พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามเดิมว่า ด้วงหรือทองด้วง เสด็จพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระปฐมบรม มหาชนกซึ่งมีพระนามเดิมว่า ทองดี สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช รับราชการในกรมอาลักษณ์เป็นพระอักษรสุนทร พระราชชนนีมีพระนามว่า หยก หรือดาวเรือง เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรขณะ ดำรงพระยศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อทรงอุปสมบทและลาพระผนวชแล้วกลับเข้ารับราชการเป็น มหาดเล็กหลวง เมื่อมีพระชนมพรรษา ๒๕ พรรษา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี และได้สมรสกับธิดาตระกูลคหปตนีที่ตำบลอัมพวา แขวงเมือง สมุทรสาคร ชื่อนาก (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเข้ารับราชการในกรุงธนบุรีเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ทรงเป็นกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คู่กับสมเด็จพระ อนุชาธิราช (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) ทำศึกสงครามกู้บ้านเมืองหลายครั้งและได้เลื่อน บรรดาศักดิ์โดยลำดับ ดังนี้
พ.ศ. ๒๓๑๑ โดยเสด็จปราบชุมนุมเจ้าพิมาย ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระ ตำรวจ พ.ศ. ๒๓๑๒ ทรงเป็นแม่ทัพไปตีเขมรได้เมืองพระตะบองและเสียมราฐ พ.ศ. ๒๓๑๓ ได้ เลื่อนเป็นพระยายมราชว่าที่สมุหนายก พ.ศ. ๒๓๑๔ เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพไปตีเขมร พ.ศ. ๒๓๑๗ ทรงเป็นแม่ทัพหน้าไปตีเชียงใหม่ และลงมาช่วยรบกับพม่าที่เมืองราชบุรีจนชนะ พ.ศ. ๒๓๑๘ ทรงเป็นแม่ทัพรบต้านทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลกเป็นสามารถ จนอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่า ขอดูตัวและกล่าวสรรเสริญ ดังบันทึกในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า “รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็ง สู้รบเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้จงอุตสาห์รักษาตัวไว้ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้” สงครามครั้งนั้น เมืองพิษณุโลกถูกล้อมจนขาดเสบียงอาหาร จำต้องทิ้งเมือง ตีหักไปตั้งมั่นที่เมือง เพชรบูรณ์ แต่พอดีอะแซหวุ่นกี้ถูกเรียกตัวกลับ พ.ศ. ๒๓๑๙ ทรงเป็นแม่ทัพไปตีหัวเมืองตะวันออกได้ เมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง เมืองอัตปือ และเกลี้ยกล่อมได้เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และ เมืองขุขันธ์ ถึง พ.ศ. ๒๓๒๐ จึงทรงได้รับพระมหากรุณาปูนบำเหน็จเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พ.ศ. ๒๓๒๑ ทรงเป็นแม่ทัพไปตีเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมายังกรุงธนบุรี และใน พ.ศ. ๒๓๒๓ ทรงเป็นแม่ทัพไปปราบจลาจลเมืองเขมร แต่เมื่อทรงทราบข่าว จลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรี เสด็จกลับถึงกรุงธนบุรีเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ประทับบนศาลาลูกขุนมหาดไทย ตัดสินสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แล้วเหล่า ขุนนางและราษฎรทั้งหลายพร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชสมบัติ วันนี้ถือเป็นวันสถาปนามหาจักรีบรมราชวงศ์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงรับอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ แล้ว โปรดให้ย้ายพระนครมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับกรุงธนบุรีพระนครเดิม ด้วยมีพระราชดำริว่าฝั่งตะวันออกมีชัยภูมิดีกว่า และสามารถป้องกันข้าศึกได้ดีกว่า โปรดให้ตั้งพิธียก เสาหลักเมืองเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และให้ก่อสร้างพระราชวังล้อมด้วยไม้ระเนียดไว้ก่อน พอให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขปเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ จากนั้นจึง โปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง พระราชวังบวรสถานมงคล และพระนครอย่างถาวรต่อไป
