พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าทับ เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) กับเจ้าจอมมารดาเรียม (ต่อมาภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระ ศรีสุลาลัย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้น พ.ศ. ๒๓๔๙ สมเด็จพระราชบิดา ทรงได้รับอุปราชาภิเษกเป็นพระมหาอุปราช จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมให้ทำพิธีโสกันต์เป็นการพิเศษ และเมื่อครบปีที่จะทรงพระผนวช ก็โปรดเกล้าฯ ให้ทรง พระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระองค์ เจ้าทับทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ใน พ.ศ. ๒๓๕๖ โปรด เกล้าฯ ให้สถาปนาทรงกรมเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมพระตำรวจว่าความฎีกา ซึ่งเป็นราชการสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคง ความมั่งคั่งของชาติ และความสงบสุขของราษฎร พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็น อย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระมิได้ขาด ทรงตั้งโรงทานเลี้ยงดูราษฎรที่อัตคัดขัดสน ณ บริเวณหน้าวังท่าพระซึ่งเป็นที่ประทับในขณะนั้น ด้านการค้าทรงแต่งสำเภาหลวงและสำเภาส่วน พระองค์ไปค้าขายที่เมืองจีน สร้างความมั่งคั่งให้ชาติอย่างยิ่ง ฐานะส่วนพระองค์ก็มั่นคงจนพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเรียกว่าเจ้าสัว จอห์น ครอว์เฟิด ทูตของผู้สำเร็จราชการอังกฤษ ที่อินเดียส่งมาเจรจาทางพระราชไมตรี แสดงความเห็นไว้ในเอกสารของจอห์น ครอว์เฟิด สรุปได้ว่า กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงว่าราชการสิทธิ์ขาดทั้งด้านการต่างประเทศและการค้า ทรงเป็นเจ้านายที่ ฉลาดหลักแหลมที่สุดในบรรดาเจ้านายและขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักสยาม
ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ พม่ายกกำลังมาตั้งยุ้งฉางสะสมเสบียงอาหารเตรียมทำศึกที่ปลายด่านเมือง กาญจนบุรี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงได้รับพระบรมราชโองการให้คุมกำลังไปขัดตาทัพที่ตำบล ปากแพรก ริมแม่น้ำน้อย เป็นเวลาประมาณปีเศษ พม่าเลิกทัพกลับไปโดยไม่ต้องรบกัน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๖๗ โดยมิได้ตรัสมอบ การสืบพระราชสันตติวงศ์ พระสังฆราช พระราชาคณะผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดีผู้ใหญ่ ร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน เห็นควรมอบสิริราชสมบัติให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์รักษาแผ่นดินสืบไปนับเป็นอเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ มีพระปรมาภิไธยซึ่งจารึกในพระสุพรรณบัฏเหมือนรัชกาลที่ ๑ และ ๒ ต่อมาพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏถวายพระปรมาภิไธยใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมาทิวรเสฏฐมหาเจษฎาบดินทร์ สยามมินทรวโรดม บรมธรรมมิก มหาราชาธิราชบรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”
พระราชกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์คือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบทอดหลักการปกครองตามพระราชประเพณีด้วยความตั้งพระทัย เป็นอย่างยิ่ง โปรดให้ขุนนาง ข้าราชการผู้ใหญ่เข้าเฝ้าถวายข้อราชการวันละ ๒ ครั้ง ดังจะเห็น พระราชจริยวัตรจากพระราชานุกิจที่บันทึกว่า
เวลาเสด็จออกจวน ๔ โมง (๑๐ นาฬิกา)...อัครมหาเสนาบดีนั่งตรงช่องกลาง ระหว่างเสาที่ ๒ และที่ ๓ จตุสดมภ์เจ้าประเทศราชนั่งเหนือเสาที่ ๒ ข้าราชการนอกนั้นเฝ้า หลามลงมาจนหน้าลับแล...
