พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๘

พระกษัตริย์ พระองค์ที่ ๘


สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็น พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พระราชชนนีเป็นพระราชธิดา พระมหาธรรมราชาที่ ๓ หรือพระยาไสลือไท (บางแห่งว่าเป็นพระราชธิดาพระมหาธรรมราชาที่ ๒) ในพระราชวงศ์สุโขทัย แต่เสวยราชสมบัติอยู่ที่เมืองพิษณุโลก

ใน พ.ศ. ๑๙๗๔ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ โปรดให้เตรียมกองทัพใหญ่ไปตั้งประชุมพล ณ ทุ่งพระอุทัย นอกกรุงศรีอยุธยาทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะยกไปทำสงครามเอาเมืองพระนครใน แคว้นกัมพูชา เวลานั้นพระราชชนนีทรงพระครรภ์แก่ เสด็จออกตามไปส่งสมเด็จพระราชบิดาและ ประสูติสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าในกาลสมัยนั้น

เมื่อสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าทรงเจริญพระชนมายุ ๗ พรรษา พระราชบิดาโปรดให้พระราชชนนี เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลกเพื่อทรงเยี่ยมพระมหาธรรมราชา ครั้งนั้นโปรดให้สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ตามเสด็จไปด้วยพระราชชนนี ต่อมาเมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาโปรดให้สถาปนา พระนามว่า สมเด็จพระราเมศวร ครั้นถึง พ.ศ. ๑๙๘๔ สมเด็จพระราเมศวรเจริญพระชนมายุ ๑๐ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาโปรดให้สถาปนาพระอิสริยยศตั้งขึ้นไว้เป็นที่พระมหาอุปราชแห่ง กรุงศรีอยุธยา

พ.ศ. ๑๙๙๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เสด็จสวรรคต พระมหาอุปราชขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระเจ้าแผ่นดินลำดับที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ขณะ มีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา ทรงปกครองแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยานาน ๑๕ ปีและได้รวมแคว้นสุโขทัย เข้ามาร่วมเป็นแผ่นดินเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ทรงปกครองได้เป็นปึกแผ่นต่อมาอีก ๒๕ ปีนับได้ว่า ยาวนานยิ่งในสมัยอยุธยา

ช่วงเวลา ๔๐ ปีในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีพระราชดำริริเริ่มและทรงพระราช- กรณียกิจสำคัญอันเป็นคุณประโยชน์ยิ่งนานาประการแก่การบริหารราชการ กระบวนการยุติธรรม ความมั่นคงของรัฐ การบำรุงรักษาศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรง พระราชนิพนธ์วรรณกรรมมหาชาติคำหลวงอันเป็นพระราชมรดกชิ้นสำคัญที่ตกทอดมาจนปัจจุบัน เป็นต้น ซึ่งพระราชดำริการใหม่ และพระราชกรณียกิจสำคัญเหล่านี้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง ทำมาตลอดสมัยในระหว่างทรงปกครองแผ่นดิน

เมื่อสมัยแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติและประทับ ณ พระราชวังเดิม ที่พระราชบิดาเคยประทับ ไม่นานก็โปรดให้สร้างพระราชวังแห่งใหม่ขึ้น ณ บริเวณพื้นที่ที่อยู่ถัด พระราชวังเดิมขึ้นไปทางเหนือใกล้แม่น้ำลพบุรี พระราชวังใหม่นี้โปรดให้สร้างพระมหาปราสาทขึ้น เป็นประธานแห่งพระราชวังชื่อเบญจารัตนมหาปราสาท ประกอบด้วยพระราชมนเทียร พระตำหนัก เรือนหลวง คลังต่างๆ และบริวารสถานพร้อมตามขนบนิยมโดยโบราณราชประเพณี

การปกครองบ้านเมืองในพระราชอาณาจักรก่อนแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นการ ปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในการปกครอง โดยได้มอบสิทธิและหน้าที่ใน อำนาจที่บุคคลในราชสกุลควรได้รับไปจัดการปกครองบ้านเล็กเมืองน้อยตามฐานะและขนาด ครั้น มาถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตระหนักถึงความสำคัญ จึงเลิกส่งพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอไปกินเมือง คงให้มีตำแหน่งอยู่ในราชธานีเพื่อป้องกันมิให้พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้า หลานเธอมีโอกาสซ่องสุมผู้คนเป็นกำลังก่อเหตุขึ้นในแผ่นดินเหมือนดังในกาลที่ผ่านมา การปฏิรูปการ ปกครองจึงเริ่มด้วยการจัดฐานะเมืองตามขนาดและความสำคัญ จัดตั้งเป็นเมืองเอก เมืองโท และ เมืองตร

การบริหารราชการแผ่นดินก่อนรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์ทรงรับ เป็นพระราชภาระและบริหารราชการแผ่นดินทั้งด้านการปกครอง การยุติธรรม การเศรษฐกิจ การ เกษตรกรรม การศาสนา เป็นต้น โดยมีเจ้านาย ขุนนาง เจ้าพนักงานแบ่งรับสนองพระราชกิจได้บ้าง แต่ก็ยังมิได้เป็นระบบระเบียบที่ชัดเจนอย่างมีประสิทธิภาพ กิจราชการต่างๆอาจมีการปฏิบัติ ผิดกระทรวงล่วงกรมกัน อันเป็นผลให้ส่วนราชการไม่มั่นคงเรียบร้อย ย่อมไม่เป็นการดีแก่การบริหาร ราชการ ซึ่งราชการและสังคมสมัยนั้นกว้างขวางขึ้นกว่าสมัยก่อนๆ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นให้เป็นระเบียบ ใหม่ พลเมืองฝ่ายทหารตั้งอธิบดีเป็นผู้บริหารราชการเป็น “สมุหพระกลาโหม” และพลเมือง ฝ่ายพลเรือนตั้งอธิบดีผู้บริหารราชการเป็น “สมุหนายก” ทั้งสองตำแหน่งนี้ให้มีตำแหน่งเป็น “อัคร มหาเสนาบดี” รับสนองพระราชกิจเหนือขุนนางชั้นรองลงไปด้วย