เมื่อก่อสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๒๗ จึงอัญเชิญพระพุทธมหามณี รัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) จากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี มาประดิษฐานในพระอุโบสถ และเมื่อ สร้างพระนครแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๒๘ โปรดให้กระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ให้ถูกต้อง ตามโบราณราชประเพณี และให้มีการสมโภชพระนครต่อเนื่องกัน พระราชทานนามพระนครว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์อุดม ราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลงสร้อย “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”
ในเวลาเดียวกับการสร้างพระนครซึ่งล้อมด้วยกำแพง ป้อม และคูเมืองนั้น พระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงให้ตระเตรียมเสบียงอาหาร อาวุธทั้งซื้อและหล่อเอง และต่อเรือรบ ไว้ต่อสู้ข้าศึกที่สำคัญคือพม่า และใน พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าก็ยกกองทัพมาถึง ๙ ทัพ ด้วยกำลังพลมากกว่า ไทยถึงเท่าตัว แต่กลับมีข้อเสียเพราะไม่สามารถเข้าถึงกรุงพร้อมกัน ขณะที่พระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงกำหนดยุทธศาสตร์โดยให้ออกไปสกัดทัพพม่าไม่ให้ถึงเมืองหลวง ให้ต่อสู้ทัพสำคัญก่อน ทัพใดเสร็จศึกก็ให้หนุนไปช่วยด้านอื่น ทำให้ตีทัพพม่าแตกพ่ายไปทุกทัพ
ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๙ พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกทัพมารบแก้ตัว เปลี่ยนยุทธวิธีการรบโดยเตรียม ยุ้งฉางมาพร้อม ตั้งค่ายใหญ่ที่ท่าดินแดงและสามสบ เมืองกาญจนบุรี ตั้งค่ายชักปีกกาถึงกัน ขุดสนาม เพลาะปักขวากหนาแน่น และทำสะพานเชื่อมถึงกัน แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงเป็นแม่ทัพทรงตีค่ายท่าดินแดง และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระ อนุชาธิราชทรงตีค่ายสามสบ ระดมกำลังเพียง ๓ วัน พม่าก็แตกพ่ายไปสิ้น
ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงเสด็จนำทัพไปตีเมืองทวายของ พม่าเป็นการตอบแทน แต่ไม่อาจตีหักได้สำเร็จ เพราะเส้นทางทุรกันดารและขัดสนเสบียงอาหารอย่างไรก็ตามใน พ.ศ. ๒๓๓๔ ทวาย ตะนาวศรี และมะริดได้ขอสวามิภักดิ์ต่อไทย แต่พอพม่ายกลงมา ทั้ง ๓ เมืองเกรงกลัวจึงกลับไปขึ้นกับพม่าอีกใน พ.ศ. ๒๓๓๖
พม่ายังพยายามจะชิงหัวเมืองทางเหนือหรือดินแดนล้านนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๓๐ จนถึง พ.ศ. ๒๓๔๘ กองทัพไทยและล้านนาได้ร่วมกันต่อสู้จนขับไล่พม่าออกไปจากล้านนา และยังได้เชียงตุง แสนหวี เมืองลื้อ สิบสองปันนาไว้ในราชอาณาจักรไทยด้วย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังได้ทรงขยายพระราชอาณาเขต โดยการทำ สงครามและโดยการอุปถัมภ์ค้ำจุนประเทศอื่นๆรอบพระราชอาณาจักร
ดังนี้ ลาว เป็นประเทศราชของไทยแล้วในสมัยกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชจึงทรงแต่งตั้งกษัตริย์ลาวที่ทรงไว้วางพระทัยให้ปกครองเวียงจันทน์ ทั้งเมื่อกษัตริย์หลวง พระบางคิดจะเอาใจออกห่างไปพึ่งพม่า เจ้าอนุแห่งเวียงจันทน์ยังช่วยไปตีหลวงพระบาง จับกษัตริย์ หลวงพระบางส่งมากรุงเทพมหานคร