อีกช่วงหนึ่งเสด็จออกเวลา
...ยามหนึ่ง (๒๑ นาฬิกา) เสด็จออก...ถ้าอย่างเร็วไม่มีราชการเสด็จขึ้น ๒ ยาม (เที่ยง คืน) ถ้ามีราชการขึ้น ๘ ทุ่ม (๒ นาฬิกา) โดยมาก ถ้ามีราชการสำคัญที่คับขันเสด็จออก ทุ่มหนึ่ง (๑๙ นาฬิกา) เสวยในฉากแล้วขึ้นพระแท่น อยู่จนกระทั่งเวลาตี๑๑ (๕ นาฬิกา) จึง เสด็จขึ้น
ในการปกครองบ้านเมือง โปรดให้ตั้งบ้านเป็นเมือง ๒๕ เมือง ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคอีสาน ทรง ปลูกฝังให้ราษฎรร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโดยการตราพระราชกำหนดโจรห้าเส้น ซึ่งกำหนดให้ราษฎร ช่วยกันดูแลระมัดระวังโจรผู้ร้ายภายในรัศมี ๕ เส้นจากบ้านเรือนตน นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกลอง วินิจฉัยเภรีให้ราษฎรร้องทุกข์ถวายฎีกาได้ทุกเวลา
ตั้งแต่ต้นรัชกาล การศึกกับพม่าเริ่มลดน้อยลงเนื่องจากพม่ามีปัญหาภายใน และเผชิญภัย ภายนอกจากการคุมคามของอังกฤษ ในการนี้อังกฤษชักชวนไทยให้ช่วยรบกับพม่าด้วยเห็นเป็นศัตรูกัน มานาน ไทยไปช่วยอังกฤษตีได้เมืองมะริด ทวาย เมาะตะมะ และวางแผนจะขึ้นไปตีหงสาวดี ตองอู ต่อ แต่เกิดบาดหมางกันจึงยกทัพกลับ ต่อมาอังกฤษได้ชัยชนะเหนือพม่าโดยเด็ดขาด ตั้งแต่นั้น พม่า ไม่สามารถยกทัพมารุกรานไทยได้อีก คงเหลือภัยที่ไทยต้องระวัง คือ ญวน ลาว เขมร ทรงทำสงครามอานามสยามยุทธเป็นเวลาเกือบ ๑๕ ปี สงครามสิ้นสุดลงโดยไม่มีผู้แพ้ชนะ ทำสัญญาสงบศึกใน พ.ศ. ๒๓๙๐ นอกจากนี้ทรงจัดการบ้านเมืองบริเวณชายแดนให้สงบทั้งด้านหัวเมืองลาว หัวเมืองตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวเมืองปักษ์ใต้ ในด้านการป้องกันประเทศ โปรดให้สร้างป้อมปราการเพิ่มขึ้น หลายแห่ง ต่อเรือรบสำหรับใช้ในแม่น้ำ และเรือกำปั่นที่ออกทะเลได้จำนวนมาก โปรดให้ช่างชำนาญ การหล่อเหล็กจากจีนมาหล่อปืนใหญ่หลายกระบอก
ในช่วงปลายรัชกาล มหาอำนาจตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทด้วยการขอเจริญทางพระราชไมตรี โดยมีนโยบายเรือปืนหนุนหลัง เป็นปัญหาที่ประเทศจะต้องเผชิญต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงเห็นการณ์ไกล ดังกระแสพระราชดำรัสที่มีต่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ที่ เข้าเฝ้าในพระที่ตอนปลายรัชกาลใน พ.ศ. ๒๓๙๓ ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ว่า “การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือ เลื่อมใสไปทีเดียว” ซึ่งการณ์ต่อมาก็เป็นดังเช่นที่ทรงคาดไว้ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ใช้เงินพระราชทรัพย์จากการค้าสำเภาของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เรียกว่า เงินถุงแดง มาชดใช้ให้ฝรั่งเศส เท่ากับได้ใช้เพื่อกู้บ้าน กู้เมืองตามพระราชปณิธาน
รัชสมัยของพระองค์ได้รับยกย่องว่ามีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการพระศาสนาเป็น อย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในการนำรายได้เข้าสู่ท้อง พระคลังมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ ครั้นเมื่อเสวยราชย์แล้ว ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจ ด้วยการประหยัดรายจ่ายและเพิ่มพูนรายได้แผ่นดิน โดยการแก้ไขวิธีเก็บภาษีอากรแบบเดิม เช่น เปลี่ยนเก็บอากรค่านาจากหางข้าวมาเป็นเงิน ทรงตั้งภาษีอากรใหม่อีก ๓๘ ชนิด และทรงกำหนด ระบบเจ้าภาษีนายอากรใหม่ โดยรัฐเก็บภาษีเองเฉพาะภาษีที่สำคัญบางอย่าง นอกนั้นให้เจ้าภาษี นายอากรประมูลรับเหมาผูกขาดไป ทั้ง ๓ วิธีดังกล่าว เพิ่มพูนรายได้ให้หลวงอย่างมาก
