พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๑๔
สมเด็จพระแก้วฟ้า หรือสมเด็จพระยอดฟ้า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๔ แห่ง กรุงศรีอยุธยาในราชวงศ์สุพรรณภูมิ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๗๗-พ.ศ. ๒๐๘๙) กับท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอกฝ่ายซ้าย ประสูติประมาณ พ.ศ. ๒๐๗๙ มีพระอนุชาพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระศรีศิลป์พระชันษาอ่อนกว่าพระองค์ ๖ ปี
เมื่อได้ทรงครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดาใน พ.ศ. ๒๐๘๙ นั้น สมเด็จพระแก้วฟ้ามี พระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษา พระราชพงศาวดารบันทึกว่า “นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ผู้เป็น สมเด็จพระชนนีช่วยทำนุบำรุงประคองราชการแผ่นดิน” สถานการณ์การเมืองในราชสำนักขณะนั้น คงจะไม่มั่นคงนัก พระเฑียรราชาเชื้อพระวงศ์ฝ่ายสมเด็จพระไชยราชาธิราชซึ่งน่าจะเป็นกำลังสำคัญใน การช่วยว่าราชการแผ่นดินได้กลับเกรงราชภัย เสด็จไปทรงผนวชที่วัดราชประดิษฐานตลอดรัชกาล ของสมเด็จพระแก้วฟ้า
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ว่า สมเด็จพระแก้วฟ้าโปรดการ ล่าสัตว์“ทรงม้าไปตามป่าตามทุ่งและไร่นา ชนช้าง ทรงพระแสงฝึกหัดขัตติยวิชา” นอกจากนี้ยังบันทึก ว่า “ในรัชกาลของพระองค์บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ทุกแห่งหน มิได้อดอยากแห้งแล้ง” แต่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆระบุสอดคล้องต้องกันว่า เมื่อทรงครองราชย์ได้ไม่นาน เกิดนิมิตร้าย หลายประการ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระแก้วฟ้าเสด็จออกสนาม ทรงให้ชนช้าง งาช้างพระยาไฟหักเป็น ๓ ท่อน เวลาค่ำช้างต้นพระฉัททันต์ร้องเป็นเสียงคนร้องไห้ ประตูไพชยนต์ร้องเป็นอุบาทว์เสมือน หนึ่งเป็นลางร้ายที่บอกเหตุที่จะบังเกิดขึ้นแก่ยุวกษัตริย์พระองค์นี้
เหตุเกิดเนื่องจากท้าวศรีสุดาจันทร์พระชนนีผู้สำเร็จราชการภายในพระราชวังไปมีความสัมพันธ์ ฉันชู้สาวกับพันบุตรศรีเทพผู้เฝ้าหอพระ ท้าวศรีสุดาจันทร์เลื่อนพันบุตรศรีเทพให้เป็นขุนชินราชรักษา หอพระข้างใน และต่อมาก็ให้เป็นขุนวรวงศาธิราช เมื่อพระนางทรงครรภ์กับขุนวรวงศาธิราชแล้ว จึงได้ คิดอ่านยกขุนวรวงศาธิราชเป็นพระเจ้าแผ่นดิน โดยอ้างว่าสมเด็จพระแก้วฟ้าพระโอรสนั้นยังทรง พระเยาว์นัก สนพระทัยแต่จะเล่น พระสติปัญญาไม่พอที่จะว่าราชการแผ่นดิน “เราคิดว่าจะให้ขุน วรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดิน กว่าราชบุตรเราจะจำเริญวัยขึ้น” เมื่อขุนวรวงศาธิราชได้เป็นพระเจ้า แผ่นดินแล้ว ใน พ.ศ. ๒๐๙๑ ขุนวรวงศาธิราชก็สำเร็จโทษสมเด็จพระแก้วฟ้า ณ วัดโคกพระยา ส่วน พระศรีศิลป์พระอนุชามีพระชนมายุเพียง ๗ พรรษา จึงไม่ได้ถูกประหารไปในคราวนั้น
จดหมายเหตุโหรระบุว่า พระแก้วฟ้าถูกสำเร็จโทษ วันอาทิตย์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ จ.ศ. ๙๑๐ ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๐๙๑ ทรงอยู่ในราชสมบัติ๒ ปีเศษ พระชนมายุได้ ๑๓ พรรษาเศษ