เขมร เป็นประเทศราชของไทยเช่นกัน ภายในประเทศเกิดจลาจล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้พระยายมราช (แบน) ไประงับเหตุ รักษาราชการในเมืองเขมร และพา นักองเองเข้ามากรุงเทพมหานคร ทรงชุบเลี้ยงคู่กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ถึง ๑๒ ปี จึงทรงแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ออกไปครองกรุงกัมพูชา และเมื่อสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพิราลัย ก็โปรดให้สมเด็จฟ้าทะละหะ เป็นผู้สำเร็จราชการ จนนักองจันท์ พระราชโอรสสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีเจริญวัย จึงทรงแต่งตั้ง เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาครองกรุงกัมพูชา
ญวน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเกื้อหนุนองเชียงสือที่หนีภัยกบฏ ไกเซินมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารจนกู้ชาติบ้านเมืองได้ ถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นราชบรรณาการ เมื่อตั้งตนเป็นจักรพรรดิ ทรงพระนามพระเจ้าเวียดนามยาลองจึงเลิกถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง แต่มีพระราชสาส์นและถวายสิ่งของมีค่าด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้เชิญพระราชสาส์นพร้อมเครื่องสำหรับกษัตริย์ไปพระราชทาน
มลายู ตั้งแต่ศึกสงคราม ๙ ทัพ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงขับไล่พม่าออก ไปจากภาคใต้แล้ว ได้เสด็จลงไปปราบหัวเมืองใต้ได้เมืองตานี (ปัตตานี) แล้ว ไทรบุรี กลันตัน และ ตรังกานูก็ยอมอ่อนน้อม โปรดให้เมืองสงขลาและเมืองนครศรีธรรมราชควบคุมดูแล
นอจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังทรงรักษาสัมพันธไมตรีกับจีน ราชวงศ์ชิงสืบต่อจากสมัยกรุงธนบุรี เพราะได้ประโยชน์จากการค้าสำเภา รวมทั้งเปิดรับชาวตะวันตก ที่เข้ามาค้าขาย มีโปรตุเกสและอังกฤษ เป็นต้น
พระราชกรณียกิจด้านทะนุบำรุงบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต้องทรงดำเนินการไปพร้อมกับการสงคราม เพราะเป็นเรื่องของการฟื้นฟูประเทศ ด้วยมีพระราชประสงค์ “สร้างให้เหมือนสมัยบ้านเมืองดี” ซึ่งมีผลด้านจิตวิทยาทำให้อาณาประชาราษฎร์มีขวัญและกำลังใจ และยังมีผลทำให้ประเทศข้างเคียงเกรงขามเมื่อเห็นว่าบ้านเมืองไทยบริบูรณ์รุ่งเรืองดุจเดิม
การจัดระเบียบการปกครอง ทรงยึดแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา มีอัครมหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ กรมท่าดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันตก จัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา หัวเมืองแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นจัตวา และหัวเมืองประเทศราช
ด้านกฎหมายบ้านเมือง โปรดให้ชำระพระราชกำหนดกฎหมายให้ถูกต้อง แล้วให้อาลักษณ์ ชุบเส้นหมึกไว้ ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราของสมุหนายก สมุหพระกลาโหม และพระคลัง แสดงว่าใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร กฎหมายนี้เรียกกันว่ากฎหมายตรา สามดวง
ด้านศาสนา ใน พ.ศ. ๒๓๓๑ โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดนิพพานารามซึ่งได้พระราชทาน นามใหม่ว่า วัดพระศรีสรรเพ็ชญดาราม ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ นับเป็นการสังคายนา ลำดับที่ ๙ ของโลก และยังโปรดให้ตรากฎพระสงฆ์ควบคุมสมณปฏิบัติและข้อพึงปฏิบัติของ พุทธศาสนิกชนอีกหลายฉบับ รวมทั้งพระราชกำหนดกวดขันศีลธรรมข้าราชการและพลเมือง
