พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงครองราชย์พ.ศ. ๒๔๗๗-พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขณะยังทรงพระเยาว์ระหว่างนั้นประเทศไทย ต้องเผชิญกับการสงคราม ทั้งสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา พระองค์ประทับอยู่ ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นพระโอรสองค์แรกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) กับหม่อมสังวาลย์มหิดล ณ อยุธยา (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เสด็จ พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ (ตรงกับวันพระบรมราชสมภพพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ณ โรงพยาบาลเมืองไฮเดลแบร์ก (Heidelberg) ประเทศเยอรมนี เมื่อแรกประสูติดำรงพระยศหม่อมเจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระองค์มีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์คือ หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์) และพระอนุชา ๑ พระองค์คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช)
เมื่อพระชนกเสด็จกลับประเทศไทยเพื่อรักษาพระอาการประชวร ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ พระวรวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลได้เสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกพร้อมพระชนนีพระเชษฐภคินี และพระอนุชา ปีถัดมาพระชนกสิ้นพระชนม์พระองค์จึงประทับที่เมืองไทยต่อ และทรงเริ่มเข้ารับการ ศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงย้ายไปเรียนชั้นประถม ศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในปีเดียว กันนี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเกรงว่าความผันผวนของ เหตุการณ์บ้านเมืองอาจส่งผลกระทบต่อพระนัดดา ประกอบกับเรื่องสุขภาพ จึงโปรดให้หม่อมสังวาลย์ นำพระโอรส พระธิดา เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อรับการศึกษาและ เป็นผลดีต่อพระพลานามัย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ได้ทรงศึกษาที่โรงเรียน เมียร์มองต์ (Ecole Miremont)
ระหว่างนี้ที่เมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง ประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (นับตามแบบเก่า) อีกทั้งทรงสละสิทธิ์ในการแต่งตั้งผู้สืบราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. ๒๔๖๗ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงอยู่ในลำดับที่ ๑ ในการสืบสันตติวงศ์สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเห็นชอบให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ ขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ขณะพระชนมายุ ๘ พรรษา ๕ เดือน ๑๑ วัน โดยมีพลเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ นาวาตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยา ยมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีพระราชชนนีถวายพระอภิบาล พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลยังคงประทับที่เมืองโลซานเพื่อทรงศึกษา ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ทรงย้าย ไปเรียนที่โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์(Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) พร้อมพระอนุชา โดยทรงศึกษาในสายศิลป์ ทรงศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษ พร้อมกันนั้น ก็ทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันเพราะเป็นภาษาบังคับด้วย ทรงศึกษาจนจบหลักสูตรและ ได้รับประกาศนียบัตร Diplôme de Bachelier ès Lettres
พระราชชนนีทรงอภิบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอย่างดีพร้อมทรง ปฏิบัติต่อพระธิดาและพระโอรสคล้ายคลึงกัน พระองค์เอาพระทัยใส่ในเรื่องสุขภาพ ทรงปลูกฝังให้รัก การศึกษา มีคุณธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ ให้เรียนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย ประวัติศาสตร์ไทย พระพุทธศาสนา และให้รู้จักความเป็นไทย รักเมืองไทย เพื่อเตรียมพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งแรกพร้อมพระราชชนนี พระเชษฐภคินีและพระอนุชา ระหว่างวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน - ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ตาม คำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล ในปีนี้เป็นช่วงเวลาที่ไทยสามารถยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกัน ที่ผูกมัดไทยด้วยเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อัตราภาษีที่ต่ำตามสนธิสัญญาเบาว์ริงได้อย่างสมบูรณ์
ขณะเสด็จนิวัตประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นประทับที่เกาะปีนัง และ ทรงได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก่อนที่จะเสด็จถึงประเทศไทย ทรงกล่าวถึงด้วยความ ชื่นชม ดังความตอนหนึ่งว่า “...สมเด็จพระอานันทมหิดลนั้นพระกิริยาอัธยาศัย หรือ...พระอุปนิสัยดี มาก มีเค้าทรงสติปัญญาผิดเด็กสามัญ และรู้จักวางพระองค์พอเหมาะแก่การเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยัง ทรงพระเยาว์ ใครๆได้เข้าใกล้แล้วมีแต่ชอบและสรรเสริญกันทุกคน...” และทรงชื่นชมสมเด็จพระ ศรีนครินทราบรมราชชนนีในการอภิบาลที่ดีด้วย
รัฐบาลซึ่งมีพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรีได้รับเสด็จ อย่างสมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระราชดำรัสตอบความตอนหนึ่งว่า “...ข้าพเจ้ายินดีมากที่ได้กลับมาเยี่ยมเมืองไทยที่ข้าพเจ้ารักและคิดถึงอยู่เสมอ...ขอให้ประชาชนอยู่เย็น เป็นสุขในความร่มเย็นของรัฐธรรมนูญทั่วกัน...”