สมเด็จพระแก้วฟ้า หรือสมเด็จพระยอดฟ้า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๔ แห่ง กรุงศรีอยุธยาในราชวงศ์สุพรรณภูมิ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๗๗-พ.ศ. ๒๐๘๙) กับท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอกฝ่ายซ้าย ประสูติประมาณ พ.ศ. ๒๐๗๙ มีพระอนุชาพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระศรีศิลป์พระชันษาอ่อนกว่าพระองค์ ๖ ปี
เมื่อได้ทรงครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดาใน พ.ศ. ๒๐๘๙ นั้น สมเด็จพระแก้วฟ้ามี พระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษา พระราชพงศาวดารบันทึกว่า “นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ผู้เป็น สมเด็จพระชนนีช่วยทำนุบำรุงประคองราชการแผ่นดิน” สถานการณ์การเมืองในราชสำนักขณะนั้น คงจะไม่มั่นคงนัก พระเฑียรราชาเชื้อพระวงศ์ฝ่ายสมเด็จพระไชยราชาธิราชซึ่งน่าจะเป็นกำลังสำคัญใน การช่วยว่าราชการแผ่นดินได้กลับเกรงราชภัย เสด็จไปทรงผนวชที่วัดราชประดิษฐานตลอดรัชกาล ของสมเด็จพระแก้วฟ้า พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ว่า สมเด็จพระแก้วฟ้าโปรดการ ล่าสัตว์“ทรงม้าไปตามป่าตามทุ่งและไร่นา ชนช้าง ทรงพระแสงฝึกหัดขัตติยวิชา” นอกจากนี้ยังบันทึก ว่า “ในรัชกาลของพระองค์บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ทุกแห่งหน มิได้อดอยากแห้งแล้ง” แต่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆระบุสอดคล้องต้องกันว่า เมื่อทรงครองราชย์ได้ไม่นาน เกิดนิมิตร้าย หลายประการ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระแก้วฟ้าเสด็จออกสนาม ทรงให้ชนช้าง งาช้างพระยาไฟหักเป็น ๓ ท่อน เวลาค่ำช้างต้นพระฉัททันต์ร้องเป็นเสียงคนร้องไห้ ประตูไพชยนต์ร้องเป็นอุบาทว์เสมือน หนึ่งเป็นลางร้ายที่บอกเหตุที่จะบังเกิดขึ้นแก่ยุวกษัตริย์พระองค์นี้ เหตุเกิดเนื่องจากท้าวศรีสุดาจันทร์พระชนนีผู้สำเร็จราชการภายในพระราชวังไปมีความสัมพันธ์ ฉันชู้สาวกับพันบุตรศรีเทพผู้เฝ้าหอพระ ท้าวศรีสุดาจันทร์เลื่อนพันบุตรศรีเทพให้เป็นขุนชินราชรักษา หอพระข้างใน และต่อมาก็ให้เป็นขุนวรวงศาธิราช เมื่อพระนางทรงครรภ์กับขุนวรวงศาธิราชแล้ว จึงได้ คิดอ่านยกขุนวรวงศาธิราชเป็นพระเจ้าแผ่นดิน โดยอ้างว่าสมเด็จพระแก้วฟ้าพระโอรสนั้นยังทรง พระเยาว์นัก สนพระทัยแต่จะเล่น พระสติปัญญาไม่พอที่จะว่าราชการแผ่นดิน “เราคิดว่าจะให้ขุน วรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดิน กว่าราชบุตรเราจะจำเริญวัยขึ้น” เมื่อขุนวรวงศาธิราชได้เป็นพระเจ้า แผ่นดินแล้ว ใน พ.ศ. ๒๐๙๑ ขุนวรวงศาธิราชก็สำเร็จโทษสมเด็จพระแก้วฟ้า ณ วัดโคกพระยา ส่วน พระศรีศิลป์พระอนุชามีพระชนมายุเพียง ๗ พรรษา จึงไม่ได้ถูกประหารไปในคราวนั้น จดหมายเหตุโหรระบุว่า พระแก้วฟ้าถูกสำเร็จโทษ วันอาทิตย์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ จ.ศ. ๙๑๐ ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๐๙๑ ทรงอยู่ในราชสมบัติ๒ ปีเศษ พระชนมายุได้ ๑๓ พรรษาเศษ | ||
นามานุกรมพระมหากษัตริยไทย
ครองราชสมบัติเพียงไม่นาน
ขุนวรวงศาธิราช เป็นขุนนางไทยสมัยอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๗-พ.ศ. ๒๐๘๙) และรัชกาลสมเด็จพระยอดฟ้า (แก้วฟ้า) (พ.ศ. ๒๐๘๙ - พ.ศ. ๒๐๙๑) ได้ เลื่อนยศและตำแหน่งด้วยการสนับสนุนของท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอกของสมเด็จพระไชย ราชาธิราชและเป็นพระมารดาของสมเด็จพระยอดฟ้า ขุนวรวงศาธิราชครองราชสมบัติอยู่เพียงไม่นาน ก็ถูกเจ้านายและขุนนางกลุ่มหนึ่งจับตัวประหารชีวิตพร้อมกับท้าวศรีสุดาจันทร์และธิดา