ส่วนการค้าสำเภาที่สร้างความมั่งคั่งอย่างมาก ครั้นปลายรัชกาลเริ่มลดความสำคัญลง เพราะ ชาวตะวันตกเริ่มใช้เรือกำปั่นใบซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าเข้ามาค้าแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังจาก ที่ทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๖๙ ส่งผลให้การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น สินค้าออกที่สำคัญในขณะนั้น คือ น้ำตาลและข้าว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการผลิตจาก การเกษตรแบบพอมีพออยู่ มาเป็นการผลิตเพื่อส่งเป็นสินค้าออก กล่าวคือ ทำนาเพื่อส่งออกข้าว และ ปลูกอ้อยเพื่อเป็นวัตถุดิบในโรงงานน้ำตาล ดังจะเห็นได้จากกรณีการขุดคลองแสนแสบเพื่อประโยชน์ ในราชการสงคราม ต่อมาได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับปลูกข้าวและอ้อยแทน ซึ่งสร้าง รายได้ให้หลวงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเอาพระทัยใส่ต่อปัญหาในการทำมาหากิน ของราษฎร ดังปรากฏในพระบรมราชโองการที่มีไปถึงเจ้าเมืองต่างๆ ใน พ.ศ. ๒๓๘๖ เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งว่า “...สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จะใคร่ทรงทราบ การไร่นา น้ำฝน น้ำท่าให้ถ้วนถี่แน่นอน ให้ พระยาไชยวิชิต พระปลัด กรมการว่ากล่าวตรวจดูแลให้เจ้าเมือง กรมการ ราษฎรทำไร่นาให้ทั่วกันให้ เต็มภูมิฐาน ให้ได้ผลเม็ดข้าวในปีมะโรง ฉอศกให้จงมาก...”
ในด้านพระศาสนา ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกตามพระราชประเพณี มีพระราชศรัทธาอย่าง แรงกล้าในพระพุทธศาสนา พระองค์โปรดผู้ที่มีศรัทธาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังพระดำรัสของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ “ในรัชกาลที่ ๓ ใครมีใจศรัทธาสร้างวัดก็เป็น คนโปรด” ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและพระพุทธรูปจำนวนมาก ทรงประกอบพระราชกุศล ทุกวาระ และโดยส่วนพระองค์เองทรงบาตรทุกเช้า ในพระราชานุกิจบันทึกว่า “แต่ถึงจะเสด็จออก อยู่จนดึกเท่าไร เวลาเช้าคงเสด็จลงทรงบาตรตามเวลา ไม่ได้เคลื่อนคลาด” ทรงนิมนต์พระสงฆ์เข้ามา ถวายพระธรรมเทศนาในพระบรมมหาราชวังเป็นประจำ โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระไตรปิฎก และ ประกอบพระราชกุศลในลักษณะเช่นนี้อีกหลายประการ แม้ภาษีอากรบางอย่างที่สร้างรายได้ให้มาก แต่เป็นบาปก็โปรดเกล้าฯ ให้งดเสีย ได้แก่ ภาษีฝิ่นเพราะเป็นของชั่ว ทำลายราษฎรให้อ่อนแอ อากร ค่าน้ำและอากรค่ารักษาเกาะซึ่งเก็บจากผู้เก็บไข่จะละเม็ดอันเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรฆ่าสัตว์ มี พระราชศรัทธาบำเพ็ญพระราชกุศลให้สัตว์ทั้งหลายรอดชีวิต
นอกจากนี้ยังมีพระทัยกว้าง ในรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎและยังทรงพระผนวชอยู่ ทรงตั้ง นิกายสงฆ์ใหม่คือคณะธรรมยุติกนิกาย ก็ทรงสนับสนุน ดังจะเห็นได้จากพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหา วชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ความว่า
...ส่วนทูลกระหม่อมทรงตั้งพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เป็นการต่อสู้อย่างยิ่งมิใช่ เล่น ท่านก็มิใช่แต่ไม่ออกพระโอษฐคัดค้านอันหนึ่งอันใด กลับพระราชทานที่วัดบวรนิเวศฯ ให้เป็นที่เสด็จมาประทับอยู่เป็นที่ตั้งธรรมยุติกนิกาย และยกย่องให้เป็นราชาคณะผู้ใหญ่ จนถึงเป็นผู้สอบไล่พระปริยัติธรรมจนจวนสวรรคตทีเดียว จึงได้ขอเลิกเรื่องห่มผ้าแหวกอก แต่อย่างเดียวเท่านั้น...