ระหว่าง ๕๙ วันที่เสด็จประทับในเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายประการ เช่น เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีสมโภชใน วโรกาสเสด็จนิวัตพระนคร ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการนี้มีการประกาศสถาปนาพระราชชนนี เป็น “สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์” เจ้านายฝ่ายเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน เข้าเฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชทาน ธงประจำกองลูกเสือ ทรงเปิดงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประทับสามล้อพระที่นั่งทอดพระเนตรงาน ทอดพระเนตรการประกอบอาชีพของราษฎร เช่น การทำนา จับปลา
ระหว่างที่ประทับในพระนคร ประชาชนที่ทราบข่าวจะคอยเฝ้ารับเสด็จทุกแห่ง ก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะเสด็จกลับไปสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ มี พระราชดำรัสต่อประชาชนทางวิทยุกระจายเสียงความตอนหนึ่งว่า “...ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนจนสำเร็จ เพื่อจะได้มาสนองคุณชาติที่รักของเรา ในการที่ข้าพเจ้าจะลาท่านไปนี้ ข้าพเจ้าขออวยพรให้ท่าน ทั้งหลายมีความสุขความเจริญทั่วกัน...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพร้อมสมเด็จพระราชชนนีฯ พระเชษฐภคินีและ พระอนุชา เสด็จถึงสวิตเซอร์แลนด์ในต้นเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๔๘๑ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรง เกิดขึ้นในสังคมโลก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลก็ทรงมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับ การศึกษาดังที่ทรงให้คำมั่นสัญญาไว้ใน พ.ศ. ๒๔๘๖ เมื่อทรงสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเดิม ทรงเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ๒ ปีต่อมาทรงสอบไล่ได้Semi doctoral en Droit และตั้งพระราชหฤทัยจะศึกษาระดับปริญญาเอกต่อไป
สงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึงวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลก็ทรงบรรลุนิติภาวะ และเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล เพื่อเยี่ยมเยือนและบำรุงขวัญประชาชนเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ โดยมีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น ต่อมาในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ซึ่งเป็นวัน รัฐธรรมนูญ มีพระราชดำรัสต่อประชาชนความตอนหนึ่งว่า
...ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติ หน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามทำนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปได้ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ ของตนโดยขันแข็งและขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริงๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ใน ความวัฒนาถาวรสืบไป...
ระหว่างนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมาย เช่น เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามของกองทัพพันธมิตรพร้อมกับ ลอร์ด หลุยส์เมานต์แบตเทน (Lord Louis Mountbatten) ผู้บัญชาการทหารฝ่ายพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ณ ท้องสนามหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในหลายจังหวัด เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยต่างๆ เสด็จประพาสสำเพ็ง ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึก ที่ดีต่อกันระหว่างคนไทยกับคนจีนหลังเกิดความร้าวฉานจนมีการต่อสู้กันในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ การเสด็จครั้งนั้นมีชาวจีน ไทย แขก ตั้งแถวรับเสด็จด้วยความจงรักภักดีอย่างเนืองแน่น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อศึกษาต่อระดับ ปริญญาเอกทางด้านกฎหมายในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ แต่ในวันที่ ๙ มิถุนายน ก่อนการ เสด็จกลับเพียง ๔ วัน ได้เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในที่พระบรรทม ขณะพระชนมายุเพียง ๒๐ พรรษา ๙ เดือน ยังความโศกเศร้าอาลัยแก่คนไทยทั้งมวลทุกเชื้อชาติศาสนา
รัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครอง ราชสมบัติต่อ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีขึ้น ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ ท้องสนามหลวง
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกาศเฉลิม พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลอย่างสังเขปว่า “พระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร”
