พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๒๘
สมเด็จพระเพทราชา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรง ครองราชย์เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ หลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต อย่างไร ก็ตามได้ทรงยึดอำนาจทางการเมืองไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคมขณะเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ด้วยการเข้ายึดพระราชวังที่เมืองลพบุรีซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชาทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ด้วย เหตุที่ทรงเป็นชาวบ้านพลูหลวงในสุพรรณบุรีตามที่ระบุไว้ในพระราชพงศาวดาร
ก่อนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเพทราชาทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระคชบาล ควบคุมกอง ช้างหลวง มีกำลังพลในสังกัดจำนวนหลายพัน นอกจากนั้นยังทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์ ในฐานะที่พระมารดาเป็นพระนม และพระขนิษฐาเป็นพระสนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
การที่สมเด็จพระเพทราชาประสบความสำเร็จในการเข้ายึดพระราชวังที่ลพบุรีก็ด้วยอาศัยกำลัง พลที่มี โดยได้หลวงสรศักดิ์ผู้เป็นบุตรชายเป็นกำลังสำคัญ และการสนับสนุนจากขุนนางสยามหลายราย กลุ่มพระสงฆ์โดยเฉพาะในเมืองลพบุรี ด้วยสาเหตุที่ไม่พอใจในอำนาจอิทธิพลของเจ้าพระยา วิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และกลุ่มบาทหลวงชาวฝรั่งเศส รวมทั้งกองทหารของ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ได้เข้ามาประจำการ ณ ป้อมที่เมืองบางกอก
เมื่อสมเด็จพระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ยึดอำนาจได้สำเร็จแล้ว ก็ได้สำเร็จโทษเจ้าฟ้า พระอนุชาทั้งสองพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระปีย์ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และจัดการประหารชีวิตเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ ชาวฝรั่งเศสในเมืองไทย ส่วนใหญ่ถูกจับขังหมด ส่วนที่เป็นทหารประจำการอยู่ที่บางกอกก็ถูกกองทัพของพระเพทราชาล้อมอยู่ จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๒๓๑ จึงทำสัญญากับฝ่ายสยามเพื่อได้ออกไปนอกประเทศ
แม้ว่าสมเด็จพระเพทราชาหรือที่ขนานพระนามว่า “พระมหาบุรุษ” จะเป็นผู้ที่ขับไล่ชาว ฝรั่งเศสออกไปจากเมืองไทยได้สำเร็จในช่วงที่การเมืองกำลังล่อแหลม แต่การสถาปนาราชวงศ์ใหม่ใน กรุงศรีอยุธยาก็เป็นสาเหตุให้เกิดการกบฏในรัชกาลของพระองค์หลายครั้ง เช่น กบฏธรรมเถียร โดยมี พระสงฆ์ผู้อ้างตนเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนำสมัครพรรคพวกจากบริเวณ นครนายกเข้ามาประชิดกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ถูกปราบปรามไปได้ นอกจากนี้ยังเกิดกบฏขึ้นที่นครราชสีมา ๒ ครั้ง ครั้งแรกนำโดยพระยายมราช (สังข์) และครั้งที่ ๒ โดย “ผู้วิเศษ” ชื่อบุญกว้าง ส่วน “กบฏ” ทางใต้นั้น หลักฐานตะวันตกระบุว่าเป็นการแข็งเมืองของหัวเมืองประเทศราชปัตตานี ในขณะที่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า พระยายมราช (สังข์) ย้ายการต่อสู้กับราชสำนักจากเมืองนครราชสีมาไปสู่นครศรีธรรมราช อย่างไรก็ตามสมเด็จพระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์ ซึ่งดำรง ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรืออุปราช ก็สามารถปราบกบฏเหล่านี้ได้สำเร็จในที่สุด
รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเคยถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นการ “โดดเดี่ยวตนเอง” ของ ราชอาณาจักรสยาม ภายหลังยุคที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาจนถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หากพิจารณาจาก หลักฐานชั้นต้นแล้ว จะเห็นว่าในสมัยสมเด็จพระเพทราชา สยามมิได้ปิดประเทศแต่ประการใด แม้ว่า สมเด็จพระเพทราชาจะทรงระวังและเลือกที่จะไม่ติดต่อกับฝรั่งเศสและอังกฤษในระดับที่เป็นทางการ อีกต่อไป แต่พระองค์ก็ทรงตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า รายได้ของรัฐนั้นส่วนหนึ่งมาจากการค้าขายกับ ต่างชาติ การส่งออกดีบุก หนังสัตว์ หนังปลากระเบน ไม้ฝาง และสินค้าของป่าอื่น ๆ ในแต่ละปีนำ รายได้มหาศาลมาสู่ท้องพระคลัง ในทางกลับกัน การนำเข้าเงิน ทองแดง ผ้าฝ้ายอินเดีย ผ้าไหม แพรจีน และสินค้าหายากหรือฟุ่มเฟือยอีกหลายรายการก็ทำให้ตลาดในสยามคึกคักอยู่เป็นประจำ และทำให้ราชสำนักได้บริโภคหรือซื้อสิ่งของเหล่านี้ตามที่ต้องการ สมเด็จพระเพทราชาจึงมิได้ทรง ละเลยการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศแต่ประการใด ในปีแรกที่ได้ขึ้นครองราชย์ก็ได้ทรงลงพระนาม ในสนธิสัญญาฉบับใหม่กับบริษัท V.O.C. ของฮอลันดา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะทรงเห็นว่า หากสยามมี สัญญาที่แนบแน่นกับฮอลันดา อาจทำให้ฝรั่งเศสไม่กล้ายกทัพเข้ามาโจมตี อย่างไรก็ตามการค้า ระหว่างราชสำนักสยามกับฮอลันดาในสมัยนี้มิได้เฟื่องฟูเหมือนดังรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีความขัดแย้งกันบ้าง เช่น ในเรื่องการตีราคาผ้าที่บริษัท V.O.C. นำเข้ามาขายให้ราชสำนัก สรุปได้ว่า ทั้งทางไทยและทางฮอลันดาต่างก็ผิดหวังซึ่งกันและกันในแง่การค้าขาย
พ่อค้าอังกฤษเอกชน (country traders) ก็ยังคงเข้ามาค้าขายในเมืองไทย แม้ว่าบริษัทอินเดีย ตะวันออกของอังกฤษจะเลิกสนใจเมืองไทยแล้ว ส่วนนักการทูตและพ่อค้าฝรั่งเศสนั้นหมดบทบาทลงไป อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเพทราชาทรงสั่งปล่อยตัวบาทหลวงฝรั่งเศสคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris) ออกจากคุก พร้อมกับทรงอนุญาตให้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และสอนหนังสือตามปกติ
ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา การค้าของไทยกับจีนและญี่ปุ่นก็ยังคงมีอยู่ การค้าเอกชนของ จีนกับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่งเรืองขึ้น ภายหลังจากที่ราชวงศ์ชิงยกเลิกกฎห้ามมิให้ชาวจีน เดินเรือออกนอกประเทศ พ่อค้าจากฟูเจี้ยนและกวางตุ้งจึงหลั่งไหลเข้ามาทำการค้าในทะเลแถบนี้ ทำให้มีชาวจีนอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรสยามมากขึ้น และอิทธิพลของขุนนางเชื้อสายจีนใน ราชสำนักสยามก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนทางด้านญี่ปุ่นนั้น แม้ว่าจะมีกฎระเบียบเคร่งครัดห้ามมิให้ เรือต่างชาติเข้าไปค้าขายได้ ยกเว้นเรือจีนกับเรือฮอลันดา สมเด็จพระเพทราชาทรงส่งเรือสำเภาหลวง ไปค้าขายที่เมืองท่านางาซากิหลายลำได้เพราะต้นหนและลูกเรือที่เป็นคนจีนเกือบทั้งสิ้น เรือสำเภา จากอยุธยาจึงสามารถเข้าไปค้าขายได้ เพราะทางการญี่ปุ่นยอมอนุโลมว่าเรือจากสยามนั้นถือว่าเป็น “เรือจีน” ประเภทหนึ่ง
สมเด็จพระเพทราชากับพระมหาอุปราชทรงแต่งเรือส่งไปค้าขายในอินเดียเช่นกัน แต่ในช่วงนี้ การสงครามและปัญหาการค้าของอินเดียเองทำให้การค้าระหว่างสยามกับอินเดียลดน้อยลง
ความสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้านไม่ค่อยมีปัญหา เมื่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง ทรงขอกองทัพไทยไปช่วยรบกับเมืองหลวงพระบาง สมเด็จพระเพทราชามี พระบรมราชโองการให้พระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพนำกองกำลังของสยามไปช่วยเวียงจันทน์ เมื่อ หลวงพระบางรู้ว่ามีกองทัพไทยมาถึงเวียงจันทน์แล้วก็ยอม “ประโนมน้อม” ต่อกรุงเวียงจันทน์ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตจึงส่งพระราชบุตรีมาถวายถึงกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระเพทราชาก็ได้ พระราชทานต่อให้แก่พระมหาอุปราชตามที่ทรงขอ
สมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๔๖ ถึงแม้จะมีพระราชโอรสจากกรมหลวง โยธาเทพพระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ผู้ที่ได้สืบราชสมบัติต่อไป ได้แก่ พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ขุนหลวงสรศักดิ์) ทรงพระนามว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือ พระเจ้าเสือ