ผลอีกประการหนึ่งที่เกิดจากการที่ทรงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา คือความเจริญรุ่งเรือง ทางศิลปกรรมแขนงต่างๆ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นพระราชนิยม เช่น การ เปลี่ยนแปลงส่วนหลังคาโบสถ์ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบจานชาม จีน เช่นที่วัดราชโอรสาราม จิตรกรรมก็มีลักษณะผสมผสานแบบจีน
ปลายรัชกาล กระแสพระราชดำริเกี่ยวกับผู้สืบราชสมบัติ ก็แสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยที่ทรงรัก และห่วงใยบ้านเมืองยิ่ง ทรงมอบให้เสนาบดีผู้ใหญ่ประชุมปรึกษากันว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใด ที่มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ เป็นศาสนูปถัมภก ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์ เป็น ที่ยินดีแก่มหาชน ก็ให้พร้อมใจกันยกพระองค์นั้นขึ้นเสวยราชย์ การครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่าพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎ ราชกุมาร ว่า
...มาจนชั้นปลายที่สุดจวนจะสวรรคต ใช่ว่าท่านจะไม่มีพระราชประสงค์จะให้ พระราชโอรสสืบสันตติวงศ์เมื่อใด แต่หากท่านไม่มั่นพระทัยในพระราชโอรสของท่านว่า องค์ใดอาจจะรักษาแผ่นดินได้ เพราะท่านรักแผ่นดินมากกว่าพระราชโอรส จึงได้มอบคืน แผ่นดินให้แก่เสนาบดีก็เพื่อประสงค์จะให้เลือกเชิญทูลกระหม่อม ซึ่งเห็นปรากฏอยู่แล้วว่า ทรงพระสติปัญญาสามารถจะรักษาแผ่นดินได้ขึ้นรักษาแผ่นดินสืบไป นี่ก็เป็นการแสดง ให้เห็นพระราชหฤทัยว่า ต้นพระบรมราชวงศ์ของเราย่อมรักแผ่นดินมากกว่าลูกหลานใน ส่วนตัว
แม้เมื่อทรงพระประชวรหนักก็โปรดให้ย้ายพระองค์ออกจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ ตะวันออกซึ่งประทับอยู่ไปยังองค์ตะวันตกซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป แสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยที่ทรงนึกถึงผู้อื่นและส่วนรวมก่อนพระองค์ เอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันตก เมื่อวันพุธที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมายุ ๖๓ พรรษา มีสายราชสกุลสืบเนื่องมา ๑๓ มหาสาขา คือ ศิริวงศ์ โกเมน คเนจร งอนรถ ลดาวัลย์ ชุมสาย ปิยากร อุไรพงศ์ อรณพ ลำยอง สุบรรณ สิงหรา และชมพูนุท
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ซึ่งมีความ หมายว่า “พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัยตั้งมั่นในการบำเพ็ญพระราชกิจ”
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าทับ เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) กับเจ้าจอมมารดาเรียม (ต่อมาภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระ ศรีสุลาลัย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้น พ.ศ. ๒๓๔๙ สมเด็จพระราชบิดา ทรงได้รับอุปราชาภิเษกเป็นพระมหาอุปราช จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมให้ทำพิธีโสกันต์เป็นการพิเศษ และเมื่อครบปีที่จะทรงพระผนวช ก็โปรดเกล้าฯ ให้ทรง พระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระองค์ เจ้าทับทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ใน พ.