พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๒

พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๒


สมเด็จพระราเมศวร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็น พระราชโอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. ๑๘๘๒

พระราชพงศาวดารระบุว่าได้ทรงครองราชย์๒ ครั้ง ครั้งแรกมีพระชนมายุได้๓๐ พรรษา คือ เมื่อพระราชบิดาคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ ทรงขึ้นครองราชย์โดย ตำแหน่งองค์รัชทายาท ขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช๑ นั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ โปรดให้ทรง ครองเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองสำคัญของอยุธยาที่มีความเกี่ยวพันทางการเมืองอย่างมาก แต่ทรง ครองราชย์ครั้งที่ ๑ ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น กองทัพของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกมาจากสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรจึงต้องทรงมอบพระนครศรีอยุธยาให้แก่สมเด็จพระ บรมราชาธิราชที่ ๑ แล้วเสด็จกลับไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม

ใน พ.ศ. ๑๙๓๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ สวรรคต พระเจ้าทองลันโอรสทรงขึ้นเป็น กษัตริย์พระองค์ใหม่ได้๗ วัน สมเด็จพระราเมศวรจึงยกพลจากเมืองลพบุรีเข้ากรุงศรีอยุธยา จับ พระเจ้าทองลันสำเร็จโทษ แล้วขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ ๒ ขณะพระชนมายุได้ ๔๙ พรรษา

เมื่อสมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่าโปรดให้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ หลังจาก ได้ชัยชนะแล้วได้เสด็จกลับลงมาแวะนมัสการพระพุทธชินราชที่เมืองพิษณุโลก ทรงเปลื้องเครื่องต้น ออกถวายเป็นพุทธบูชา สมโภช ๗ วันก่อนเสด็จกลับลงมาพระนคร

นอกจากสงครามที่เมืองเหนือแล้ว สมเด็จพระราเมศวรได้ทรงยกทัพไปปราบข้าศึกแถบหัวเมือง ตะวันออกคือที่ชลบุรีอีกด้วย ดังที่ปรากฏความว่าเมื่อพระยากัมพูชายกทัพลงมาถึงชลบุรีกวาดต้อน ชายหญิงในเมืองชลบุรีและจันทบูรณ์ประมาณ ๖-๗ พันคนไปเมืองกัมพูชา สมเด็จพระราเมศวรโปรด ให้พระยาชัยณรงค์ยกทัพไป ทั้งสองฝ่ายรบพุ่งกันด้วยความสามารถ กองทัพของสมเด็จพระราเมศวร สามารถตีกัมพูชาได้ พระยากัมพูชาหลบหนีไป จับได้แต่บุตรชายของพระยากัมพูชาเท่านั้น

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตเพิ่มเติมข้อมูลไว้ว่าสมเด็จพระราเมศวรต้องประทับอยู่ที่ ลพบุรีถึง ๑๘ ปีซึ่งไม่ตรงกับในเอกสารฝ่ายไทย แต่ให้รายละเอียดว่าขณะที่ทรงขึ้นครองราชย์นั้น มีพระชนมายุได้ ๕๑ พรรษา ครองราชย์อยู่ ๖ ปี

ในด้านการพระศาสนานั้น ปรากฏความในพระราชพงศาวดารว่าเสด็จออกทรงศีล ณ พระที่นั่ง มังคลาภิเษก ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จเป็นปาฏิหาริย์จึงโปรดให้เจ้าพนักงานกรุย หมายปักไว้เป็นเครื่องหมาย แล้วทรงก่อพระมหาธาตุสูง ๑๗ วา ยอด ๓ วา ณ บริเวณนั้น โดย พระราชทานชื่อว่าวัดมหาธาตุ

สมเด็จพระราเมศวรสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๘ ขณะพระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา ทรงครองราชย์ ได้ ๗ ปี

นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

คลิกอ่านจากไฟล์ pdf »



ตำแหน่ง

Lek Thi 206 Soi 8 ตำบล เนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก 65190 ประเทศไทย


คำอธิบายการค้นหา

Num ... 2627615 blogger Blog for save Make safe editor Sight seeing view blog ID ... Phasa Thai รายละเอียดคำศัพท์ ... 

☆ เซฟบล็อก! ☆