พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๔
สมเด็จพระเจ้าทองลัน หรือที่ปรากฏในเอกสารบางฉบับว่าพระเจ้าทองจันทร์ ทรงเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงศรีอยุธยาที่ครองราชย์สั้นที่สุดคือเพียง ๗ วัน พระเจ้าทองลัน เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งเสด็จสวรรคตในขณะเสด็จไปรบ กับหัวเมืองเหนือเมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๑ เมื่อแผ่นดินว่างลงนั้น พระเจ้าทองลันพระราชโอรสได้ขึ้นสืบราชสมบัติ ขณะพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ความช่วงนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับ หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า
ศักราชได้ ๗๕๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก และเสด็จกลับคืน ครั้นเถิงกลางทาง สมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพานและจึงเจ้าทองลันพระราชกุมาร ท่านได้เสวยราชสมบัติ พระนครศรีอยุธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรีขึ้นเสวยราช สมบัติพระนครศรีอยุธยา และท่านจึงให้พิฆาตเจ้าทองลันเสีย
อย่างไรก็ดีพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตระบุว่าขณะขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา หลังจากนั้นได้ ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวรซึ่งครองเมืองลพบุรีได้ยกทัพเข้ามายังกรุง ศรีอยุธยา จับพระเจ้าทองลันประหารชีวิตที่วัดโคกพระยา แล้วขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา พระนามของพระเจ้าทองลันนี้เอกสารพงศาวดารเขียนหลายแบบ ทั้งทองจัน ทองจันทร์ทองลัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่าที่ถูกควรเป็นทองลันดังที่ปรากฏ ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
สมเด็จพระเจ้าทองลัน หรือที่ปรากฏในเอกสารบางฉบับว่าพระเจ้าทองจันทร์ ทรงเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงศรีอยุธยาที่ครองราชย์สั้นที่สุดคือเพียง ๗ วัน พระเจ้าทองลัน เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งเสด็จสวรรคตในขณะเสด็จไปรบ กับหัวเมืองเหนือเมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๑ เมื่อแผ่นดินว่างลงนั้น พระเจ้าทองลันพระราชโอรสได้ขึ้นสืบราชสมบัติ ขณะพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ความช่วงนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับ หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า
ศักราชได้ ๗๕๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก และเสด็จกลับคืน ครั้นเถิงกลางทาง สมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพานและจึงเจ้าทองลันพระราชกุมาร ท่านได้เสวยราชสมบัติ พระนครศรีอยุธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรีขึ้นเสวยราช สมบัติพระนครศรีอยุธยา และท่านจึงให้พิฆาตเจ้าทองลันเสีย อย่างไรก็ดีพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตระบุว่าขณะขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา หลังจากนั้นได้ ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวรซึ่งครองเมืองลพบุรีได้ยกทัพเข้ามายังกรุง ศรีอยุธยา จับพระเจ้าทองลันประหารชีวิตที่วัดโคกพระยา แล้วขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา พระนามของพระเจ้าทองลันนี้เอกสารพงศาวดารเขียนหลายแบบ ทั้งทองจัน ทองจันทร์ทองลัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่าที่ถูกควรเป็นทองลันดังที่ปรากฏ ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ | ||