พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๔

พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๔


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าบุญรอด พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระ ศรีสุดารักษ์พระภคินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗

เมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ ๙ พรรษา ทรงเข้าสู่พระราชพิธีลงสรง ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน กรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ แล้วเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ขัตติยราชกุมาร” ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชนมายุ ๒๑ พรรษา ทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุตามราชประเพณี ครั้นทรงพระผนวชได้ ๑๕  วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถก็เสด็จสวรรคต โดยไม่ได้มอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสพระองค์ใด พระองค์หนึ่ง พระบรมวงศานุวงศ์ได้พร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทับ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ ซึ่งทรงว่าการพระคลังและการต่างประเทศต่าง พระเนตรพระกรรณมาแต่เดิม ให้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

ในระหว่างทรงพระผนวช สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎพระวชิรญาณมหาเถระทรง มีโอกาสเสด็จออกธุดงค์ไปยังปูชนียสถานต่างๆตามหัวเมือง ทำให้ทรงรู้จักผืนแผ่นดินไทยและสภาพ ความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างแท้จริง และโอกาสสำคัญอีกประการคือได้ทรงศึกษาวิชาภาษา ต่างประเทศ ทำให้มีพระปรีชาญาณรู้เท่าทันสภาพเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี อันมีผลทำให้ พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทันสมัยในเวลาต่อมา ทรงนำสยามผ่านพ้นจากภัยของลัทธิล่าอาณานิคม ของชาติมหาอำนาจตะวันตกมาได

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต โดยทรงมอบให้พระบรมวงศานุวงศ์ และคณะเสนาบดีประชุมสรรหาเจ้านายที่เห็นสมควรขึ้นดำรงสิริราชสมบัติสืบไป ที่ประชุมจึงมีมติ เป็นเอกฉันท์ให้อัญเชิญพระวชิรญาณมหาเถระให้ทรงลาสิกขาและขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือการรักษาเอกราช ของชาติ เพราะในรัชสมัยของพระองค์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นตรงกับสมัยลัทธิจักรวรรดินิยมที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแข่งขันแสวงหา อาณานิคม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรง ตระหนักว่าถึงเวลาที่สยามต้องยอมเปิดสัมพันธภาพกับประเทศตะวันตก โดยทำสนธิสัญญาในลักษณะ ใหม่ เพราะประเทศเพื่อนบ้านก็เริ่มถูกอังกฤษและฝรั่งเศสเข้ายึดครองบ้างแล้ว ดังนั้นเมื่อสมเด็จ พระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษทรงแต่งตั้งเซอร์จอห์น เบาว์ริงเป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม เชิญ พระราชสาส์นมาเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยามใน พ.ศ. ๒๓๙๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงต้อนรับอย่างสมเกียรติและยังได้โปรดเกล้าฯ ให้เซอร์จอห์น เบาว์ริงเข้าเฝ้า เพื่อเจรจา กันเป็นการภายในแบบมิตรภาพก่อน ซึ่งเป็นที่ประทับใจของอัครราชทูตอังกฤษมาก การเจรจาเป็น ทางการใช้เวลาไม่นานก็ประสบความสำเร็จ อังกฤษและสยามได้ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ต่อกันในวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘ อันเป็นที่รู้จักกันในนามว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานในการยอมรับความเจริญก้าวหน้าแบบ อารยประเทศมาใช้ในสยาม เช่น การรับชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการด้วยการให้เป็นล่าม เป็น ผู้แปลตำรา เป็นครูหัดทหารบกและโปลิศซึ่งโปรดให้จัดตั้งขึ้นตามแบบยุโรป เป็นนายเรือและนายช่าง กลไฟ เรือหลวง และเป็นผู้ทำการต่างๆอีกหลายอย่าง ทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งแบ่งออกเป็น ๓ กอง คือ กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป กองทหารหน้าเป็นกองกำลังสำคัญในการรักษาประเทศ และกอง ปืนใหญ่อาสาญวน ส่วนการทหารเรือ ทรงจัดตั้งกรมเรือกลไฟ มีการต่อเรือกลไฟขึ้นใช้หลายลำ ส่วน การฝึกหัดโปลิศนั้นถือว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้สถาปนากิจการตำรวจไทยขึ้นเป็นพระองค์แรก