ประวัติและเรื่องราวของขุนวรวงศาธิราชปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับ เช่น ฉบับพระราชหัตถเลขา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฉบับจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ฉบับสมเด็จพระ พนรัตน์วัดพระเชตุพนฯ ฉบับของบริติชมิวเซียม ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ฯลฯ รวมทั้งปรากฏ ในจดหมายเหตุโหรและบันทึกของชาวต่างชาติเช่น เฟอร์นาว เมนเดส ปินโต (Ferñao Mendes Pinto) ชาวโปรตุเกสที่เดินทางท่องเที่ยวผจญภัยเข้ามากรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet) ซึ่งเข้ามาประจำอยู่ที่สถานีการค้าของบริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดาในกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ. ๒๑๙๙) ซึ่งเนื้อความในเอกสารดังกล่าวจะแตกต่างกันในรายละเอียดและวันเวลา
ขุนวรวงศาธิราชเดิมเป็นพนักงานรักษาหอพระข้างหน้าในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา มีบรรดาศักดิ์ เป็นพันบุตรศรีเทพ เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๘๙ พระยอดฟ้า พระราชโอรส ของพระองค์กับท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขณะมีพระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษา ยังไม่ทรงสามารถว่าราชการได้ท้าวศรีสุดาจันทร์พระชนนีจึงเป็นผู้สำเร็จราชการ เรียกกัน ทั่วไปว่า แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์
ท้าวศรีสุดาจันทร์พบกับพันบุตรศรีเทพที่หอพระข้างหน้า เกิดพอใจรักใคร่ จึงมีพระเสาวนีย์ให้ พระยาราชภักดีสับเปลี่ยนตำแหน่งราชการให้ขุนชินราชรักษาหอพระข้างในไปเป็นพันบุตรศรีเทพรักษา หอพระข้างหน้า แต่งตั้งพันบุตรศรีเทพเป็นขุนชินราชรักษาหอพระข้างใน เพราะเหตุว่าเป็นข้าหลวงเดิม จะได้รับราชการใกล้ชิดพระองค์ยิ่งขึ้น ต่อมาเมื่อทรงครรภ์กับขุนชินราช จึงดำริจะยกราชสมบัติให้ แล้วให้เลื่อนขุนชินราชขึ้นเป็นขุนวรวงศาธิราช ปลูกจวนให้อยู่ที่ริมศาลาสารบัญชีใกล้กำแพงพระราชวัง ให้สิทธิ์ในการเกณฑ์และคุมกำลังคน รวมทั้งให้นั่งว่าราชการที่จวนในวังตรงประตูดินริมต้นหมัน เพื่อ ให้ขุนนางทั้งหลายรับรู้และเกรงกลัวในอำนาจ เมื่อขุนนางผู้ใหญ่ คือพระยามหาเสนา เป็นห่วง ราชการแผ่นดิน จึงถูกท้าวศรีสุดาจันทร์กำจัด แล้วมีพระเสาวนีย์ให้ตั้งขุนวรวงศาธิราชว่าราชการ แผ่นดินแทน โดยอ้างเหตุว่าพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์และเหตุการณ์ทางหัวเมืองเหนือยังไม่สงบ
ความในพระราชพงศาวดารระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อท้าวศรีสุดาจันทร์ตรัสสั่งให้ปลัดวังนำราชยาน เครื่องสูงออกไปรับขุนวรวงศาธิราชแห่เข้าวังแล้วนั้น จึงให้ตั้งการ “...พระราชพิธีราชาภิเษกยก ขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นเจ้าพิภพกรุงเทพทวารดีศรีอยุธยา จึงเอานายจันทร์ ผู้น้องขุนวรวงศาธิราชอยู่ บ้านมหาโลกเป็นมหาอุปราชา...” หลังจากนั้นพระยอดฟ้าก็ทรงถูกสำเร็จโทษ