ศ. ๒๓๕๖ โปรด เกล้าฯ ให้สถาปนาทรงกรมเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมพระตำรวจว่าความฎีกา ซึ่งเป็นราชการสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคง ความมั่งคั่งของชาติ และความสงบสุขของราษฎร พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็น อย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระมิได้ขาด ทรงตั้งโรงทานเลี้ยงดูราษฎรที่อัตคัดขัดสน ณ บริเวณหน้าวังท่าพระซึ่งเป็นที่ประทับในขณะนั้น ด้านการค้าทรงแต่งสำเภาหลวงและสำเภาส่วน พระองค์ไปค้าขายที่เมืองจีน สร้างความมั่งคั่งให้ชาติอย่างยิ่ง ฐานะส่วนพระองค์ก็มั่นคงจนพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเรียกว่าเจ้าสัว จอห์น ครอว์เฟิด ทูตของผู้สำเร็จราชการอังกฤษ ที่อินเดียส่งมาเจรจาทางพระราชไมตรี แสดงความเห็นไว้ในเอกสารของจอห์น ครอว์เฟิด สรุปได้ว่า กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงว่าราชการสิทธิ์ขาดทั้งด้านการต่างประเทศและการค้า ทรงเป็นเจ้านายที่ ฉลาดหลักแหลมที่สุดในบรรดาเจ้านายและขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักสยาม ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ พม่ายกกำลังมาตั้งยุ้งฉางสะสมเสบียงอาหารเตรียมทำศึกที่ปลายด่านเมือง กาญจนบุรี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงได้รับพระบรมราชโองการให้คุมกำลังไปขัดตาทัพที่ตำบล ปากแพรก ริมแม่น้ำน้อย เป็นเวลาประมาณปีเศษ พม่าเลิกทัพกลับไปโดยไม่ต้องรบกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๖๗ โดยมิได้ตรัสมอบ การสืบพระราชสันตติวงศ์ พระสังฆราช พระราชาคณะผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดีผู้ใหญ่ ร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน เห็นควรมอบสิริราชสมบัติให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์รักษาแผ่นดินสืบไปนับเป็นอเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ มีพระปรมาภิไธยซึ่งจารึกในพระสุพรรณบัฏเหมือนรัชกาลที่ ๑ และ ๒ ต่อมาพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏถวายพระปรมาภิไธยใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมาทิวรเสฏฐมหาเจษฎาบดินทร์ สยามมินทรวโรดม บรมธรรมมิก มหาราชาธิราชบรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” พระราชกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์คือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบทอดหลักการปกครองตามพระราชประเพณีด้วยความตั้งพระทัย เป็นอย่างยิ่ง โปรดให้ขุนนาง ข้าราชการผู้ใหญ่เข้าเฝ้าถวายข้อราชการวันละ ๒ ครั้ง ดังจะเห็น พระราชจริยวัตรจากพระราชานุกิจที่บันทึกว่า เวลาเสด็จออกจวน ๔ โมง (๑๐ นาฬิกา)...อัครมหาเสนาบดีนั่งตรงช่องกลาง ระหว่างเสาที่ ๒ และที่ ๓ จตุสดมภ์เจ้าประเทศราชนั่งเหนือเสาที่ ๒ ข้าราชการนอกนั้นเฝ้า หลามลงมาจนหน้าลับแล... อีกช่วงหนึ่งเสด็จออกเวลา ...ยามหนึ่ง (๒๑ นาฬิกา) เสด็จออก...