พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๑๓
สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา ครอง ราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. ๒๐๗๗ - พ.ศ. ๒๐๘๙ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นพระราชโอรสของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ที่ประสูติแต่พระสนม เมื่อราว พ.ศ. ๒๐๔๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สวรรคต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (เจ้าหน่อพุทธางกูรพระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จ พระไชยราชาธิราช) เสด็จขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. ๒๐๗๒-พ.ศ. ๒๐๗๖) ต่อมาสมเด็จพระรัษฎาธิราช พระราชโอรสเสด็จขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. ๒๐๗๖-พ.ศ. ๒๐๗๗) เป็นเวลาเพียง ๕ เดือน สมเด็จพระไชย ราชาธิราชทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชและให้สำเร็จโทษเสีย
สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนมายุได้๓๕ พรรษา เป็นกษัตริย์ที่ ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร มีการ ทำสงครามกับอาณาจักรข้างเคียงหลายครั้ง การสงครามระหว่างไทยกับพม่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกใน สมัยนี้ ในช่วงเวลานั้นอาณาจักรข้างเคียงมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งปกครอง คือพม่ามีพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (พ.ศ. ๒๐๗๔ - พ.ศ. ๒๐๙๔) ล้านช้างมีพระเจ้าโพธิสารราช หรือที่ชาวลาวออกพระนามว่า โพธิสาละราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-พ.ศ. ๒๐๙๓) เขมรมีพระเจ้าจันทราชาหรือนักองค์จัน (พ.ศ. ๒๐๕๙- ราว พ.ศ. ๒๑๐๙) มีเพียงอาณาจักรล้านนาที่มีความยุ่งยากภายในเพราะการแย่งชิงราชสมบัติจึง อ่อนแอ ดังนั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงต้องทรงทำสงครามกับเพื่อนบ้านหลายครั้ง ทั้งเพื่อปกป้อง ราชอาณาจักรและขยายอำนาจ นอกจากนี้เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ยังทรงเผชิญกับ การกบฏของพระยานารายณ์ที่เมืองกำแพงเพชรแต่พระองค์ทรงสามารถปราบลงได้พระยานารายณ์ ถูกจับและถูกประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๑ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการยกทัพไปขับไล่พม่าที่เมือง เชียงไกรเชียงกราน หรือเรียกสั้นๆว่าเชียงกราน (ปัจจุบันเรียกว่าเมืองอัตรัน Attaran) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับ เมืองมะละแหม่งในพม่าตอนล่าง
สงครามระหว่างไทยกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของอาณาจักรพุกาม และเกิด การแตกแยกชิงอำนาจกันทั้งจากพวกพม่า มอญ และไทยใหญ่ ต่อมาพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรง รวบรวมพม่าขึ้นใหม่ที่เมืองตองอูต่อจากพระเจ้ามหาสิริชัยสุระพระราชบิดาที่ทรงสถาปนาราชวงศ์ตองอู ขึ้นมา พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงเริ่มขยายอำนาจลงมาทางใต้เพื่อปราบอาณาจักรมอญที่เมืองพะโค หรือหงสาวดีซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจากการค้าและมีกำลังผู้คนมาก ทำให้พวกมอญหลบหนีลงมาที่เมือง เชียงกราน เมืองนี้อยู่ภายใต้การปกครองของไทย พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ยกกองทัพตามลงมาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๑ ทั้งนี้ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐาน จากข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จไปเชียงไกรเชียงกราน
สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงทราบข่าวจึงเสด็จยกกองทัพไปขับไล่ ในจำนวนทหารที่ยกไปนี้มี ทหารอาสาโปรตุเกสหรือนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสร่วมไปด้วย ๑๒๐ คน ทั้งนี้ตามความเห็นของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งอ้างหลักฐานจากข้อเขียนของเฟอร์นาว เมนเดส ปินโต (Ferñao Mendes Pinto) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาและที่อื่นๆในเวลานั้น แต่ถ้า พิจารณาข้อเขียนดังกล่าว ปินโตกล่าวถึงทหารอาสา ๑๒๐ คน ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาไปรบกับล้านนา ในตอนปลายรัชกาล อย่างไรก็ดีน่าจะมีทหารอาสาชาวโปรตุเกสร่วมไปในกองทัพด้วย ทำนองเดียวกับ ที่มีนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสเป็นทหารอาสามาในกองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ผลของสงคราม ไทย-พม่าครั้งแรกนี้คือ ไทยสามารถขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากเมืองเชียงกรานได้
หลังจากเสร็จศึกพม่าได้ ๒ ปี (พ.ศ. ๒๐๘๓) อยุธยาได้ส่งกองทัพไปตีกัมพูชา ซึ่งขณะนั้น มีราชธานีอยู่ที่กรุงละแวก ภายใต้การปกครองของนักองค์จันหรือพระเจ้าจันทราชา ผู้เคยได้รับการ ชุบเลี้ยงที่กรุงศรีอยุธยาก่อนที่จะไปครองกัมพูชา แต่กองทัพไทยพ่ายแพ้ต่อกองทัพกัมพูชา ทหารไทย ถูกจับเป็นเชลยจำนวนมาก
อาณาจักรที่สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงให้ความสำคัญมากเพราะมีผลต่อความมั่นคงของ กรุงศรีอยุธยาคือล้านนา ในช่วงเวลานั้น ล้านนามีปัญหาภายในจากการแย่งชิงราชสมบัติกัน โดย เจ้าซายคำหรือท้าวซายคำได้แย่งชิงราชสมบัติจากพระราชบิดาคือพระเมืองเกศเกล้า (พ.ศ. ๒๐๖๙- พ.ศ. ๒๐๘๑) แล้วตั้งตนเป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ แต่การปกครองของเจ้าซายคำทำให้ราษฎร เดือดร้อนมาก ขุนนางกับราษฎรจึงร่วมกันจับเจ้าซายคำปลงพระชนม์แล้วทูลเชิญพระเมืองเกศเกล้า มาปกครองเชียงใหม่เป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๖ แต่ปกครองได้เพียง ๒ ปีถึง พ.ศ. ๒๐๘๘ ก็ถูก ขุนนางลอบปลงพระชนม์เพราะราษฎรยังคงได้รับความเดือดร้อน หลังจากนี้อาณาจักรล้านนามีความ วุ่นวายมากขึ้น เพราะขุนนางแบ่งเป็นฝักฝ่าย และมีความเห็นแตกแยกกันว่าใครจะเป็นผู้ครองเชียงใหม่ ต่อไป เพราะเชื้อพระวงศ์ของพระเมืองเกศเกล้าเหลือเพียงพระธิดา คือพระนางจิรประภา ขุนนาง บางคนเห็นว่าควรเชิญเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงมาปกครอง บางคนเห็นว่าควรเชิญเจ้าฟ้าเมืองนาย ส่วนหนึ่ง เห็นว่าควรเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาโอรสของพระเจ้าโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้างที่เกิดจากเจ้าหญิง เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเมืองเกศเกล้าคือ พระนางยอดคำทิพย์หรือพระนางหอสูงให้มา ปกครอง โดยฝ่ายที่จะให้พระเจ้าไชยเชษฐาเป็นผู้ครองเป็นฝ่ายชนะ และระหว่างการดำเนินการจึงทูล เชิญพระนางจิรประภาเป็นผู้ปกครองเชียงใหม่ไปก่อน
การที่อาณาจักรล้านช้างมีอำนาจแผ่ขยายมาปกครองอาณาจักรล้านนา ทำให้สมเด็จพระไชย ราชาธิราชทรงเห็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาได้ชัดเจนขึ้น เพราะถูกกระหนาบจาก อาณาจักรที่เข้มแข็งหลายอาณาจักร นอกจากนี้เมื่อครั้งพระยานารายณ์ก่อการกบฏ ทางล้านช้าง ยังให้ความช่วยเหลือพระยานารายณ์ด้วย ดังนั้นในขณะที่สถานการณ์ของล้านนายังไม่มั่นคง สมเด็จ พระไชยราชาธิราชจึงเสด็จนำกองทัพที่มีพระยาพิษณุโลกเป็นแม่ทัพไปตีเชียงใหม่ในกลาง พ.ศ. ๒๐๘๘ แต่ไม่สำเร็จ