เมื่อขุนวรวงศาธิราชอยู่ในราชสมบัติซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่ระบุว่า ๕ เดือน แต่ปินโตว่า ๖๖ วัน ฟาน ฟลีตว่า ๔๐ วัน และฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า ๔๒ วันนั้น ไม่ได้ประกอบกรณียกิจสำคัญแต่อย่างใด นอกจากให้สับเปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองในหัวเมืองเหนือ ที่กระด้างกระเดื่อง เพื่อประโยชน์ในการปกครอง และสนใจเรื่องช้างสำคัญ คือ เมื่อสมุหนายก กราบทูลข่าวพบช้างสำคัญที่เมืองลพบุรีหรือเมื่อพนักงานกรมช้างไล่ต้อนโขลงช้างเถื่อนเข้ามาทาง วัดแม่นางปลื้ม มาเข้าเพนียดวัดซอง (เป็นเพนียดเดิมก่อนย้ายไปที่ทุ่งทะเลหญ้า) ขุนวรวงศาธิราช สนพระทัยจะออกไปจับช้างด้วยพระองค์เองทั้ง ๒ ครั้ง แต่ที่เมืองลพบุรีนั้นได้สั่งให้กรมการเมืองไปจับ สุดท้ายเมื่อขุนวรวงศาธิราชออกไปจับช้างที่เพนียดวัดซอง จึงเป็นสาเหตุให้เจ้านายและขุนนางกลุ่มหนึ่ง คบคิดกันกำจัดด้วยการล้อมจับขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์กับธิดา ขณะที่ขบวนเรือประทับ ไปถึงคลองสระบัว และฆ่าเสียทั้ง ๓ คน
หลังจากกำจัดขุนวรวงศาธิราชสำเร็จแล้ว กลุ่มเจ้านายและขุนนาง ได้แก่ ขุนพิเรนทรเทพ เชื้อ พระวงศ์(ต่อมาคือสมเด็จพระมหาธรรมราชา) ขุนอินทรเทพ (ต่อมาคือเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช) หลวงศรียศ (ต่อมาคือเจ้าพระยามหาเสนา) หมื่นราชเสน่หาในราชการ (ต่อมาคือเจ้าพระยามหาเทพ) และหมื่นราชเสน่หานอกราชการ (ต่อมาคือพระยาภักดีนุชิต) จึงได้ถวาย ราชสมบัติแก่พระเฑียรราชา เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่ไม่ยกย่องและไม่นับขุนวรวงศาธิราชอยู่ในลำดับ พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา แม้จะมีความระบุว่ามีทั้งพิธีบรมราชาภิเษกและพิธีอุปราชาภิเษกด้วย ก็ตาม และต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จารึก พระนามพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ที่ฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวน ๓๗ องค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หล่อไว้ด้วยทองแดง แล้วตั้ง ไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่หอราชกรมานุสรและหอพระราช- พงศานุสร ตรงกำแพงแก้ว หลังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ไม่ปรากฏว่ามีพระพุทธรูปจารึก นามขุนวรวงศาธิราชอยู่ด้วย หรือแม้แต่ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงวิจารณ์“เรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ก็ไม่ทรงกล่าวถึงการอุปราชาภิเษกนายจันทร์ น้องชายของขุนวรวงศาธิราชเป็นวังหน้า เพราะไม่ได้ทรงนับขุนวรวงศาธิราชเป็นกษัตริย์
ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์“อธิบายรัชกาล ครั้งกรุงเก่า” ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕ และ “อธิบายเรื่องในสมัยขุนวรวงศาธิราช” ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา โดยทรงเรียงรัชกาลพระยอดฟ้าเป็นพระมหากษัตริย์อยุธยาลำดับที่ ๑๔ และรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นลำดับที่ ๑๕ ไม่ทรงนับรัชกาลขุนวรวงศาธิราช เพราะ เหตุว่า “เรื่องพงศาวดารตอนนี้เป็นเรื่องของความชั่วไม่น่าอธิบาย” อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงวินิจฉัย เรื่องพระเฑียรราชาได้ราชสมบัติไว้อย่างละเอียดเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายตามที่พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ สรุปพระมติที่ทรงวินิจฉัยไว้ว่า ก่อนที่สมเด็จพระ ไชยราชาธิราชจะสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๘๙ นั้น พระองค์ตรัสสั่งให้พระยอดฟ้าเป็นรัชทายาท ขึ้นครองราชสมบัติให้พระเฑียรราชาอนุชาต่างพระมารดาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มีท้าวศรีสุดาจันทร์พระชนนีเป็นผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน ต่อมาเมื่อท้าวศรีสุดาจันทร์สมัครรักใคร่กับพันบุตรศรีเทพ ผู้เป็นญาติและเป็นพนักงานเฝ้าหอพระ จึงสั่งให้ย้ายไปเป็นตำแหน่งขุนชินราช พนักงานเฝ้าหอพระของ พระชนนีเพื่อให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น แล้วอ้างว่าเป็นราชินิกุลจึงเลื่อนเป็นที่ขุนวรวงศาธิราชอยู่ในกรมวัง เมื่อขุนนางผู้ใหญ่ เช่น พระยามหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหมทราบเรื่องความสัมพันธ์ขุนวรวงศาธิราช จึงทูลแนะนำให้ท้าวศรีสุดาจันทร์กำจัดเสีย รวมทั้งคิดกำจัดพระเฑียรราชาจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ แผ่นดินด้วย จึงทำให้พระเฑียรราชาทูลลาไปผนวช ท้าวศรีสุดาจันทร์จึงได้อำนาจทั้งหมดเป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดินทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน จากนั้นก็แต่งตั้งให้ขุนวรวงศาธิราชเป็นผู้บังคับการล้อม พระราชวัง มีไพร่พลพรรคพวกเป็นกำลังอยู่ประจำในพระราชวัง
ใน พ.ศ. ๒๐๙๐ ท้าวศรีสุดาจันทร์ทรงครรภ์กับขุนวรวงศาธิราช ไม่สามารถออกว่าราชการได้ จึงสร้างศาลาในพระราชวังอยู่ริมประตูดินใกล้ต้นหมัน ให้ขุนวรวงศาธิราชอยู่ประจำเป็นผู้รับรับสั่งใน ราชกิจทั้งปวง ทำให้มีอำนาจเสมือนเป็นผู้สำเร็จราชการทั่วทั้งพระราชวัง ต่อมาสมเด็จพระยอดฟ้า ถูกขุนวรวงศาธิราชสำเร็จโทษ โดยที่ท้าวศรีสุดาจันทร์ไม่ทราบมาก่อน และต้องยอมราชาภิเษกให้ ขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์ มีพระศรีศิลป์พระอนุชาของสมเด็จพระยอดฟ้าซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๗ พรรษา เป็นรัชทายาท และแต่งตั้งนายจันทร์บ้านมหาโลก น้องชายของขุนวรวงศาธิราชเป็นเจ้า พระยามหาอุปราช หัวหน้าข้าราชการ
ส่วนบรรดาเจ้านายและขุนนางที่เข้ากับพระยอดฟ้านั้น เมื่อขุนวรวงศาธิราชปลงพระชนม์ สมเด็จพระยอดฟ้าแล้ว จึงตกลงกันว่าหากกำจัดขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ก็จะถวาย ราชสมบัติแก่พระเฑียรราชา ซึ่งขณะนั้นยังทรงผนวชอยู่ และร่วมกันเสี่ยงเทียนพิสูจน์ให้เห็นเป็นนิมิต เมื่อขุนวรวงศาธิราชประสงค์จะออกไปจับช้างที่เพนียดวัดซองโดยกระบวนเรือ ขุนพิเรนทรเทพและ พรรคพวกจึงจับขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ฆ่าเสีย แล้วอัญเชิญพระศรีศิลป์รัชทายาทกลับ พระราชวัง ส่วนธิดาของขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ต่อมาก็ถูกกำจัดด้วย แล้วจึงทูลเชิญ พระเฑียรราชาให้ลาผนวช เสด็จขึ้นครองราชย์พระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจากนั้นจึง ปูนบำเหน็จความชอบให้บรรดาผู้ร่วมดำเนินการทั้งหลายโดยทั่วกัน