สมเด็จพระเพทราชา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรง ครองราชย์เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ หลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต อย่างไร ก็ตามได้ทรงยึดอำนาจทางการเมืองไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคมขณะเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ด้วยการเข้ายึดพระราชวังที่เมืองลพบุรีซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชาทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ด้วย เหตุที่ทรงเป็นชาวบ้านพลูหลวงในสุพรรณบุรีตามที่ระบุไว้ในพระราชพงศาวดาร
ก่อนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเพทราชาทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระคชบาล ควบคุมกอง ช้างหลวง มีกำลังพลในสังกัดจำนวนหลายพัน นอกจากนั้นยังทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์ ในฐานะที่พระมารดาเป็นพระนม และพระขนิษฐาเป็นพระสนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การที่สมเด็จพระเพทราชาประสบความสำเร็จในการเข้ายึดพระราชวังที่ลพบุรีก็ด้วยอาศัยกำลัง พลที่มี โดยได้หลวงสรศักดิ์ผู้เป็นบุตรชายเป็นกำลังสำคัญ และการสนับสนุนจากขุนนางสยามหลายราย กลุ่มพระสงฆ์โดยเฉพาะในเมืองลพบุรี ด้วยสาเหตุที่ไม่พอใจในอำนาจอิทธิพลของเจ้าพระยา วิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และกลุ่มบาทหลวงชาวฝรั่งเศส รวมทั้งกองทหารของ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ได้เข้ามาประจำการ ณ ป้อมที่เมืองบางกอก เมื่อสมเด็จพระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ยึดอำนาจได้สำเร็จแล้ว ก็ได้สำเร็จโทษเจ้าฟ้า พระอนุชาทั้งสองพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระปีย์ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และจัดการประหารชีวิตเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ ชาวฝรั่งเศสในเมืองไทย ส่วนใหญ่ถูกจับขังหมด ส่วนที่เป็นทหารประจำการอยู่ที่บางกอกก็ถูกกองทัพของพระเพทราชาล้อมอยู่ จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๒๓๑ จึงทำสัญญากับฝ่ายสยามเพื่อได้ออกไปนอกประเทศ แม้ว่าสมเด็จพระเพทราชาหรือที่ขนานพระนามว่า “พระมหาบุรุษ” จะเป็นผู้ที่ขับไล่ชาว ฝรั่งเศสออกไปจากเมืองไทยได้สำเร็จในช่วงที่การเมืองกำลังล่อแหลม แต่การสถาปนาราชวงศ์ใหม่ใน กรุงศรีอยุธยาก็เป็นสาเหตุให้เกิดการกบฏในรัชกาลของพระองค์หลายครั้ง เช่น กบฏธรรมเถียร โดยมี พระสงฆ์ผู้อ้างตนเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนำสมัครพรรคพวกจากบริเวณ นครนายกเข้ามาประชิดกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ถูกปราบปรามไปได้ นอกจากนี้ยังเกิดกบฏขึ้นที่นครราชสีมา ๒ ครั้ง ครั้งแรกนำโดยพระยายมราช (สังข์) และครั้งที่ ๒ โดย “ผู้วิเศษ” ชื่อบุญกว้าง ส่วน “กบฏ” ทางใต้นั้น หลักฐานตะวันตกระบุว่าเป็นการแข็งเมืองของหัวเมืองประเทศราชปัตตานี ในขณะที่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า พระยายมราช (สังข์) ย้ายการต่อสู้กับราชสำนักจากเมืองนครราชสีมาไปสู่นครศรีธรรมราช อย่างไรก็ตามสมเด็จพระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์ ซึ่งดำรง ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรืออุปราช ก็สามารถปราบกบฏเหล่านี้ได้สำเร็จในที่สุด รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเคยถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นการ “โดดเดี่ยวตนเอง” ของ ราชอาณาจักรสยาม ภายหลังยุคที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาจนถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หากพิจารณาจาก หลักฐานชั้นต้นแล้ว จะเห็นว่าในสมัยสมเด็จพระเพทราชา สยามมิได้ปิดประเทศแต่ประการใด แม้ว่า สมเด็จพระเพทราชาจะทรงระวังและเลือกที่จะไม่ติดต่อกับฝรั่งเศสและอังกฤษในระดับที่เป็นทางการ อีกต่อไป