ต่อมาโปรดให้ตั้งบุคคลขึ้นรับสนองพระราชกิจสำคัญสำหรับการบริหารราชการแผ่นดิน ๔ ฝ่าย อันเปรียบเป็นเสาหลักสำหรับค้ำจุนความมั่นคงและมั่งคั่งแก่บ้านเมือง เรียกว่า “จัตุสดมภ์” คือ ตำแหน่งอธิบดีกรมวัง อธิบดีกรมคลัง อธิบดีกรมเมือง (เวียง) และอธิบดีกรมนา

ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นในสังคมแห่งกรุงศรีอยุธยา และในประวัติศาสตร์ชาติไทยในสมัยต่อมา กล่าวคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ตั้งและกำหนด ศักดินาขึ้นสำหรับตัวบุคคลที่เป็นเจ้านาย ข้าราชการ และพลเมืองทุกบุคคลที่มีภูมิลำเนาในพระราช อาณาเขตแห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อยกฐานะและความสามารถในความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคลให้ ปรากฏเป็นที่ยอมรับทางสังคม ประเพณีนิยม ระบบราชการ สิทธิและผลประโยชน์กับกระบวนการ ยุติธรรม เป็นต้น

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ตราพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาล เป็นกฎระเบียบในการ ปฏิบัติราชการมิให้เป็นความผิดต่อพระเจ้าแผ่นดิน มิให้บกพร่องแก่ราชการ มิให้เป็นเหตุแก่พระเจ้า แผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ มิให้ทำความชั่วให้เป็นที่เสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้น อนึ่ง กฎมณเฑียรบาลซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ตราขึ้นครั้งแรกเป็นพระราชกำหนดใน แผ่นดินของพระองค์นั้น ได้ถือเป็นพระราชกำหนด เป็นกฎหมายสำหรับราชการในพระราชสำนักแห่ง กรุงศรีอยุธยาต่อมาเป็นลำดับ ทั้งยังได้รับสืบต่อมาเป็นกฎมณเฑียรบาลสำหรับพระราชสำนักแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ด้วย

การรักษาและผดุงความมั่นคงของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงเป็นพระประมุขแห่งพระราชอาณาเขต กับสถาบันราชการ สังคม พลเมือง และแว่นแคว้น มิให้มีเหตุเป็นภัยขึ้นภายใน หรือมาแต่ภายนอก จนนำมาซึ่งภัยเป็นอันตรายแก่ความสงบเป็นปกติสุข จึงต้องมีกฎหมายเพื่อยับยั้งห้ามปรามและ ปราบการณ์ต่างๆ ที่จะเป็นเหตุบั่นทอนความมั่นคงทั้งในส่วนพระเจ้าแผ่นดิน การบริหารราชการ สวัสดิภาพของพลเมือง เพื่อมิให้เป็นจลาจลขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้น

ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคง ซึ่งโปรดให้ตรา ขึ้น คือพระไอยการอาชญาหลวงกับพระไอยการลักษณะขบถศึก

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ณ กรุงศรีอยุธยาได้๓ ปีระหว่างนั้นทรง จัดการบริหารราชการให้เป็นปกติเรียบร้อย ดังการสร้างพระราชวังใหม่ การปฏิรูประบบข้าราชการ เป็นต้น ในการศึกสงคราม พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๔

ต่อมา พ.ศ. ๑๙๙๘ เมืองมะละกาซึ่งเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อน เจ้าเมืองตั้งตัว เป็นขบถ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ส่งกองทัพลงไปปราบและได้เมืองมะละกาคืนมาดังเดิม อนึ่ง ในช่วงระยะเวลาของพระองค์ปรากฏว่าทรงแผ่พระบรมเดชานุภาพเหนือดินแดนลาว กัมพูชา และทวายด้วย นอกจากนั้นยังทรงทำสงครามอีกหลายครั้งกับเชียงใหม่ เพื่อป้องกันเมืองกำแพงเพชร เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย หลังจากที่มีศึกสงครามกับฝ่ายล้านนานี้เอง ทำให้สมเด็จพระ บรมไตรโลกนาถเสด็จไปเสวยราชย์ที่เมืองพิษณุโลกและคอยทรงบัญชาการรบ พระองค์เสด็จออก ผนวชที่วัดจุฬามณีเมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๘ ทรงพระผนวชเป็นเวลานานถึง ๘ เดือน หลังจาก ทรงลาพระผนวชแล้ว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงครองราชย์อยู่ต่อไปที่เมืองพิษณุโลก และเสด็จ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๓๑ ขณะพระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา

นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

คลิกอ่านจากไฟล์ pdf »



ตำแหน่ง

Lek Thi 206 Soi 8 ตำบล เนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก 65190 ประเทศไทย


คำอธิบายการค้นหา

Num ... 2627615 blogger Blog for save Make safe editor Sight seeing view blog ID ... Phasa Thai รายละเอียดคำศัพท์ ... 

☆ เซฟบล็อก! ☆