อนึ่ง รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๒๐ กันยายนของทุกปีซึ่งตรงกับวันเสด็จพระราชสมภพ เป็น วันเยาวชนแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงครองราชย์พ.ศ. ๒๔๗๗-พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขณะยังทรงพระเยาว์ระหว่างนั้นประเทศไทย ต้องเผชิญกับการสงคราม ทั้งสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา พระองค์ประทับอยู่ ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นพระโอรสองค์แรกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) กับหม่อมสังวาลย์มหิดล ณ อยุธยา (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เสด็จ พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ (ตรงกับวันพระบรมราชสมภพพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ณ โรงพยาบาลเมืองไฮเดลแบร์ก (Heidelberg) ประเทศเยอรมนี เมื่อแรกประสูติดำรงพระยศหม่อมเจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระองค์มีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์คือ หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์) และพระอนุชา ๑ พระองค์คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) เมื่อพระชนกเสด็จกลับประเทศไทยเพื่อรักษาพระอาการประชวร ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ พระวรวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลได้เสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกพร้อมพระชนนีพระเชษฐภคินี และพระอนุชา ปีถัดมาพระชนกสิ้นพระชนม์พระองค์จึงประทับที่เมืองไทยต่อ และทรงเริ่มเข้ารับการ ศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงย้ายไปเรียนชั้นประถม ศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในปีเดียว กันนี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเกรงว่าความผันผวนของ เหตุการณ์บ้านเมืองอาจส่งผลกระทบต่อพระนัดดา ประกอบกับเรื่องสุขภาพ จึงโปรดให้หม่อมสังวาลย์ นำพระโอรส พระธิดา เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อรับการศึกษาและ เป็นผลดีต่อพระพลานามัย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ได้ทรงศึกษาที่โรงเรียน เมียร์มองต์ (Ecole Miremont) ระหว่างนี้ที่เมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง ประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (นับตามแบบเก่า) อีกทั้งทรงสละสิทธิ์ในการแต่งตั้งผู้สืบราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. ๒๔๖๗ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงอยู่ในลำดับที่ ๑ ในการสืบสันตติวงศ์สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเห็นชอบให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ ขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ขณะพระชนมายุ ๘ พรรษา ๕ เดือน ๑๑ วัน โดยมีพลเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ นาวาตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยา ยมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีพระราชชนนีถวายพระอภิบาล พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลยังคงประทับที่เมืองโลซานเพื่อทรงศึกษา ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ทรงย้าย ไปเรียนที่โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์(Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) พร้อมพระอนุชา โดยทรงศึกษาในสายศิลป์ ทรงศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษ พร้อมกันนั้น ก็ทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันเพราะเป็นภาษาบังคับด้วย ทรงศึกษาจนจบหลักสูตรและ ได้รับประกาศนียบัตร Diplôme de Bachelier ès Lettres พระราชชนนีทรงอภิบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอย่างดีพร้อมทรง ปฏิบัติต่อพระธิดาและพระโอรสคล้ายคลึงกัน พระองค์เอาพระทัยใส่ในเรื่องสุขภาพ ทรงปลูกฝังให้รัก การศึกษา มีคุณธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ ให้เรียนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย ประวัติศาสตร์ไทย พระพุทธศาสนา และให้รู้จักความเป็นไทย รักเมืองไทย เพื่อเตรียมพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งแรกพร้อมพระราชชนนี พระเชษฐภคินีและพระอนุชา ระหว่างวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน - ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ตาม คำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล ในปีนี้เป็นช่วงเวลาที่ไทยสามารถยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกัน ที่ผูกมัดไทยด้วยเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อัตราภาษีที่ต่ำตามสนธิสัญญาเบาว์ริงได้อย่างสมบูรณ์ ขณะเสด็จนิวัตประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นประทับที่เกาะปีนัง และ ทรงได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก่อนที่จะเสด็จถึงประเทศไทย ทรงกล่าวถึงด้วยความ ชื่นชม ดังความตอนหนึ่งว่า “...สมเด็จพระอานันทมหิดลนั้นพระกิริยาอัธยาศัย หรือ...พระอุปนิสัยดี มาก มีเค้าทรงสติปัญญาผิดเด็กสามัญ และรู้จักวางพระองค์พอเหมาะแก่การเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยัง ทรงพระเยาว์ ใครๆได้เข้าใกล้แล้วมีแต่ชอบและสรรเสริญกันทุกคน...” และทรงชื่นชมสมเด็จพระ ศรีนครินทราบรมราชชนนีในการอภิบาลที่ดีด้วย รัฐบาลซึ่งมีพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรีได้รับเสด็จ อย่างสมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระราชดำรัสตอบความตอนหนึ่งว่า “...