แต่พระองค์ก็ทรงตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า รายได้ของรัฐนั้นส่วนหนึ่งมาจากการค้าขายกับ ต่างชาติ การส่งออกดีบุก หนังสัตว์ หนังปลากระเบน ไม้ฝาง และสินค้าของป่าอื่น ๆ ในแต่ละปีนำ รายได้มหาศาลมาสู่ท้องพระคลัง ในทางกลับกัน การนำเข้าเงิน ทองแดง ผ้าฝ้ายอินเดีย ผ้าไหม แพรจีน และสินค้าหายากหรือฟุ่มเฟือยอีกหลายรายการก็ทำให้ตลาดในสยามคึกคักอยู่เป็นประจำ และทำให้ราชสำนักได้บริโภคหรือซื้อสิ่งของเหล่านี้ตามที่ต้องการ สมเด็จพระเพทราชาจึงมิได้ทรง ละเลยการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศแต่ประการใด ในปีแรกที่ได้ขึ้นครองราชย์ก็ได้ทรงลงพระนาม ในสนธิสัญญาฉบับใหม่กับบริษัท V.O.C. ของฮอลันดา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะทรงเห็นว่า หากสยามมี สัญญาที่แนบแน่นกับฮอลันดา อาจทำให้ฝรั่งเศสไม่กล้ายกทัพเข้ามาโจมตี อย่างไรก็ตามการค้า ระหว่างราชสำนักสยามกับฮอลันดาในสมัยนี้มิได้เฟื่องฟูเหมือนดังรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีความขัดแย้งกันบ้าง เช่น ในเรื่องการตีราคาผ้าที่บริษัท V.O.C. นำเข้ามาขายให้ราชสำนัก สรุปได้ว่า ทั้งทางไทยและทางฮอลันดาต่างก็ผิดหวังซึ่งกันและกันในแง่การค้าขาย พ่อค้าอังกฤษเอกชน (country traders) ก็ยังคงเข้ามาค้าขายในเมืองไทย แม้ว่าบริษัทอินเดีย ตะวันออกของอังกฤษจะเลิกสนใจเมืองไทยแล้ว ส่วนนักการทูตและพ่อค้าฝรั่งเศสนั้นหมดบทบาทลงไป อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเพทราชาทรงสั่งปล่อยตัวบาทหลวงฝรั่งเศสคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris) ออกจากคุก พร้อมกับทรงอนุญาตให้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และสอนหนังสือตามปกติ ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา การค้าของไทยกับจีนและญี่ปุ่นก็ยังคงมีอยู่ การค้าเอกชนของ จีนกับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่งเรืองขึ้น ภายหลังจากที่ราชวงศ์ชิงยกเลิกกฎห้ามมิให้ชาวจีน เดินเรือออกนอกประเทศ พ่อค้าจากฟูเจี้ยนและกวางตุ้งจึงหลั่งไหลเข้ามาทำการค้าในทะเลแถบนี้ ทำให้มีชาวจีนอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรสยามมากขึ้น และอิทธิพลของขุนนางเชื้อสายจีนใน ราชสำนักสยามก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนทางด้านญี่ปุ่นนั้น แม้ว่าจะมีกฎระเบียบเคร่งครัดห้ามมิให้ เรือต่างชาติเข้าไปค้าขายได้ ยกเว้นเรือจีนกับเรือฮอลันดา สมเด็จพระเพทราชาทรงส่งเรือสำเภาหลวง ไปค้าขายที่เมืองท่านางาซากิหลายลำได้เพราะต้นหนและลูกเรือที่เป็นคนจีนเกือบทั้งสิ้น เรือสำเภา จากอยุธยาจึงสามารถเข้าไปค้าขายได้ เพราะทางการญี่ปุ่นยอมอนุโลมว่าเรือจากสยามนั้นถือว่าเป็น “เรือจีน” ประเภทหนึ่ง สมเด็จพระเพทราชากับพระมหาอุปราชทรงแต่งเรือส่งไปค้าขายในอินเดียเช่นกัน แต่ในช่วงนี้ การสงครามและปัญหาการค้าของอินเดียเองทำให้การค้าระหว่างสยามกับอินเดียลดน้อยลง ความสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้านไม่ค่อยมีปัญหา เมื่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง ทรงขอกองทัพไทยไปช่วยรบกับเมืองหลวงพระบาง สมเด็จพระเพทราชามี พระบรมราชโองการให้พระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพนำกองกำลังของสยามไปช่วยเวียงจันทน์ เมื่อ หลวงพระบางรู้ว่ามีกองทัพไทยมาถึงเวียงจันทน์แล้วก็ยอม “ประโนมน้อม” ต่อกรุงเวียงจันทน์ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตจึงส่งพระราชบุตรีมาถวายถึงกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระเพทราชาก็ได้ พระราชทานต่อให้แก่พระมหาอุปราชตามที่ทรงขอ สมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๔๖ ถึงแม้จะมีพระราชโอรสจากกรมหลวง โยธาเทพพระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ผู้ที่ได้สืบราชสมบัติต่อไป ได้แก่ พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ขุนหลวงสรศักดิ์) ทรงพระนามว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือ พระเจ้าเสือ | ||