ด้วยความไม่วางพระทัยในสถานการณ์สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเสด็จนำทัพที่มีพระยา พิษณุโลกเป็นแม่ทัพไปตีเชียงใหม่เป็นครั้งที่ ๒ ในปลาย พ.ศ. ๒๐๘๙ ด้วยกำลังทหาร ๔๐๐,๐๐๐ คน ในจำนวนนี้เป็นทหารรับจ้างจากชาติต่างๆ ๗๐,๐๐๐ คน ทั้งนี้ตามข้อมูลของปินโตซึ่งน่าจะเกิน ความจริงไปมากและเป็นไปได้มากว่าในครั้งนี้มีทหารอาสาโปรตุเกส ๑๒๐ คน ร่วมในกองทัพด้วย ในคราวนี้ตีได้ลำพูน เชียงใหม่ พระนางจิรประภายอมอ่อนน้อม อย่างไรก็ดีเมื่อสมเด็จพระไชย ราชาธิราชเสด็จกลับและสวรรคตในปลายปีนั้น ทางล้านนาก็ได้ทูลเชิญพระไชยเชษฐาจากล้านช้าง มาปกครอง ซึ่งได้ทรงปกครองอยู่ ๒ ปีก็เสด็จกลับไปปกครองอาณาจักรล้านช้างเพราะพระเจ้าโพธิสาร พระราชบิดาสิ้นพระชนม์
พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสมเด็จพระไชยราชาธิราช คือการส่งเสริมการค้า ต่างประเทศ เป็นไปได้ว่าการทำสงครามกับเพื่อนบ้านหลายครั้ง ทำให้กรุงศรีอยุธยาลดความสำคัญ ทางการค้าระหว่างประเทศลง หลักฐานจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑-พ.ศ. ๒๑๘๗) แสดงให้ เห็นว่าการทูตในระบบบรรณาการหยุดชะงัก ไม่มีการส่งทูตไปยังราชสำนักจีนเลย นอกจากนั้น หลักฐานโปรตุเกสแสดงให้เห็นว่าความสนใจของพ่อค้าโปรตุเกสที่มีต่อสินค้าและการค้าที่กรุงศรีอยุธยา ก็ลดลง โดยโปรตุเกสให้ความสำคัญในการค้ากับพม่ามากกว่า เพราะมะละกาซึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง ของโปรตุเกสสามารถติดต่อกับเมืองท่าของพม่าได้สะดวกกว่าที่กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้การเกิด เพลิงไหม้พระนครศรีอยุธยาเมื่อปลาย พ.ศ. ๒๐๘๘ เป็นเวลาถึง ๓ วัน มีบ้านเรือนถูกไฟไหม้ ๑๐,๐๕๐ หลัง ย่อมมีผลกระทบอย่างมากต่อการค้าระหว่างประเทศ
แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เอื้ออำนวยต่อการค้านัก สมเด็จพระไชยราชาธิราชก็ยังทรงหาวิธีการ ส่งเสริมการค้าและทำให้การเดินเรือสะดวกรวดเร็ว โดยโปรดให้ขุดคลองลัดเพื่อย่นระยะทางของแม่น้ำ เจ้าพระยา ตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยปัจจุบันไปถึงปากคลองบางกอกใหญ่ซึ่งปัจจุบันกลายเป็น แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมคือคลองบางกอกน้อย
เพื่อให้การค้ามีความยุติธรรม สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงโปรดให้จัดระบบตราชั่ง โดยใช้เครื่อง ชั่งตวงที่ทางราชการรับรองมาตรฐานในการซื้อขายข้าวปลาอาหาร
จากบันทึกของวันวลิตหรือเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ซึ่งเป็นผู้จัดการสำนักการค้าของบริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดาที่กรุงศรีอยุธยาได้กล่าวว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงรักความยุติธรรม ทรง เกลียดและขจัดความชั่วร้าย มีพระทัยกว้างขวาง สนพระทัยในวิทยาการสมัยใหม่ ทรงจ้างนักเผชิญ โชคชาวโปรตุเกสเป็นองครักษ์ ๑๒๐ คน และให้สอนทหารไทยใช้ปืนไฟ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แม้จะทำสงครามหลายครั้ง แต่พระองค์ก็ทรงทำให้บ้านเมืองรุ่งเรืองและราษฎรร่ำรวย
หลังจากเสด็จกลับจากเชียงใหม่ในสงครามครั้งที่ ๒ สมเด็จพระไชยราชาธิราชก็เสด็จสวรรคต ในปลาย พ.ศ. ๒๐๘๙ โดยถูกท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอกวางยาพิษผสมในนมโคให้เสวย พระองค์ ไม่มีพระราชโอรสธิดาที่เกิดจากพระมเหสีแต่มีพระราชโอรสที่เกิดแต่ท้าวศรีสุดาจันทร์ ๒ องค์คือ พระยอดฟ้ากับพระศรีศิลป์ เมื่อพระองค์สวรรคต พระยอดฟ้าพระชนมายุ ๑๑ พรรษา ได้ครอง ราชสมบัติต่อโดยมีท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นผู้สำเร็จราชการ
สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา ครอง ราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. ๒๐๗๗ - พ.ศ. ๒๐๘๙ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นพระราชโอรสของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ที่ประสูติแต่พระสนม เมื่อราว พ.ศ. ๒๐๔๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สวรรคต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (เจ้าหน่อพุทธางกูรพระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จ พระไชยราชาธิราช) เสด็จขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. ๒๐๗๒-พ.ศ. ๒๐๗๖) ต่อมาสมเด็จพระรัษฎาธิราช พระราชโอรสเสด็จขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. ๒๐๗๖-พ.ศ. ๒๐๗๗) เป็นเวลาเพียง ๕ เดือน สมเด็จพระไชย ราชาธิราชทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชและให้สำเร็จโทษเสีย
สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนมายุได้๓๕ พรรษา เป็นกษัตริย์ที่ ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร มีการ ทำสงครามกับอาณาจักรข้างเคียงหลายครั้ง การสงครามระหว่างไทยกับพม่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกใน สมัยนี้ ในช่วงเวลานั้นอาณาจักรข้างเคียงมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งปกครอง คือพม่ามีพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (พ.ศ. ๒๐๗๔ - พ.ศ. ๒๐๙๔) ล้านช้างมีพระเจ้าโพธิสารราช หรือที่ชาวลาวออกพระนามว่า โพธิสาละราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-พ.ศ. ๒๐๙๓) เขมรมีพระเจ้าจันทราชาหรือนักองค์จัน (พ.ศ. ๒๐๕๙- ราว พ.ศ. ๒๑๐๙) มีเพียงอาณาจักรล้านนาที่มีความยุ่งยากภายในเพราะการแย่งชิงราชสมบัติจึง อ่อนแอ ดังนั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงต้องทรงทำสงครามกับเพื่อนบ้านหลายครั้ง ทั้งเพื่อปกป้อง ราชอาณาจักรและขยายอำนาจ นอกจากนี้เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ยังทรงเผชิญกับ การกบฏของพระยานารายณ์ที่เมืองกำแพงเพชรแต่พระองค์ทรงสามารถปราบลงได้พระยานารายณ์ ถูกจับและถูกประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๑ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการยกทัพไปขับไล่พม่าที่เมือง เชียงไกรเชียงกราน หรือเรียกสั้นๆว่าเชียงกราน (ปัจจุบันเรียกว่าเมืองอัตรัน Attaran) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับ เมืองมะละแหม่งในพม่าตอนล่าง สงครามระหว่างไทยกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของอาณาจักรพุกาม และเกิด การแตกแยกชิงอำนาจกันทั้งจากพวกพม่า มอญ และไทยใหญ่ ต่อมาพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรง รวบรวมพม่าขึ้นใหม่ที่เมืองตองอูต่อจากพระเจ้ามหาสิริชัยสุระพระราชบิดาที่ทรงสถาปนาราชวงศ์ตองอู ขึ้นมา พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงเริ่มขยายอำนาจลงมาทางใต้เพื่อปราบอาณาจักรมอญที่เมืองพะโค หรือหงสาวดีซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจากการค้าและมีกำลังผู้คนมาก ทำให้พวกมอญหลบหนีลงมาที่เมือง เชียงกราน เมืองนี้อยู่ภายใต้การปกครองของไทย พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ยกกองทัพตามลงมาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๑ ทั้งนี้ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐาน จากข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จไปเชียงไกรเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงทราบข่าวจึงเสด็จยกกองทัพไปขับไล่ ในจำนวนทหารที่ยกไปนี้มี ทหารอาสาโปรตุเกสหรือนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสร่วมไปด้วย ๑๒๐ คน ทั้งนี้ตามความเห็นของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งอ้างหลักฐานจากข้อเขียนของเฟอร์นาว เมนเดส ปินโต (Ferñao Mendes Pinto) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาและที่อื่นๆในเวลานั้น แต่ถ้า พิจารณาข้อเขียนดังกล่าว ปินโตกล่าวถึงทหารอาสา ๑๒๐ คน ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาไปรบกับล้านนา ในตอนปลายรัชกาล อย่างไรก็ดีน่าจะมีทหารอาสาชาวโปรตุเกสร่วมไปในกองทัพด้วย ทำนองเดียวกับ ที่มีนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสเป็นทหารอาสามาในกองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ผลของสงคราม ไทย-พม่าครั้งแรกนี้คือ ไทยสามารถขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากเมืองเชียงกรานได้ หลังจากเสร็จศึกพม่าได้ ๒ ปี (พ.ศ. ๒๐๘๓) อยุธยาได้ส่งกองทัพไปตีกัมพูชา ซึ่งขณะนั้น มีราชธานีอยู่ที่กรุงละแวก ภายใต้การปกครองของนักองค์จันหรือพระเจ้าจันทราชา ผู้เคยได้รับการ ชุบเลี้ยงที่กรุงศรีอยุธยาก่อนที่จะไปครองกัมพูชา แต่กองทัพไทยพ่ายแพ้ต่อกองทัพกัมพูชา ทหารไทย ถูกจับเป็นเชลยจำนวนมาก อาณาจักรที่สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงให้ความสำคัญมากเพราะมีผลต่อความมั่นคงของ กรุงศรีอยุธยาคือล้านนา ในช่วงเวลานั้น ล้านนามีปัญหาภายในจากการแย่งชิงราชสมบัติกัน โดย เจ้าซายคำหรือท้าวซายคำได้แย่งชิงราชสมบัติจากพระราชบิดาคือพระเมืองเกศเกล้า (พ.ศ. ๒๐๖๙- พ.ศ. ๒๐๘๑) แล้วตั้งตนเป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ แต่การปกครองของเจ้าซายคำทำให้ราษฎร เดือดร้อนมาก ขุนนางกับราษฎรจึงร่วมกันจับเจ้าซายคำปลงพระชนม์แล้วทูลเชิญพระเมืองเกศเกล้า มาปกครองเชียงใหม่เป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๖ แต่ปกครองได้เพียง ๒ ปีถึง พ.ศ. ๒๐๘๘ ก็ถูก ขุนนางลอบปลงพระชนม์เพราะราษฎรยังคงได้รับความเดือดร้อน หลังจากนี้อาณาจักรล้านนามีความ วุ่นวายมากขึ้น เพราะขุนนางแบ่งเป็นฝักฝ่าย และมีความเห็นแตกแยกกันว่าใครจะเป็นผู้ครองเชียงใหม่ ต่อไป เพราะเชื้อพระวงศ์ของพระเมืองเกศเกล้าเหลือเพียงพระธิดา คือพระนางจิรประภา ขุนนาง บางคนเห็นว่าควรเชิญเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงมาปกครอง บางคนเห็นว่าควรเชิญเจ้าฟ้าเมืองนาย ส่วนหนึ่ง เห็นว่าควรเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาโอรสของพระเจ้าโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้างที่เกิดจากเจ้าหญิง เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเมืองเกศเกล้าคือ พระนางยอดคำทิพย์หรือพระนางหอสูงให้มา ปกครอง โดยฝ่ายที่จะให้พระเจ้าไชยเชษฐาเป็นผู้ครองเป็นฝ่ายชนะ และระหว่างการดำเนินการจึงทูล เชิญพระนางจิรประภาเป็นผู้ปกครองเชียงใหม่ไปก่อน การที่อาณาจักรล้านช้างมีอำนาจแผ่ขยายมาปกครองอาณาจักรล้านนา ทำให้สมเด็จพระไชย ราชาธิราชทรงเห็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาได้ชัดเจนขึ้น เพราะถูกกระหนาบจาก อาณาจักรที่เข้มแข็งหลายอาณาจักร นอกจากนี้เมื่อครั้งพระยานารายณ์ก่อการกบฏ ทางล้านช้าง ยังให้ความช่วยเหลือพระยานารายณ์ด้วย ดังนั้นในขณะที่สถานการณ์ของล้านนายังไม่มั่นคง สมเด็จ พระไชยราชาธิราชจึงเสด็จนำกองทัพที่มีพระยาพิษณุโลกเป็นแม่ทัพไปตีเชียงใหม่ในกลาง พ.