ข้าพเจ้ายินดีมากที่ได้กลับมาเยี่ยมเมืองไทยที่ข้าพเจ้ารักและคิดถึงอยู่เสมอ...ขอให้ประชาชนอยู่เย็น เป็นสุขในความร่มเย็นของรัฐธรรมนูญทั่วกัน...” ระหว่าง ๕๙ วันที่เสด็จประทับในเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายประการ เช่น เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีสมโภชใน วโรกาสเสด็จนิวัตพระนคร ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการนี้มีการประกาศสถาปนาพระราชชนนี เป็น “สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์” เจ้านายฝ่ายเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน เข้าเฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชทาน ธงประจำกองลูกเสือ ทรงเปิดงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประทับสามล้อพระที่นั่งทอดพระเนตรงาน ทอดพระเนตรการประกอบอาชีพของราษฎร เช่น การทำนา จับปลา ระหว่างที่ประทับในพระนคร ประชาชนที่ทราบข่าวจะคอยเฝ้ารับเสด็จทุกแห่ง ก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะเสด็จกลับไปสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ มี พระราชดำรัสต่อประชาชนทางวิทยุกระจายเสียงความตอนหนึ่งว่า “...ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนจนสำเร็จ เพื่อจะได้มาสนองคุณชาติที่รักของเรา ในการที่ข้าพเจ้าจะลาท่านไปนี้ ข้าพเจ้าขออวยพรให้ท่าน ทั้งหลายมีความสุขความเจริญทั่วกัน...” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพร้อมสมเด็จพระราชชนนีฯ พระเชษฐภคินีและ พระอนุชา เสด็จถึงสวิตเซอร์แลนด์ในต้นเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๔๘๑ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรง เกิดขึ้นในสังคมโลก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลก็ทรงมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับ การศึกษาดังที่ทรงให้คำมั่นสัญญาไว้ใน พ.ศ. ๒๔๘๖ เมื่อทรงสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเดิม ทรงเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ๒ ปีต่อมาทรงสอบไล่ได้Semi doctoral en Droit และตั้งพระราชหฤทัยจะศึกษาระดับปริญญาเอกต่อไป สงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึงวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลก็ทรงบรรลุนิติภาวะ และเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล เพื่อเยี่ยมเยือนและบำรุงขวัญประชาชนเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ โดยมีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น ต่อมาในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ซึ่งเป็นวัน รัฐธรรมนูญ มีพระราชดำรัสต่อประชาชนความตอนหนึ่งว่า ...ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติ หน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามทำนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปได้ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ ของตนโดยขันแข็งและขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริงๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ใน ความวัฒนาถาวรสืบไป... ระหว่างนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมาย เช่น เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามของกองทัพพันธมิตรพร้อมกับ ลอร์ด หลุยส์เมานต์แบตเทน (Lord Louis Mountbatten) ผู้บัญชาการทหารฝ่ายพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ณ ท้องสนามหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในหลายจังหวัด เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยต่างๆ เสด็จประพาสสำเพ็ง ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึก ที่ดีต่อกันระหว่างคนไทยกับคนจีนหลังเกิดความร้าวฉานจนมีการต่อสู้กันในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ การเสด็จครั้งนั้นมีชาวจีน ไทย แขก ตั้งแถวรับเสด็จด้วยความจงรักภักดีอย่างเนืองแน่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อศึกษาต่อระดับ ปริญญาเอกทางด้านกฎหมายในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ แต่ในวันที่ ๙ มิถุนายน ก่อนการ เสด็จกลับเพียง ๔ วัน ได้เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในที่พระบรรทม ขณะพระชนมายุเพียง ๒๐ พรรษา ๙ เดือน ยังความโศกเศร้าอาลัยแก่คนไทยทั้งมวลทุกเชื้อชาติศาสนา รัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครอง ราชสมบัติต่อ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีขึ้น ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ ท้องสนามหลวง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกาศเฉลิม พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลอย่างสังเขปว่า “พระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร” อนึ่ง รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๒๐ กันยายนของทุกปีซึ่งตรงกับวันเสด็จพระราชสมภพ เป็น วันเยาวชนแห่งชาติ | ||