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม โปรดให้รื้อฟื้นและทรงอุปภัมภ์ทุกแขนง โปรดให้สร้างปราสาทพระราชวัง วัดวาอาราม เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม วัดสระเกศ และวัดสุทัศนเทพวราราม โปรดให้รื้อฟื้นพระราชพิธีสำคัญๆ ครั้งกรุงศรีอยุธยา มาจัดทำอย่างถูกต้องตามแบบแผนราชประเพณี ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศ มีการจดจารบันทึก ไว้เป็นแบบแผนสืบมา ตั้งแต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีสมโภชพระนคร พระราชพิธี พืชมงคล พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พิธีทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีสมโภชพระเศวตกุญชร การออกพระเมรุและพระราชพิธีถวายพระเพลิงหรือพระราชทาน เพลิงที่ท้องสนามหลวง โปรดให้รวบรวมพระราชพงศาวดารและเอกสารสำคัญของบ้านเมืองที่ กระจัดกระจายมาชำระเรียบเรียงขึ้นใหม่ ทรงส่งเสริมนักปราชญ์ราชกวี สร้างงานวรรณกรรมสำคัญ โดยทรงเป็นผู้นำทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับยาวครบสมบูรณ์และเพลงยาวรบพม่า ที่ท่าดินแดง
เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ ๒๘ ปี
พระนาม “พระพุทธยอดฟ้า” เป็นพระนามจากการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ถวายพระนามพระพุทธรูปทรงเครื่อง ๒ พระองค์หน้าฐานชุกชีพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งทรงสร้างเพื่อเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ โดยถวาย พระนามว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย แล้วโปรดให้เรียกพระนามแผ่นดินที่เรียกกันว่าแผ่นดินต้นเป็นแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้า และแผ่นดินกลางเป็นแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้า สุลาลัย (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนเป็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ส่วน พระราชสมัญญานาม “มหาราช” นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ถวายพระราชสมัญญานามเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และให้เปลี่ยนชื่อ วันจักรี วันที่ ๖ เมษายน เป็นวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึก มหาจักรีบรมราชวงศ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามเดิมว่า ด้วงหรือทองด้วง เสด็จพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระปฐมบรม มหาชนกซึ่งมีพระนามเดิมว่า ทองดี สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช รับราชการในกรมอาลักษณ์เป็นพระอักษรสุนทร พระราชชนนีมีพระนามว่า หยก หรือดาวเรือง เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรขณะ ดำรงพระยศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อทรงอุปสมบทและลาพระผนวชแล้วกลับเข้ารับราชการเป็น มหาดเล็กหลวง เมื่อมีพระชนมพรรษา ๒๕ พรรษา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี และได้สมรสกับธิดาตระกูลคหปตนีที่ตำบลอัมพวา แขวงเมือง สมุทรสาคร ชื่อนาก (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเข้ารับราชการในกรุงธนบุรีเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ทรงเป็นกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คู่กับสมเด็จพระ อนุชาธิราช (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) ทำศึกสงครามกู้บ้านเมืองหลายครั้งและได้เลื่อน บรรดาศักดิ์โดยลำดับ ดังนี้ พ.ศ. ๒๓๑๑ โดยเสด็จปราบชุมนุมเจ้าพิมาย ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระ ตำรวจ พ.ศ. ๒๓๑๒ ทรงเป็นแม่ทัพไปตีเขมรได้เมืองพระตะบองและเสียมราฐ พ.ศ. ๒๓๑๓ ได้ เลื่อนเป็นพระยายมราชว่าที่สมุหนายก พ.ศ. ๒๓๑๔ เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพไปตีเขมร พ.ศ. ๒๓๑๗ ทรงเป็นแม่ทัพหน้าไปตีเชียงใหม่ และลงมาช่วยรบกับพม่าที่เมืองราชบุรีจนชนะ พ.