ศ. ๒๐๘๘ แต่ไม่สำเร็จ ด้วยความไม่วางพระทัยในสถานการณ์สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเสด็จนำทัพที่มีพระยา พิษณุโลกเป็นแม่ทัพไปตีเชียงใหม่เป็นครั้งที่ ๒ ในปลาย พ.ศ. ๒๐๘๙ ด้วยกำลังทหาร ๔๐๐,๐๐๐ คน ในจำนวนนี้เป็นทหารรับจ้างจากชาติต่างๆ ๗๐,๐๐๐ คน ทั้งนี้ตามข้อมูลของปินโตซึ่งน่าจะเกิน ความจริงไปมากและเป็นไปได้มากว่าในครั้งนี้มีทหารอาสาโปรตุเกส ๑๒๐ คน ร่วมในกองทัพด้วย ในคราวนี้ตีได้ลำพูน เชียงใหม่ พระนางจิรประภายอมอ่อนน้อม อย่างไรก็ดีเมื่อสมเด็จพระไชย ราชาธิราชเสด็จกลับและสวรรคตในปลายปีนั้น ทางล้านนาก็ได้ทูลเชิญพระไชยเชษฐาจากล้านช้าง มาปกครอง ซึ่งได้ทรงปกครองอยู่ ๒ ปีก็เสด็จกลับไปปกครองอาณาจักรล้านช้างเพราะพระเจ้าโพธิสาร พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสมเด็จพระไชยราชาธิราช คือการส่งเสริมการค้า ต่างประเทศ เป็นไปได้ว่าการทำสงครามกับเพื่อนบ้านหลายครั้ง ทำให้กรุงศรีอยุธยาลดความสำคัญ ทางการค้าระหว่างประเทศลง หลักฐานจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑-พ.ศ. ๒๑๘๗) แสดงให้ เห็นว่าการทูตในระบบบรรณาการหยุดชะงัก ไม่มีการส่งทูตไปยังราชสำนักจีนเลย นอกจากนั้น หลักฐานโปรตุเกสแสดงให้เห็นว่าความสนใจของพ่อค้าโปรตุเกสที่มีต่อสินค้าและการค้าที่กรุงศรีอยุธยา ก็ลดลง โดยโปรตุเกสให้ความสำคัญในการค้ากับพม่ามากกว่า เพราะมะละกาซึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง ของโปรตุเกสสามารถติดต่อกับเมืองท่าของพม่าได้สะดวกกว่าที่กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้การเกิด เพลิงไหม้พระนครศรีอยุธยาเมื่อปลาย พ.ศ. ๒๐๘๘ เป็นเวลาถึง ๓ วัน มีบ้านเรือนถูกไฟไหม้ ๑๐,๐๕๐ หลัง ย่อมมีผลกระทบอย่างมากต่อการค้าระหว่างประเทศ แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เอื้ออำนวยต่อการค้านัก สมเด็จพระไชยราชาธิราชก็ยังทรงหาวิธีการ ส่งเสริมการค้าและทำให้การเดินเรือสะดวกรวดเร็ว โดยโปรดให้ขุดคลองลัดเพื่อย่นระยะทางของแม่น้ำ เจ้าพระยา ตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยปัจจุบันไปถึงปากคลองบางกอกใหญ่ซึ่งปัจจุบันกลายเป็น แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมคือคลองบางกอกน้อย เพื่อให้การค้ามีความยุติธรรม สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงโปรดให้จัดระบบตราชั่ง โดยใช้เครื่อง ชั่งตวงที่ทางราชการรับรองมาตรฐานในการซื้อขายข้าวปลาอาหาร จากบันทึกของวันวลิตหรือเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ซึ่งเป็นผู้จัดการสำนักการค้าของบริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดาที่กรุงศรีอยุธยาได้กล่าวว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงรักความยุติธรรม ทรง เกลียดและขจัดความชั่วร้าย มีพระทัยกว้างขวาง สนพระทัยในวิทยาการสมัยใหม่ ทรงจ้างนักเผชิญ โชคชาวโปรตุเกสเป็นองครักษ์ ๑๒๐ คน และให้สอนทหารไทยใช้ปืนไฟ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แม้จะทำสงครามหลายครั้ง แต่พระองค์ก็ทรงทำให้บ้านเมืองรุ่งเรืองและราษฎรร่ำรวย หลังจากเสด็จกลับจากเชียงใหม่ในสงครามครั้งที่ ๒ สมเด็จพระไชยราชาธิราชก็เสด็จสวรรคต ในปลาย พ.ศ. ๒๐๘๙ โดยถูกท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอกวางยาพิษผสมในนมโคให้เสวย พระองค์ ไม่มีพระราชโอรสธิดาที่เกิดจากพระมเหสีแต่มีพระราชโอรสที่เกิดแต่ท้าวศรีสุดาจันทร์ ๒ องค์คือ พระยอดฟ้ากับพระศรีศิลป์ เมื่อพระองค์สวรรคต พระยอดฟ้าพระชนมายุ ๑๑ พรรษา ได้ครอง ราชสมบัติต่อโดยมีท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นผู้สำเร็จราชการ | ||