นอกจากกิจการดังกล่าวยังมีงานสมัยใหม่เกิดขึ้นอีกเป็นอันมาก เช่น การสำรวจทำแผนที่ ชายแดนพระราชอาณาเขต การตั้งโรงพิมพ์อักษรพิมพการในพระบรมมหาราชวังเพื่อพิมพ์หนังสือ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎหมาย คำสั่ง และข่าวราชการต่างๆ ให้ข้าราชการและประชาชน รับทราบเป็นหลักฐาน สร้างโรงกษาปณ์เพื่อใช้ทำเงินเหรียญแทนเงินพดด้วง ใช้อัฐทองแดงและดีบุก แทนเบี้ยหอย จัดตั้งศุลกสถาน สถานที่เก็บภาษีอากร มีถนนอย่างใหม่สำหรับใช้รถม้า เกิดตึกแถวและ อาคารแบบฝรั่ง โรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร ฯลฯ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรมได้ อย่างบริบูรณ์ พระองค์สนพระราชหฤทัยทุกข์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ ตลอดเวลา ๒๗ ปีที่ทรง พระผนวชเป็นพระภิกษุได้ทรงรับทราบสภาพความเป็นอยู่และทุกข์สุขของประชาชนเป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อเสวยราชสมบัติแล้ว ทรงยกเลิกประเพณีที่ให้ทหารในขบวนเสด็จพระราชดำเนินยิงธนูผู้ที่มาแอบดู ระหว่างเสด็จประพาสทางชลมารคและสถลมารค เลิกธรรมเนียมบังคับให้บ้านเรือนสองข้างทางเสด็จ พระราชดำเนินปิดประตูหน้าต่างอย่างเช่นเมืองจีน ตรงกันข้ามกลับโปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าใกล้ชิด และ มักจะพระราชทานเงินหรือสิ่งของแก่ประชาชนด้วยพระองค์อยู่เสมอ ทั้งยังโปรดเสด็จประพาสหัวเมือง ต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชน และสร้างพระราชฐานที่ประทับแรมไว้ในหัวเมืองหลายแห่ง

นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เอาพระทัยใส่ ต่อทุกข์ของประชาชน เช่น มีพระราชดำรัสห้ามการทิ้งสัตว์ตายลงในน้ำ ทรงแนะนำการใช้เตาไฟใน ครัวแบบใหม่เพื่อป้องกันอัคคีภัย ทรงตักเตือนเรื่องการปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันโจร ผู้ร้ายจะมาตัดช่องย่องเบา เมื่อเกิดดาวหางปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๓ ก็ทรงมีประกาศอธิบายถึงธรรมชาติ ของสุริยจักรวาล ชี้แจงมิให้ประชาชนตื่นกลัว และในเมื่อจิตใจของประชาชนยังหวั่นเกรงว่าจะเกิด เหตุร้ายต่างๆก็ทรงแนะนำอุบายป้องกัน เช่น กลัวว่าปีนั้นจะเกิดความแล้งมีทุพภิกขภัยก็ให้รีบปลูก ข้าวเบาแต่ต้นฤดู กลัวจะเกิดไข้ทรพิษระบาดก็แนะนำให้ไปปลูกฝีเสียที่โรงหมอ และให้ระวังรักษา ความสะอาดของบ้านเรือน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดพลานามัยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ ในส่วนของ กฎหมายต่างๆ ทรงเป็นนักนิติศาสตร์สำคัญพระองค์หนึ่งของชาติไทย เพราะจำนวนประกาศและ กฎหมายต่างๆที่ตราออกใช้บังคับในรัชสมัย นับได้เกือบ ๕๐๐ ฉบับ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นนักปราชญ์ในพระพุทธศาสนา และได้ทรงปฏิรูปพระศาสนาให้ทันต่อการแผ่เข้ามาของศาสนาชาวตะวันตก เนื่องมาจากการ เผยแผ่ของศาสนาคริสต์เข้ามาสู่สยามโดยบรรดาบาทหลวงซึ่งเป็นนักบวชนิกายโรมันคาทอลิก และ มิชชันนารีซึ่งเป็นผู้เผยแผ่ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ และ ทางอักษรศาสตร์ เข้ามาเผยแพร่โดยอาศัยเหตุผลในการชี้แจงประชาชนให้เข้าใจตามหลักเหตุผล และข้อเท็จจริง ทั้งยังมีเครื่องมือสมัยใหม่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ เช่น การพิมพ์พระคัมภีร์ออก แจกจ่าย การใช้บทบาททางการแพทย์และสาธารณสุขออกสร้างความนิยม เป็นต้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นดำรงสิริราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้ทรง ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ทรงก่อตั้งคณะธรรมยุติกนิกาย ทรงบูรณะและ ปฏิสังขรณ์พระอารามที่สร้างค้างในรัชกาลก่อนให้ลุล่วงเรียบร้อย ที่สำคัญยิ่งคือได้ทรงปฏิสังขรณ์ พระปฐมเจดีย์เป็นงานใหญ

พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากที่ปรากฏในประเทศแล้ว ยัง แผ่ไพศาลไปยังประมุขประเทศต่างๆ ดังจะเห็นได้จากพระราชสาส์นที่เป็นลายพระราชหัตถเลขาและ พระบรมฉายาลักษณ์ภาพถ่ายพระบรมรูป พระราชหัตถเลขา และหนังสือภาษาอังกฤษส่วนพระองค์ ซึ่งยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พระองค์สนพระราชหฤทัยวิชาการความก้าวหน้าของตะวันตกกว้างขวาง หลายแขนงทั้งด้านการเมืองการปกครอง ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์ดาราศาสตร์ฯลฯ

วิทยาการของตะวันตกที่สนพระราชหฤทัยมากเป็นพิเศษ คือวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาดาราศาสตร์ โดยโปรดให้สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และได้ทรงสถาปนาระบบเวลา มาตรฐานขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๐๑ ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่งว่าทรงใช้เวลามาตรฐานโดยเทียบกับดวงดาว ก่อนหน้าประเทศอังกฤษมหาอำนาจของโลกสมัยนั้นจะประกาศใช้เวลามาตรฐานด้วยวิธีเดียวกันใน พ.ศ. ๒๔๒๓

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและพยากรณ์ล่วงหน้าไว้ ๒ ปีว่าในวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เห็นได้ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมือง ประจวบคีรีขันธ์ ด้วยพระราชประสงค์จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ จึงเสด็จพระราชดำเนิน ทางชลมารคไปยังบ้านหว้ากอ โดยเชิญแขกต่างประเทศ คือ เซอร์แฮรี ออต เจ้าเมืองสิงคโปร์ ทูต อังกฤษประจำประเทศไทย ดร.บรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน และคณะดาราศาสตร์ฝรั่งเศส ราว ๑๐ คน พร้อมด้วยข้าราชบริพารที่ตามเสด็จขบวนใหญ่ ปรากฏว่าผลการพยากรณ์ของพระองค์ ทุกขั้นตอนของสุริยคราส คือดวงอาทิตย์เริ่มมืด มืดเต็มดวง เริ่มสว่าง และสว่างเต็มดวง ที่เรียกว่า โมกขบริสุทธิตรงกับที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ทุกวินาที พระปรีชาสามารถของพระองค์ในครั้งนั้นจึง เป็นที่ยอมรับไปในหมู่นักวิทยาศาสตร์นานาชาติ แต่เมื่อเสด็จกลับมาแล้วก็ทรงพระประชวรด้วย พระโรคไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ รวมพระชนมพรรษาได้ ๖๔ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ ๑๗ ปี มีพระราชโอรสธิดารวม ๘๔ พระองค์ มีสายราชสกุล สืบเนื่องมา ๒๗ มหาสาขา

รัฐบาลไทยได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พระบิดาแห่ง วิทยาศาสตร์ไทย” และกำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” นอกจากนั้นในโอกาสวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ องค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณ ให้พระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์มานุษยวิทยา การ พัฒนาสังคม และการสื่อสาร ประจำปี ๒๕๔๖-๒๕๔๗

