน ซึ่งเหลือรอดจากการกบฏ ครั้งแรกบุกเข้าไปในพระราชวัง จับสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมไว้เพื่อต่อรองผลประโยชน์ เมื่อฝ่ายกอง ทหารอยุธยารวบรวมกำลังพลได้ ตีโต้กลับไป พวกญี่ปุ่นจึงล่าถอยโดยลงเรือหนีจากกรุงศรีอยุธยาไป แต่อย่างไรก็ตามกองทหารอาสาญี่ปุ่นก็ยังคงอยู่ตลอดมา มิได้ถูกยุบเลิกจากเหตุการณ์ดังกล่าว

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้แก่

ด้านการสงคราม ถ้ายึดตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาแล้ว กรุงศรีอยุธยามีศึก สงครามกับพม่าเพียงครั้งเดียว คือ เมื่อศึกกองทัพพม่า-มอญยกมาล้อมเมืองตะนาวศรี เมืองตะนาวศรี ร้องขอให้อยุธยาส่งกองทัพไปช่วย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจึงโปรดให้พระยาพิชัยสงครามเป็นแม่ทัพ ยกไป แต่เมื่อถึงเมืองสิงขรปรากฏว่าเมืองตะนาวศรีเสียแก่พม่าแล้ว จึงทรงให้ยกทัพกลับ แต่ในหนังสือ เรื่องไทยรบพม่าของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงสงครามอีกหลาย ครั้งที่กรุงศรีอยุธยาต้องเผชิญ ได้แก่ สงครามกับล้านช้าง พ.ศ. ๒๑๕๕ ซึ่งกองทัพล้านช้างยกลงมาถึง เมืองละโว้ และตั้งทัพอยู่ถึง ๔ เดือน ในช่วงที่อยุธยากำลังมีปัญหาเรื่องกบฏอาสาญี่ปุ่นอยู่ สมเด็จ พระเจ้าทรงธรรมเสด็จนำทัพเคลื่อนเข้าประชิดเมืองละโว้ (ลพบุรี) แต่กองทัพล้านช้างถอยทัพไปก่อน จึงทรงให้กองทัพตามตีจนกองทัพล้านช้างแตกพ่ายไป

สงครามกับพม่า กรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่าถึง ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๑๕๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้เจ้าเมืองทวายไปตีเมืองเร (ye ภาษาไทยว่าเมืองเยหรือเย้ ส่วนภาษา พม่าออกเสียงว่า เร เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของอ่าวเมาะตะมะทางตอนใต้ของพม่า เหนือเมือง มะริด) เมื่อตีได้และจับพระอนุชาของพระเจ้าอังวะ ซึ่งมาดูแลเมืองเรอยู่ส่งมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้า อังวะจึงยกกองทัพมาตีเมืองทวาย เจ้าเมืองทวายเสียชีวิตในสนามรบ และเสียเมืองทวายแก่พม่า แต่ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งกองทัพของพระยาสวรรคโลกและพระยาพิไชยไปช่วยเหลือ สามารถ ป้องกันเมืองตะนาวศรีและยึดเมืองทวายคืนมาได้ กองทัพพม่าจึงแตกพ่ายไป ต่อมาใน พ.ศ. ๒๑๕๘ พม่ายกทัพมายังเมืองเชียงใหม่ซึ่งกำลังมีปัญหาการเมืองภายใน (เชียงใหม่เคยเป็นเมืองขึ้นของพม่าก่อนที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงยึดมาได้) เมื่อกองทัพของพระเจ้าอังวะมาถึง พระเจ้าเชียงใหม่ ได้รวบรวมผู้คนไปตั้งมั่นสู้ที่เมืองลำปาง สามารถรักษาเมืองได้ระยะหนึ่ง แต่เมื่อกองทัพพม่าได้รับความ ช่วยเหลือจากเจ้าเมืองน่านจึงสามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้ พระเจ้าอังวะทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองน่านเป็น พระเจ้าเชียงใหม่ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๑๖๐ มีข้อตกลงว่าไทยจะยอมรับว่าเมืองเมาะตะมะเป็นของพม่า และพม่าจะยอมรับว่าเมืองเชียงใหม่เป็นของไทย หลังจากนั้นไทยเว้นสงครามกับพม่าไปจนถึง พ.ศ. ๒๑๖๕ พม่าได้ส่งกองทัพยึดเมืองทวายได้ กองทัพจากกรุงศรีอยุธยายกไปช่วยไม่ทันจึงเสียเมืองทวาย ให้แก่พม่าไป

สงครามกับกัมพูชา พ.ศ. ๒๑๖๔ สมเด็จพระไชยเชษฐากษัตริย์กัมพูชาได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่ เมืองอุดงฦๅไชย และไม่ยอมส่งบรรณาการให้แก่กรุงศรีอยุธยา (กัมพูชาเป็นประเทศราชของกรุงศรี อยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงยกกองทัพทั้งทัพบก และทัพเรือไปยังกัมพูชา โดยพระองค์จะทรงเป็นแม่ทัพบก และให้พระศรีศิลป์เป็นแม่ทัพเรือ สมเด็จพระไชยเชษฐาทรงใช้วิธีเจรจาเพื่อหน่วงเวลาและรวบรวมกำลังไพร่พลเตรียมพร้อมรบ ทัพเรือ ของพระศรีศิลป์เมื่อต้องรอเป็นเวลานานก็เริ่มขาดแคลนเสบียงจนต้องถอยทัพก่อน สมเด็จพระไชยเชษฐาจึงส่งกองทัพออกโจมตีกองทัพไทยแตกพ่าย

ด้านการต่างประเทศ ในรัชกาลนี้นอกจากโปรตุเกสและฮอลันดาแล้ว ยังมีชาติตะวันตกชาติใหม่ เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย คือ อังกฤษและเดนมาร์ก บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเข้ามายัง กรุงศรีอยุธยาและเมืองปัตตานีเมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๕ และขออนุญาตตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยา ส่วน เดนมาร์กนั้น บริษัทอินเดียตะวันออกของเดนมาร์กเข้ามาติดต่อค้าขายที่มะริดและตะนาวศรีเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๔

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม การค้ากับฮอลันดาเจริญรุ่งเรืองมาก กรุงศรีอยุธยากับ ฮอลันดาทำสนธิสัญญาทางการค้ากันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๑๖๐ โดยผู้แทนของ บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาเป็นผู้ลงนาม ตามสัญญาระบุว่าฮอลันดาได้สิทธิพิเศษในการซื้อ หนังสัตว์จากกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกับโปรตุเกสและอังกฤษ โปรตุเกสได้ยึดเรือของ ฮอลันดาลำหนึ่งไว้ แต่ทางกรุงศรีอยุธยาบังคับให้คืนเรือนั้น โปรตุเกสจึงโจมตีเรือของไทย ทำให้ไทยกับ โปรตุเกสบาดหมางกันจนกระทั่งปลายรัชกาลจึงคลี่คลายไป อย่างไรก็ตาม การที่กรุงศรีอยุธยาให้ความ ช่วยเหลือฮอลันดาทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ส่วนความสัมพันธ์กับอังกฤษนั้น ใน พ.ศ. ๒๑๖๒ เรือของอังกฤษกับเรือของฮอลันดาเกิดสู้รบกันในอ่าวเมืองปัตตานี แต่เหตุการณ์ก็ยุติลงได้ 

ด้านศาสนา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ใน พ.ศ. ๒๑๖๕ โปรดให้มีการชะลอพระมงคลบพิตรจากที่ตั้งเดิมด้านตะวันออกของพระราชวังมาไว้ด้านตะวันตก (ที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน) แล้วโปรดให้ก่อพระมณฑปครอบพระมงคลบพิตร

ใน พ.ศ. ๒๑๖๑ เมืองสระบุรีมีใบบอกเข้ามาว่ามีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนเขาสุวรรณบรรพต จึงเสด็จไปทอดพระเนตรเอง และโปรดอุทิศถวายที่ดินป่าโดยรอบกว้างด้านละ ๑ โยชน์ (ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) แก่พระพุทธศาสนา แล้วโปรดให้สร้างมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท สร้างพระอุโบสถ และพระอารามขึ้น แล้วให้ฝรั่งตัดถนนหลวงกว้าง ๑๐ วา ยาวตั้งแต่เชิงเขาสุวรรณบรรพตจนถึงตำบล ท่าเรือ และโปรดให้สร้างพระตำหนักท่าเจ้าสนุก เพื่อเป็นที่ประทับแรมเมื่อเวลาเสด็จมานมัสการ พระพุทธบาท การก่อสร้างพระพุทธบาทและศาสนสถานอื่นๆโดยรอบใช้เวลาถึง ๔ ปีจึงแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งวรรณคดีเรื่องกาพย์มหาชาติ และรวบรวมพระไตรปิฎกให้ครบ จบบริบูรณ์ด้วย

พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการตรา “พระธรรมนูญกระทรวงศาล” ขึ้นใน พ.ศ. ๒๑๖๗ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ว่าด้วยเขตอำนาจศาลต่างๆในการพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละ ประเภท ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของขุนนางตำแหน่งต่างๆที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาและตระลาการ บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของข้าราชการใหญ่น้อยทั่วราชอาณาจักรทั้งฝ่ายทหารและฝ่าย พลเรือนในการใช้ตราประจำตำแหน่งปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคตราวเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๑๗๑ มีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา รวมระยะเวลาครองราชสมบัติ ๑๗ ปี

นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

คลิกอ่านจากไฟล์ pdf »



ตำแหน่ง

Lek Thi 206 Soi 8 ตำบล เนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก 65190 ประเทศไทย


คำอธิบายการค้นหา

Num ... 2627615 blogger Blog for save Make safe editor Sight seeing view blog ID ... Phasa Thai รายละเอียดคำศัพท์ ... 

☆ เซฟบล็อก! ☆