ขุนวรวงศาธิราช เป็นขุนนางไทยสมัยอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๗-พ.ศ. ๒๐๘๙) และรัชกาลสมเด็จพระยอดฟ้า (แก้วฟ้า) (พ.ศ. ๒๐๘๙ - พ.ศ. ๒๐๙๑) ได้ เลื่อนยศและตำแหน่งด้วยการสนับสนุนของท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอกของสมเด็จพระไชย ราชาธิราชและเป็นพระมารดาของสมเด็จพระยอดฟ้า ขุนวรวงศาธิราชครองราชสมบัติอยู่เพียงไม่นาน ก็ถูกเจ้านายและขุนนางกลุ่มหนึ่งจับตัวประหารชีวิตพร้อมกับท้าวศรีสุดาจันทร์และธิดา
ประวัติและเรื่องราวของขุนวรวงศาธิราชปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับ เช่น ฉบับพระราชหัตถเลขา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฉบับจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ฉบับสมเด็จพระ พนรัตน์วัดพระเชตุพนฯ ฉบับของบริติชมิวเซียม ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ฯลฯ รวมทั้งปรากฏ ในจดหมายเหตุโหรและบันทึกของชาวต่างชาติเช่น เฟอร์นาว เมนเดส ปินโต (Ferñao Mendes Pinto) ชาวโปรตุเกสที่เดินทางท่องเที่ยวผจญภัยเข้ามากรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet) ซึ่งเข้ามาประจำอยู่ที่สถานีการค้าของบริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดาในกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ. ๒๑๙๙) ซึ่งเนื้อความในเอกสารดังกล่าวจะแตกต่างกันในรายละเอียดและวันเวลา ขุนวรวงศาธิราชเดิมเป็นพนักงานรักษาหอพระข้างหน้าในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา มีบรรดาศักดิ์ เป็นพันบุตรศรีเทพ เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๘๙ พระยอดฟ้า พระราชโอรส ของพระองค์กับท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขณะมีพระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษา ยังไม่ทรงสามารถว่าราชการได้ท้าวศรีสุดาจันทร์พระชนนีจึงเป็นผู้สำเร็จราชการ เรียกกัน ทั่วไปว่า แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์พบกับพันบุตรศรีเทพที่หอพระข้างหน้า เกิดพอใจรักใคร่ จึงมีพระเสาวนีย์ให้ พระยาราชภักดีสับเปลี่ยนตำแหน่งราชการให้ขุนชินราชรักษาหอพระข้างในไปเป็นพันบุตรศรีเทพรักษา หอพระข้างหน้า แต่งตั้งพันบุตรศรีเทพเป็นขุนชินราชรักษาหอพระข้างใน เพราะเหตุว่าเป็นข้าหลวงเดิม จะได้รับราชการใกล้ชิดพระองค์ยิ่งขึ้น ต่อมาเมื่อทรงครรภ์กับขุนชินราช จึงดำริจะยกราชสมบัติให้ แล้วให้เลื่อนขุนชินราชขึ้นเป็นขุนวรวงศาธิราช ปลูกจวนให้อยู่ที่ริมศาลาสารบัญชีใกล้กำแพงพระราชวัง ให้สิทธิ์ในการเกณฑ์และคุมกำลังคน รวมทั้งให้นั่งว่าราชการที่จวนในวังตรงประตูดินริมต้นหมัน เพื่อ ให้ขุนนางทั้งหลายรับรู้และเกรงกลัวในอำนาจ เมื่อขุนนางผู้ใหญ่ คือพระยามหาเสนา เป็นห่วง ราชการแผ่นดิน จึงถูกท้าวศรีสุดาจันทร์กำจัด แล้วมีพระเสาวนีย์ให้ตั้งขุนวรวงศาธิราชว่าราชการ แผ่นดินแทน โดยอ้างเหตุว่าพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์และเหตุการณ์ทางหัวเมืองเหนือยังไม่สงบ ความในพระราชพงศาวดารระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อท้าวศรีสุดาจันทร์ตรัสสั่งให้ปลัดวังนำราชยาน เครื่องสูงออกไปรับขุนวรวงศาธิราชแห่เข้าวังแล้วนั้น จึงให้ตั้งการ “...