ศ. ๒๓๑๘ ทรงเป็นแม่ทัพรบต้านทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลกเป็นสามารถ จนอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่า ขอดูตัวและกล่าวสรรเสริญ ดังบันทึกในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า “รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็ง สู้รบเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้จงอุตสาห์รักษาตัวไว้ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้” สงครามครั้งนั้น เมืองพิษณุโลกถูกล้อมจนขาดเสบียงอาหาร จำต้องทิ้งเมือง ตีหักไปตั้งมั่นที่เมือง เพชรบูรณ์ แต่พอดีอะแซหวุ่นกี้ถูกเรียกตัวกลับ พ.ศ. ๒๓๑๙ ทรงเป็นแม่ทัพไปตีหัวเมืองตะวันออกได้ เมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง เมืองอัตปือ และเกลี้ยกล่อมได้เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และ เมืองขุขันธ์ ถึง พ.ศ. ๒๓๒๐ จึงทรงได้รับพระมหากรุณาปูนบำเหน็จเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พ.ศ. ๒๓๒๑ ทรงเป็นแม่ทัพไปตีเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมายังกรุงธนบุรี และใน พ.ศ. ๒๓๒๓ ทรงเป็นแม่ทัพไปปราบจลาจลเมืองเขมร แต่เมื่อทรงทราบข่าว จลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรี เสด็จกลับถึงกรุงธนบุรีเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ประทับบนศาลาลูกขุนมหาดไทย ตัดสินสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แล้วเหล่า ขุนนางและราษฎรทั้งหลายพร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชสมบัติ วันนี้ถือเป็นวันสถาปนามหาจักรีบรมราชวงศ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงรับอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ แล้ว โปรดให้ย้ายพระนครมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับกรุงธนบุรีพระนครเดิม ด้วยมีพระราชดำริว่าฝั่งตะวันออกมีชัยภูมิดีกว่า และสามารถป้องกันข้าศึกได้ดีกว่า โปรดให้ตั้งพิธียก เสาหลักเมืองเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และให้ก่อสร้างพระราชวังล้อมด้วยไม้ระเนียดไว้ก่อน พอให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขปเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ จากนั้นจึง โปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง พระราชวังบวรสถานมงคล และพระนครอย่างถาวรต่อไป เมื่อก่อสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๒๗ จึงอัญเชิญพระพุทธมหามณี รัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) จากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี มาประดิษฐานในพระอุโบสถ และเมื่อ สร้างพระนครแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๒๘ โปรดให้กระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ให้ถูกต้อง ตามโบราณราชประเพณี และให้มีการสมโภชพระนครต่อเนื่องกัน พระราชทานนามพระนครว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์อุดม ราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลงสร้อย “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” ในเวลาเดียวกับการสร้างพระนครซึ่งล้อมด้วยกำแพง ป้อม และคูเมืองนั้น พระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงให้ตระเตรียมเสบียงอาหาร อาวุธทั้งซื้อและหล่อเอง และต่อเรือรบ ไว้ต่อสู้ข้าศึกที่สำคัญคือพม่า และใน พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าก็ยกกองทัพมาถึง ๙ ทัพ ด้วยกำลังพลมากกว่า ไทยถึงเท่าตัว แต่กลับมีข้อเสียเพราะไม่สามารถเข้าถึงกรุงพร้อมกัน ขณะที่พระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงกำหนดยุทธศาสตร์โดยให้ออกไปสกัดทัพพม่าไม่ให้ถึงเมืองหลวง ให้ต่อสู้ทัพสำคัญก่อน ทัพใดเสร็จศึกก็ให้หนุนไปช่วยด้านอื่น ทำให้ตีทัพพม่าแตกพ่ายไปทุกทัพ ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๙ พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกทัพมารบแก้ตัว