พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๕

พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๕


สมเด็จพระเจ้ารามราชา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรง ครองราชย์ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นระยะเวลา ๑๕ ปีซึ่งนับได้ว่าเป็นรัชกาลหนึ่งที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะ ปกติสุข

สมเด็จพระเจ้ารามราชาเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวรและเป็นพระราชนัดดาของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๙  พ.ศ. ๑๙๓๘

สมเด็จพระเจ้ารามราชาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา ขณะ เมื่อพระชนมายุประมาณ ๒๑ พรรษา (ดังที่ปรากฏในหลักฐานของวันวลิต) ทรงพระนามว่า สมเด็จ พระเจ้ารามราชา หรือสมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช บางครั้งเรียกพระนามว่า สมเด็จพระยาราม หรือ สมเด็จพระราม ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น กรุงศรีอยุธยาอยู่ในภาวะปกติสุข นอกจากนี้ได้ทรงริเริ่มส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับอาณาจักรจีนเมื่อ พ.ศ. ๑๙๔๐ และ ในระยะเวลาต่อมายังได้ส่งทูตไปแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีกันอยู่เสมอ เช่น ใน พ.ศ. ๑๙๔๗ ทรงส่ง คณะทูตไปจีนเพื่อเจรจาความด้านการค้า จักรพรรดิจีนทรงมอบของกำนัลตอบแทน และพระราชทาน หนังสือประวัติสตรีสุจริตให้๑๐๐ เล่ม ราชทูตสยามทูลขอกฎหมายจากเมืองจีนเพื่อนำไปเป็นแบบอย่าง สำหรับประเทศ จักรพรรดิจีนก็พระราชทานให้ อย่างไรก็ดีการที่ทางพระเจ้ากรุงจีนทรงให้ความ สนิทสนมกับเจ้านครอินทร์เจ้าผู้ครองเมืองสุพรรณบุรีและเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ถึงกับทรงยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ก็ทำให้สมเด็จพระเจ้ารามราชา ทรงระแวง ไม่ไว้วางพระทัยเจ้านครอินทร์มากยิ่งขึ้น

ในด้านความมั่นคงของอาณาจักรและการแผ่ขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้า รามราชาได้ทรงพยายามขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรสุโขทัย แต่ไม่ประสบ ผลสำเร็จ ยิ่งกว่านั้นตอนปลายรัชกาล ทรงมีข้อพิพาทกับเจ้าเสนาบดีซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดี เจ้าเสนาบดีได้หนีไปอยู่ฟากปทาคูจามซึ่งอยู่ตรงคลองคูจามหรือคลองบ้านข่อยตรงข้ามกับเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งชุมชนไทยเชื้อสายจาม ต่อมาเจ้าเสนาบดีได้ร่วมกับเจ้านครอินทร์ยกกำลัง จากเมืองสุพรรณบุรีมายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นได้กราบทูลเชิญเจ้านครอินทร์ขึ้นครองราชสมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระนครินทราธิราช หรือสมเด็จพระอินทราชาแห่งราชวงศ์ สุพรรณภูมิ ส่วนสมเด็จพระเจ้ารามราชาให้ไปครองเมืองปทาคูจามและเสด็จสวรรคตในเวลาต่อมา โดยไม่ปรากฏวัน เดือน ปีที่สวรรคต อย่างไรก็ดีเมื่อนับปีที่สมเด็จพระเจ้ารามราชาครองราชสมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยาจาก พ.ศ. ๑๙๓๘ จนถึง พ.ศ. ๑๙๕๒ ซึ่งเป็นปีแรกแห่งการครองราชย์ของสมเด็จ พระนครินทราธิราช ณ กรุงศรีอยุธยา รวมเป็นเวลา ๑๕ ปีสังคีติยวงศ์ระบุว่าสมเด็จพระเจ้ารามราช ผู้ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวรนี้มีพระบุญญาธิการมากเช่นเดียวกับพระราชบิดา

เกี่ยวกับการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ารามราชาตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้นปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรง นิพนธ์อธิบายประกอบ และพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์แต่พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาภาษามคธแลคำแปลกับสังคีติยวงศ์ได้กล่าวขัดแย้งกับเอกสารทั้ง ๒ เรื่องข้างต้น โดย กล่าวความว่า

“ในกาลต่อมานั้น พระเจ้าลุงของพระเจ้ารามราชา ทรงพระนามว่าพระเจ้านครอินท์ เปนเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ (เมืองสุพรรณ) เปนญาติของพระเจ้าพงุมหานายก ยกพลมาแย่งชิงเอาราช สมบัติในกรุงศรีอยุธยานั้นได้แล้ว จับพระเจ้ารามราชานั้นสำเร็จโทษเสีย...”

นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

คลิกอ่านจากไฟล์ pdf »