ถ้าอย่างเร็วไม่มีราชการเสด็จขึ้น ๒ ยาม (เที่ยง คืน) ถ้ามีราชการขึ้น ๘ ทุ่ม (๒ นาฬิกา) โดยมาก ถ้ามีราชการสำคัญที่คับขันเสด็จออก ทุ่มหนึ่ง (๑๙ นาฬิกา) เสวยในฉากแล้วขึ้นพระแท่น อยู่จนกระทั่งเวลาตี๑๑ (๕ นาฬิกา) จึง เสด็จขึ้น ในการปกครองบ้านเมือง โปรดให้ตั้งบ้านเป็นเมือง ๒๕ เมือง ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคอีสาน ทรง ปลูกฝังให้ราษฎรร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโดยการตราพระราชกำหนดโจรห้าเส้น ซึ่งกำหนดให้ราษฎร ช่วยกันดูแลระมัดระวังโจรผู้ร้ายภายในรัศมี ๕ เส้นจากบ้านเรือนตน นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกลอง วินิจฉัยเภรีให้ราษฎรร้องทุกข์ถวายฎีกาได้ทุกเวลา ตั้งแต่ต้นรัชกาล การศึกกับพม่าเริ่มลดน้อยลงเนื่องจากพม่ามีปัญหาภายใน และเผชิญภัย ภายนอกจากการคุมคามของอังกฤษ ในการนี้อังกฤษชักชวนไทยให้ช่วยรบกับพม่าด้วยเห็นเป็นศัตรูกัน มานาน ไทยไปช่วยอังกฤษตีได้เมืองมะริด ทวาย เมาะตะมะ และวางแผนจะขึ้นไปตีหงสาวดี ตองอู ต่อ แต่เกิดบาดหมางกันจึงยกทัพกลับ ต่อมาอังกฤษได้ชัยชนะเหนือพม่าโดยเด็ดขาด ตั้งแต่นั้น พม่า ไม่สามารถยกทัพมารุกรานไทยได้อีก คงเหลือภัยที่ไทยต้องระวัง คือ ญวน ลาว เขมร ทรงทำสงครามอานามสยามยุทธเป็นเวลาเกือบ ๑๕ ปี สงครามสิ้นสุดลงโดยไม่มีผู้แพ้ชนะ ทำสัญญาสงบศึกใน พ.ศ. ๒๓๙๐ นอกจากนี้ทรงจัดการบ้านเมืองบริเวณชายแดนให้สงบทั้งด้านหัวเมืองลาว หัวเมืองตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวเมืองปักษ์ใต้ ในด้านการป้องกันประเทศ โปรดให้สร้างป้อมปราการเพิ่มขึ้น หลายแห่ง ต่อเรือรบสำหรับใช้ในแม่น้ำ และเรือกำปั่นที่ออกทะเลได้จำนวนมาก โปรดให้ช่างชำนาญ การหล่อเหล็กจากจีนมาหล่อปืนใหญ่หลายกระบอก ในช่วงปลายรัชกาล มหาอำนาจตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทด้วยการขอเจริญทางพระราชไมตรี โดยมีนโยบายเรือปืนหนุนหลัง เป็นปัญหาที่ประเทศจะต้องเผชิญต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงเห็นการณ์ไกล ดังกระแสพระราชดำรัสที่มีต่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ที่ เข้าเฝ้าในพระที่ตอนปลายรัชกาลใน พ.ศ. ๒๓๙๓ ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ว่า “การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือ เลื่อมใสไปทีเดียว” ซึ่งการณ์ต่อมาก็เป็นดังเช่นที่ทรงคาดไว้ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ใช้เงินพระราชทรัพย์จากการค้าสำเภาของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เรียกว่า เงินถุงแดง มาชดใช้ให้ฝรั่งเศส เท่ากับได้ใช้เพื่อกู้บ้าน กู้เมืองตามพระราชปณิธาน รัชสมัยของพระองค์ได้รับยกย่องว่ามีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการพระศาสนาเป็น อย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในการนำรายได้เข้าสู่ท้อง พระคลังมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ ครั้นเมื่อเสวยราชย์แล้ว ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจ ด้วยการประหยัดรายจ่ายและเพิ่มพูนรายได้แผ่นดิน โดยการแก้ไขวิธีเก็บภาษีอากรแบบเดิม เช่น เปลี่ยนเก็บอากรค่านาจากหางข้าวมาเป็นเงิน ทรงตั้งภาษีอากรใหม่อีก ๓๘ ชนิด และทรงกำหนด ระบบเจ้าภาษีนายอากรใหม่ โดยรัฐเก็บภาษีเองเฉพาะภาษีที่สำคัญบางอย่าง นอกนั้นให้เจ้าภาษี นายอากรประมูลรับเหมาผูกขาดไป ทั้ง ๓ วิธีดังกล่าว เพิ่มพูนรายได้ให้หลวงอย่างมาก ส่วนการค้าสำเภาที่สร้างความมั่งคั่งอย่างมาก ครั้นปลายรัชกาลเริ่มลดความสำคัญลง เพราะ ชาวตะวันตกเริ่มใช้เรือกำปั่นใบซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าเข้ามาค้าแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังจาก ที่ทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๖๙ ส่งผลให้การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น สินค้าออกที่สำคัญในขณะนั้น คือ น้ำตาลและข้าว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการผลิตจาก การเกษตรแบบพอมีพออยู่ มาเป็นการผลิตเพื่อส่งเป็นสินค้าออก กล่าวคือ ทำนาเพื่อส่งออกข้าว และ ปลูกอ้อยเพื่อเป็นวัตถุดิบในโรงงานน้ำตาล ดังจะเห็นได้จากกรณีการขุดคลองแสนแสบเพื่อประโยชน์ ในราชการสงคราม ต่อมาได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับปลูกข้าวและอ้อยแทน ซึ่งสร้าง รายได้ให้หลวงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเอาพระทัยใส่ต่อปัญหาในการทำมาหากิน ของราษฎร ดังปรากฏในพระบรมราชโองการที่มีไปถึงเจ้าเมืองต่างๆ ใน พ.ศ. ๒๓๘๖ เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งว่า “...สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จะใคร่ทรงทราบ การไร่นา น้ำฝน น้ำท่าให้ถ้วนถี่แน่นอน ให้ พระยาไชยวิชิต พระปลัด กรมการว่ากล่าวตรวจดูแลให้เจ้าเมือง กรมการ ราษฎรทำไร่นาให้ทั่วกันให้ เต็มภูมิฐาน ให้ได้ผลเม็ดข้าวในปีมะโรง ฉอศกให้จงมาก...” ในด้านพระศาสนา ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกตามพระราชประเพณี มีพระราชศรัทธาอย่าง แรงกล้าในพระพุทธศาสนา พระองค์โปรดผู้ที่มีศรัทธาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังพระดำรัสของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ “ในรัชกาลที่ ๓ ใครมีใจศรัทธาสร้างวัดก็เป็น คนโปรด” ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและพระพุทธรูปจำนวนมาก ทรงประกอบพระราชกุศล ทุกวาระ และโดยส่วนพระองค์เองทรงบาตรทุกเช้า ในพระราชานุกิจบันทึกว่า “แต่ถึงจะเสด็จออก อยู่จนดึกเท่าไร เวลาเช้าคงเสด็จลงทรงบาตรตามเวลา ไม่ได้เคลื่อนคลาด” ทรงนิมนต์พระสงฆ์เข้ามา ถวายพระธรรมเทศนาในพระบรมมหาราชวังเป็นประจำ โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระไตรปิฎก และ ประกอบพระราชกุศลในลักษณะเช่นนี้อีกหลายประการ แม้ภาษีอากรบางอย่างที่สร้างรายได้ให้มาก แต่เป็นบาปก็โปรดเกล้าฯ ให้งดเสีย ได้แก่ ภาษีฝิ่นเพราะเป็นของชั่ว ทำลายราษฎรให้อ่อนแอ อากร ค่าน้ำและอากรค่ารักษาเกาะซึ่งเก็บจากผู้เก็บไข่จะละเม็ดอันเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรฆ่าสัตว์ มี พระราชศรัทธาบำเพ็ญพระราชกุศลให้สัตว์ทั้งหลายรอดชีวิต นอกจากนี้ยังมีพระทัยกว้าง ในรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎและยังทรงพระผนวชอยู่ ทรงตั้ง นิกายสงฆ์ใหม่คือคณะธรรมยุติกนิกาย ก็ทรงสนับสนุน ดังจะเห็นได้จากพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหา วชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ความว่า ...