เปลี่ยนยุทธวิธีการรบโดยเตรียม ยุ้งฉางมาพร้อม ตั้งค่ายใหญ่ที่ท่าดินแดงและสามสบ เมืองกาญจนบุรี ตั้งค่ายชักปีกกาถึงกัน ขุดสนาม เพลาะปักขวากหนาแน่น และทำสะพานเชื่อมถึงกัน แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงเป็นแม่ทัพทรงตีค่ายท่าดินแดง และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระ อนุชาธิราชทรงตีค่ายสามสบ ระดมกำลังเพียง ๓ วัน พม่าก็แตกพ่ายไปสิ้น ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงเสด็จนำทัพไปตีเมืองทวายของ พม่าเป็นการตอบแทน แต่ไม่อาจตีหักได้สำเร็จ เพราะเส้นทางทุรกันดารและขัดสนเสบียงอาหารอย่างไรก็ตามใน พ.ศ. ๒๓๓๔ ทวาย ตะนาวศรี และมะริดได้ขอสวามิภักดิ์ต่อไทย แต่พอพม่ายกลงมา ทั้ง ๓ เมืองเกรงกลัวจึงกลับไปขึ้นกับพม่าอีกใน พ.ศ. ๒๓๓๖ พม่ายังพยายามจะชิงหัวเมืองทางเหนือหรือดินแดนล้านนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๓๐ จนถึง พ.ศ. ๒๓๔๘ กองทัพไทยและล้านนาได้ร่วมกันต่อสู้จนขับไล่พม่าออกไปจากล้านนา และยังได้เชียงตุง แสนหวี เมืองลื้อ สิบสองปันนาไว้ในราชอาณาจักรไทยด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังได้ทรงขยายพระราชอาณาเขต โดยการทำ สงครามและโดยการอุปถัมภ์ค้ำจุนประเทศอื่นๆรอบพระราชอาณาจักร ดังนี้ ลาว เป็นประเทศราชของไทยแล้วในสมัยกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชจึงทรงแต่งตั้งกษัตริย์ลาวที่ทรงไว้วางพระทัยให้ปกครองเวียงจันทน์ ทั้งเมื่อกษัตริย์หลวง พระบางคิดจะเอาใจออกห่างไปพึ่งพม่า เจ้าอนุแห่งเวียงจันทน์ยังช่วยไปตีหลวงพระบาง จับกษัตริย์ หลวงพระบางส่งมากรุงเทพมหานคร เขมร เป็นประเทศราชของไทยเช่นกัน ภายในประเทศเกิดจลาจล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้พระยายมราช (แบน) ไประงับเหตุ รักษาราชการในเมืองเขมร และพา นักองเองเข้ามากรุงเทพมหานคร ทรงชุบเลี้ยงคู่กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ถึง ๑๒ ปี จึงทรงแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ออกไปครองกรุงกัมพูชา และเมื่อสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพิราลัย ก็โปรดให้สมเด็จฟ้าทะละหะ เป็นผู้สำเร็จราชการ จนนักองจันท์ พระราชโอรสสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีเจริญวัย จึงทรงแต่งตั้ง เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาครองกรุงกัมพูชา ญวน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเกื้อหนุนองเชียงสือที่หนีภัยกบฏ ไกเซินมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารจนกู้ชาติบ้านเมืองได้ ถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นราชบรรณาการ เมื่อตั้งตนเป็นจักรพรรดิ ทรงพระนามพระเจ้าเวียดนามยาลองจึงเลิกถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง แต่มีพระราชสาส์นและถวายสิ่งของมีค่าด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้เชิญพระราชสาส์นพร้อมเครื่องสำหรับกษัตริย์ไปพระราชทาน มลายู ตั้งแต่ศึกสงคราม ๙ ทัพ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงขับไล่พม่าออก ไปจากภาคใต้แล้ว ได้เสด็จลงไปปราบหัวเมืองใต้ได้เมืองตานี (ปัตตานี) แล้ว ไทรบุรี กลันตัน และ ตรังกานูก็ยอมอ่อนน้อม โปรดให้เมืองสงขลาและเมืองนครศรีธรรมราชควบคุมดูแล นอจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังทรงรักษาสัมพันธไมตรีกับจีน ราชวงศ์ชิงสืบต่อจากสมัยกรุงธนบุรี เพราะได้ประโยชน์จากการค้าสำเภา รวมทั้งเปิดรับชาวตะวันตก ที่เข้ามาค้าขาย มีโปรตุเกสและอังกฤษ เป็นต้น พระราชกรณียกิจด้านทะนุบำรุงบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต้องทรงดำเนินการไปพร้อมกับการสงคราม เพราะเป็นเรื่องของการฟื้นฟูประเทศ ด้วยมีพระราชประสงค์ “สร้างให้เหมือนสมัยบ้านเมืองดี” ซึ่งมีผลด้านจิตวิทยาทำให้อาณาประชาราษฎร์มีขวัญและกำลังใจ และยังมีผลทำให้ประเทศข้างเคียงเกรงขามเมื่อเห็นว่าบ้านเมืองไทยบริบูรณ์รุ่งเรืองดุจเดิม การจัดระเบียบการปกครอง ทรงยึดแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา มีอัครมหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ กรมท่าดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันตก จัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา หัวเมืองแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นจัตวา และหัวเมืองประเทศราช ด้านกฎหมายบ้านเมือง โปรดให้ชำระพระราชกำหนดกฎหมายให้ถูกต้อง แล้วให้อาลักษณ์ ชุบเส้นหมึกไว้ ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราของสมุหนายก สมุหพระกลาโหม และพระคลัง แสดงว่าใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร กฎหมายนี้เรียกกันว่ากฎหมายตรา สามดวง ด้านศาสนา ใน พ.ศ. ๒๓๓๑ โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดนิพพานารามซึ่งได้พระราชทาน นามใหม่ว่า วัดพระศรีสรรเพ็ชญดาราม ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ นับเป็นการสังคายนา ลำดับที่ ๙ ของโลก และยังโปรดให้ตรากฎพระสงฆ์ควบคุมสมณปฏิบัติและข้อพึงปฏิบัติของ พุทธศาสนิกชนอีกหลายฉบับ รวมทั้งพระราชกำหนดกวดขันศีลธรรมข้าราชการและพลเมือง ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม โปรดให้รื้อฟื้นและทรงอุปภัมภ์ทุกแขนง โปรดให้สร้างปราสาทพระราชวัง วัดวาอาราม เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม วัดสระเกศ และวัดสุทัศนเทพวราราม โปรดให้รื้อฟื้นพระราชพิธีสำคัญๆ ครั้งกรุงศรีอยุธยา มาจัดทำอย่างถูกต้องตามแบบแผนราชประเพณี ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศ มีการจดจารบันทึก ไว้เป็นแบบแผนสืบมา ตั้งแต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีสมโภชพระนคร พระราชพิธี พืชมงคล พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พิธีทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีสมโภชพระเศวตกุญชร การออกพระเมรุและพระราชพิธีถวายพระเพลิงหรือพระราชทาน เพลิงที่ท้องสนามหลวง โปรดให้รวบรวมพระราชพงศาวดารและเอกสารสำคัญของบ้านเมืองที่ กระจัดกระจายมาชำระเรียบเรียงขึ้นใหม่ ทรงส่งเสริมนักปราชญ์ราชกวี สร้างงานวรรณกรรมสำคัญ โดยทรงเป็นผู้นำทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับยาวครบสมบูรณ์และเพลงยาวรบพม่า ที่ท่าดินแดง เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ ๒๘ ปี พระนาม “พระพุทธยอดฟ้า” เป็นพระนามจากการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ถวายพระนามพระพุทธรูปทรงเครื่อง ๒ พระองค์หน้าฐานชุกชีพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งทรงสร้างเพื่อเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ โดยถวาย พระนามว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย แล้วโปรดให้เรียกพระนามแผ่นดินที่เรียกกันว่าแผ่นดินต้นเป็นแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้า และแผ่นดินกลางเป็นแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้า สุลาลัย (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนเป็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ส่วน พระราชสมัญญานาม “มหาราช” นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ถวายพระราชสมัญญานามเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และให้เปลี่ยนชื่อ วันจักรี วันที่ ๖ เมษายน เป็นวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึก มหาจักรีบรมราชวงศ์ | ||