นามานุกรมพระมหากษัตริยไทย


พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๔*


พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงสถาปนาพระเกียรติยศเสมอด้วยพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ ในแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๑ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๕๐ ในพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นลำดับที่ ๓ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีมี พระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าจุฑามณี ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณีประทับที่พระราชวังเดิม ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมเป็นสมเด็จพระ เจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฑามณีกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ขณะ พระชนมายุได้ ๒๔ พรรษา ทรงบังคับบัญชากรมทหารแม่นปืนหน้าหลัง และอาสาญวน อาสาแขก อาสาจาม ทั้งได้ทรงคิดต่อเรือกลไฟ รวมทั้งได้ทรงเป็นแม่ทัพออกไปรบกับญวน ครั้นในช่วงรัชกาล มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเพื่อเจรจาทางการค้าและทำสนธิสัญญากับสยาม พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ทรงรับเป็น พระราชภาระในการรับรองคณะทูตและตรวจตราเนื้อหาของสนธิสัญญา เพราะทรงชำนาญภาษา ต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๓๗๕ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์สร้างป้อมที่เมืองสมุทรสงครามขึ้นชื่อป้อมพิฆาตข้าศึก ตั้งอยู่ที่ริม แม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันออก ต่อจากวัดบ้านแหลมและสถานีรถไฟแม่กลอง ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รื้อออกและก่อสร้างสถานที่ราชการ กระทั่งเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ แล้ว ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดการพระราชพิธีบวรราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ มีพระนามในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์มหันตวรเดโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์บวรจุลจักรพรรดิราชสังกาศ บวรธรรมิกราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ประทับ ณ บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล เสมอพระราชฐานะแห่งวังหน้า พระองค์ทรงรอบรู้ใน ศาสตร์ต่างๆ  เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ และได้ทรงสมาคมกับชาวต่างชาติที่เดินทาง เข้ามาในราชอาณาจักรด้วย ทำให้พระนาม The Second King เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีอาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีส่วนร่วมในการพัฒนาสยามประเทศให้เข้าสู่ความ ทันสมัย

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลตำราปืนใหญ่จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย พระองค์สนพระทัยการช่าง การต่อเรือ ตลอดจนจักรกลอื่น ๆ โดยเฉพาะการต่อเรือกลไฟนั้นเป็นที่ โปรดปรานมาก นอกจากนี้ยังโปรดการท่องเที่ยวไปตามบ้านเมืองทั้งเหนือและใต้เช่นที่บ้านสัมปะทวน แขวงเมืองนครชัยศรีที่เมืองพนัสนิคมบ้าง แต่โปรดที่จะประทับที่พระตำหนักบ้านสีทาในแขวงเมือง สระบุรี การเสด็จประพาสหัวเมืองเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมืองเพราะได้ทรงศึกษาลักษณะภูมิ ประเทศ และทรงคุ้นเคยกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน รวมทั้งทรงเห็นปัญหาต่างๆที่แท้จริงของราษฎร ทั้งได้ ทรงบูรณะวัดต่างๆรอบพระนครอีกหลายแห่ง เช่น วัดราชผาติการาม วัดหงส์รัตนาราม เป็นต้น

ในด้านศิลปวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดงานดุริยศิลป์เป็นพิเศษ ทรง ประดิษฐ์ระนาดทุ้มเหล็กขึ้น และมีพระราชนิยมในเครื่องดนตรีประเภทเป่าเช่นแคน นอกจากนั้นมี พระราชนิพนธ์บทสักรวาไว้หลายบท พระราชนิพนธ์เพลงยาว พระราชนิพนธ์ทรงค่อนข้าราชการวัง หน้า เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์แรม ๖ ค่ำ เดือน ๒ เวลา เช้าย่ำรุ่ง ตรงกับวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงอยู่ในอุปราชาภิเษก สมบัติทั้งสิ้น ๑๕ ปีมีพระราชโอรสธิดารวม ๕๘ พระองค์

นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

คลิกอ่านจากไฟล์ pdf »



ตำแหน่ง

Lek Thi 206 Soi 8 ตำบล เนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก 65190 ประเทศไทย


คำอธิบายการค้นหา

Num ... 2627615 blogger Blog for save Make safe editor Sight seeing view blog ID ... Phasa Thai รายละเอียดคำศัพท์ ... 

☆ เซฟบล็อก! ☆