ส่วนทูลกระหม่อมทรงตั้งพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เป็นการต่อสู้อย่างยิ่งมิใช่ เล่น ท่านก็มิใช่แต่ไม่ออกพระโอษฐคัดค้านอันหนึ่งอันใด กลับพระราชทานที่วัดบวรนิเวศฯ ให้เป็นที่เสด็จมาประทับอยู่เป็นที่ตั้งธรรมยุติกนิกาย และยกย่องให้เป็นราชาคณะผู้ใหญ่ จนถึงเป็นผู้สอบไล่พระปริยัติธรรมจนจวนสวรรคตทีเดียว จึงได้ขอเลิกเรื่องห่มผ้าแหวกอก แต่อย่างเดียวเท่านั้น... ผลอีกประการหนึ่งที่เกิดจากการที่ทรงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา คือความเจริญรุ่งเรือง ทางศิลปกรรมแขนงต่างๆ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นพระราชนิยม เช่น การ เปลี่ยนแปลงส่วนหลังคาโบสถ์ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบจานชาม จีน เช่นที่วัดราชโอรสาราม จิตรกรรมก็มีลักษณะผสมผสานแบบจีน ปลายรัชกาล กระแสพระราชดำริเกี่ยวกับผู้สืบราชสมบัติ ก็แสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยที่ทรงรัก และห่วงใยบ้านเมืองยิ่ง ทรงมอบให้เสนาบดีผู้ใหญ่ประชุมปรึกษากันว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใด ที่มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ เป็นศาสนูปถัมภก ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์ เป็น ที่ยินดีแก่มหาชน ก็ให้พร้อมใจกันยกพระองค์นั้นขึ้นเสวยราชย์ การครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่าพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎ ราชกุมาร ว่า ...มาจนชั้นปลายที่สุดจวนจะสวรรคต ใช่ว่าท่านจะไม่มีพระราชประสงค์จะให้ พระราชโอรสสืบสันตติวงศ์เมื่อใด แต่หากท่านไม่มั่นพระทัยในพระราชโอรสของท่านว่า องค์ใดอาจจะรักษาแผ่นดินได้ เพราะท่านรักแผ่นดินมากกว่าพระราชโอรส จึงได้มอบคืน แผ่นดินให้แก่เสนาบดีก็เพื่อประสงค์จะให้เลือกเชิญทูลกระหม่อม ซึ่งเห็นปรากฏอยู่แล้วว่า ทรงพระสติปัญญาสามารถจะรักษาแผ่นดินได้ขึ้นรักษาแผ่นดินสืบไป นี่ก็เป็นการแสดง ให้เห็นพระราชหฤทัยว่า ต้นพระบรมราชวงศ์ของเราย่อมรักแผ่นดินมากกว่าลูกหลานใน ส่วนตัว แม้เมื่อทรงพระประชวรหนักก็โปรดให้ย้ายพระองค์ออกจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ ตะวันออกซึ่งประทับอยู่ไปยังองค์ตะวันตกซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป แสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยที่ทรงนึกถึงผู้อื่นและส่วนรวมก่อนพระองค์ เอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันตก เมื่อวันพุธที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมายุ ๖๓ พรรษา มีสายราชสกุลสืบเนื่องมา ๑๓ มหาสาขา คือ ศิริวงศ์ โกเมน คเนจร งอนรถ ลดาวัลย์ ชุมสาย ปิยากร อุไรพงศ์ อรณพ ลำยอง สุบรรณ สิงหรา และชมพูนุท ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ซึ่งมีความ หมายว่า “พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัยตั้งมั่นในการบำเพ็ญพระราชกิจ” | ||