พระราชพิธีราชาภิเษกยก ขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นเจ้าพิภพกรุงเทพทวารดีศรีอยุธยา จึงเอานายจันทร์ ผู้น้องขุนวรวงศาธิราชอยู่ บ้านมหาโลกเป็นมหาอุปราชา...” หลังจากนั้นพระยอดฟ้าก็ทรงถูกสำเร็จโทษ เมื่อขุนวรวงศาธิราชอยู่ในราชสมบัติซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่ระบุว่า ๕ เดือน แต่ปินโตว่า ๖๖ วัน ฟาน ฟลีตว่า ๔๐ วัน และฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า ๔๒ วันนั้น ไม่ได้ประกอบกรณียกิจสำคัญแต่อย่างใด นอกจากให้สับเปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองในหัวเมืองเหนือ ที่กระด้างกระเดื่อง เพื่อประโยชน์ในการปกครอง และสนใจเรื่องช้างสำคัญ คือ เมื่อสมุหนายก กราบทูลข่าวพบช้างสำคัญที่เมืองลพบุรีหรือเมื่อพนักงานกรมช้างไล่ต้อนโขลงช้างเถื่อนเข้ามาทาง วัดแม่นางปลื้ม มาเข้าเพนียดวัดซอง (เป็นเพนียดเดิมก่อนย้ายไปที่ทุ่งทะเลหญ้า) ขุนวรวงศาธิราช สนพระทัยจะออกไปจับช้างด้วยพระองค์เองทั้ง ๒ ครั้ง แต่ที่เมืองลพบุรีนั้นได้สั่งให้กรมการเมืองไปจับ สุดท้ายเมื่อขุนวรวงศาธิราชออกไปจับช้างที่เพนียดวัดซอง จึงเป็นสาเหตุให้เจ้านายและขุนนางกลุ่มหนึ่ง คบคิดกันกำจัดด้วยการล้อมจับขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์กับธิดา ขณะที่ขบวนเรือประทับ ไปถึงคลองสระบัว และฆ่าเสียทั้ง ๓ คน หลังจากกำจัดขุนวรวงศาธิราชสำเร็จแล้ว กลุ่มเจ้านายและขุนนาง ได้แก่ ขุนพิเรนทรเทพ เชื้อ พระวงศ์(ต่อมาคือสมเด็จพระมหาธรรมราชา) ขุนอินทรเทพ (ต่อมาคือเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช) หลวงศรียศ (ต่อมาคือเจ้าพระยามหาเสนา) หมื่นราชเสน่หาในราชการ (ต่อมาคือเจ้าพระยามหาเทพ) และหมื่นราชเสน่หานอกราชการ (ต่อมาคือพระยาภักดีนุชิต) จึงได้ถวาย ราชสมบัติแก่พระเฑียรราชา เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่ไม่ยกย่องและไม่นับขุนวรวงศาธิราชอยู่ในลำดับ พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา แม้จะมีความระบุว่ามีทั้งพิธีบรมราชาภิเษกและพิธีอุปราชาภิเษกด้วย ก็ตาม และต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จารึก พระนามพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ที่ฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวน ๓๗ องค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หล่อไว้ด้วยทองแดง แล้วตั้ง ไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่หอราชกรมานุสรและหอพระราช- พงศานุสร ตรงกำแพงแก้ว หลังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ไม่ปรากฏว่ามีพระพุทธรูปจารึก นามขุนวรวงศาธิราชอยู่ด้วย หรือแม้แต่ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงวิจารณ์“เรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ก็ไม่ทรงกล่าวถึงการอุปราชาภิเษกนายจันทร์ น้องชายของขุนวรวงศาธิราชเป็นวังหน้า เพราะไม่ได้ทรงนับขุนวรวงศาธิราชเป็นกษัตริย์ ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์“อธิบายรัชกาล ครั้งกรุงเก่า” ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕ และ “อธิบายเรื่องในสมัยขุนวรวงศาธิราช” ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา โดยทรงเรียงรัชกาลพระยอดฟ้าเป็นพระมหากษัตริย์อยุธยาลำดับที่ ๑๔ และรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นลำดับที่ ๑๕ ไม่ทรงนับรัชกาลขุนวรวงศาธิราช เพราะ เหตุว่า “เรื่องพงศาวดารตอนนี้เป็นเรื่องของความชั่วไม่น่าอธิบาย” อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงวินิจฉัย เรื่องพระเฑียรราชาได้ราชสมบัติไว้อย่างละเอียดเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายตามที่พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ สรุปพระมติที่ทรงวินิจฉัยไว้ว่า ก่อนที่สมเด็จพระ ไชยราชาธิราชจะสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๘๙ นั้น พระองค์ตรัสสั่งให้พระยอดฟ้าเป็นรัชทายาท ขึ้นครองราชสมบัติให้พระเฑียรราชาอนุชาต่างพระมารดาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มีท้าวศรีสุดาจันทร์พระชนนีเป็นผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน ต่อมาเมื่อท้าวศรีสุดาจันทร์สมัครรักใคร่กับพันบุตรศรีเทพ ผู้เป็นญาติและเป็นพนักงานเฝ้าหอพระ จึงสั่งให้ย้ายไปเป็นตำแหน่งขุนชินราช พนักงานเฝ้าหอพระของ พระชนนีเพื่อให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น แล้วอ้างว่าเป็นราชินิกุลจึงเลื่อนเป็นที่ขุนวรวงศาธิราชอยู่ในกรมวัง เมื่อขุนนางผู้ใหญ่ เช่น พระยามหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหมทราบเรื่องความสัมพันธ์ขุนวรวงศาธิราช จึงทูลแนะนำให้ท้าวศรีสุดาจันทร์กำจัดเสีย รวมทั้งคิดกำจัดพระเฑียรราชาจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ แผ่นดินด้วย จึงทำให้พระเฑียรราชาทูลลาไปผนวช ท้าวศรีสุดาจันทร์จึงได้อำนาจทั้งหมดเป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดินทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน จากนั้นก็แต่งตั้งให้ขุนวรวงศาธิราชเป็นผู้บังคับการล้อม พระราชวัง มีไพร่พลพรรคพวกเป็นกำลังอยู่ประจำในพระราชวัง ใน พ.ศ. ๒๐๙๐ ท้าวศรีสุดาจันทร์ทรงครรภ์กับขุนวรวงศาธิราช ไม่สามารถออกว่าราชการได้ จึงสร้างศาลาในพระราชวังอยู่ริมประตูดินใกล้ต้นหมัน ให้ขุนวรวงศาธิราชอยู่ประจำเป็นผู้รับรับสั่งใน ราชกิจทั้งปวง ทำให้มีอำนาจเสมือนเป็นผู้สำเร็จราชการทั่วทั้งพระราชวัง ต่อมาสมเด็จพระยอดฟ้า ถูกขุนวรวงศาธิราชสำเร็จโทษ โดยที่ท้าวศรีสุดาจันทร์ไม่ทราบมาก่อน และต้องยอมราชาภิเษกให้ ขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์ มีพระศรีศิลป์พระอนุชาของสมเด็จพระยอดฟ้าซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๗ พรรษา เป็นรัชทายาท และแต่งตั้งนายจันทร์บ้านมหาโลก น้องชายของขุนวรวงศาธิราชเป็นเจ้า พระยามหาอุปราช หัวหน้าข้าราชการ ส่วนบรรดาเจ้านายและขุนนางที่เข้ากับพระยอดฟ้านั้น เมื่อขุนวรวงศาธิราชปลงพระชนม์ สมเด็จพระยอดฟ้าแล้ว จึงตกลงกันว่าหากกำจัดขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ก็จะถวาย ราชสมบัติแก่พระเฑียรราชา ซึ่งขณะนั้นยังทรงผนวชอยู่ และร่วมกันเสี่ยงเทียนพิสูจน์ให้เห็นเป็นนิมิต เมื่อขุนวรวงศาธิราชประสงค์จะออกไปจับช้างที่เพนียดวัดซองโดยกระบวนเรือ ขุนพิเรนทรเทพและ พรรคพวกจึงจับขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ฆ่าเสีย แล้วอัญเชิญพระศรีศิลป์รัชทายาทกลับ พระราชวัง ส่วนธิดาของขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ต่อมาก็ถูกกำจัดด้วย แล้วจึงทูลเชิญ พระเฑียรราชาให้ลาผนวช เสด็จขึ้นครองราชย์พระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจากนั้นจึง ปูนบำเหน็จความชอบให้บรรดาผู้ร่วมดำเนินการทั้งหลายโดยทั่วกัน | ||